Context of ประเทศอัฟกานิสถาน

อัฟกานิสถาน (อังกฤษ: Afghanistan; ดารี/ปาทาน: افغانستان) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เอมิเรตอิสลามอัฟกานิสถาน (อังกฤษ: Islamic Emirate of Afghanistan; ปาทาน: د افغانستان اسلامي امارت; ดารี: امارت اسلامی افغانستان) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกติดกับประเทศอิหร่าน ทางทิศใต้และทิศตะวันออกติดกับปากีสถาน ทางทิศเหนือติดเติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน ส่วนทางทิศตะวันออกสุดติดประเทศจีน มีอาณาเขต 652,000 ตารางกิโลเมตร มีกรุงคาบูลเป็นเมืองหลวงและเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศ มีประชากรประมาณ 40 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์ปาทาน ทาจิก ฮาซาราและอุซเบก

บริเวณนี้มีมนุษย์อยู่อาศัยมาอย่างน้อย 50,000 ปี จนมีการตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งอยู่ถาวรในบริเวณเมื่อ 9,000 ปีมาแล้ว ก่อนค่อย ๆ พัฒนาไปเป็นอารยธรรมสินธุ อารยธรรมอ็อกซัสและอารยธรรมเฮลมันด์ในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ชาวอินโด-อารยันย้ายเข้า...อ่านต่อ

อัฟกานิสถาน (อังกฤษ: Afghanistan; ดารี/ปาทาน: افغانستان) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า เอมิเรตอิสลามอัฟกานิสถาน (อังกฤษ: Islamic Emirate of Afghanistan; ปาทาน: د افغانستان اسلامي امارت; ดารี: امارت اسلامی افغانستان) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ มีอาณาเขตทางทิศตะวันตกติดกับประเทศอิหร่าน ทางทิศใต้และทิศตะวันออกติดกับปากีสถาน ทางทิศเหนือติดเติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน และทาจิกิสถาน ส่วนทางทิศตะวันออกสุดติดประเทศจีน มีอาณาเขต 652,000 ตารางกิโลเมตร มีกรุงคาบูลเป็นเมืองหลวงและเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศ มีประชากรประมาณ 40 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาติพันธุ์ปาทาน ทาจิก ฮาซาราและอุซเบก

บริเวณนี้มีมนุษย์อยู่อาศัยมาอย่างน้อย 50,000 ปี จนมีการตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งอยู่ถาวรในบริเวณเมื่อ 9,000 ปีมาแล้ว ก่อนค่อย ๆ พัฒนาไปเป็นอารยธรรมสินธุ อารยธรรมอ็อกซัสและอารยธรรมเฮลมันด์ในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล ชาวอินโด-อารยันย้ายเข้ามา ตามด้วยความเจริญของวัฒนธรรม Yaz I ยุคเหล็ก (ประมาณ 1500–1100 ปีก่อน ค.ศ.) ซึ่งมีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมที่มีกล่าวถึงใน Avesta คัมภีร์ของศาสนาโซโรอัสเตอร์ บริเวณนี้ได้ตกเป็นของเปอร์เซียในศตวรรษที่ 6 ก่อน ค.ศ. ไปจนถึงแม่น้ำสินธุ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาอำราจบุกครองดินแดนดังกล่าวในศตวรรษที่ 4 ก่อน ค.ศ. อาณาจักรกรีก-แบ็กเทรียเป็นปลายตะวันออกสุดของอารยธรรมกรีก ต่อมาดินแดนนี้ถูกพิชิตโดยอินเดียสมัยราชวงศ์เมารยะ ทำให้ศาสนาพุทธและฮินดูแพร่หลายในพื้นที่นี้หลายศตวรรษ พระเจ้ากนิษกะแห่งจักรวรรดิกุษาณะมีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่ศาสนาพุทธนิกายมหายานเข้าสู่ประเทศจีนและเอเชียกลาง หลังจากนั้นมีราชวงศ์ที่นับถือพุทธปกครองดินแดนแถบนี้มาอีกหลายราชวงศ์

ศาสนาอิสลามเข้าสู่บริเวณนี้ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 7 แต่มีการเผยแผ่ศาสนาอย่างจริงจังระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 9 ถึง 12 และมีการผลัดเปลี่ยนราชวงศ์อยู่อีกหลายครั้ง ประวัติศาสตร์การเมืองของรัฐอัฟกานิสถานสมัยใหม่เริ่มต้นจากราชวงศ์ Hotak ซึ่งประกาศเอกราชในอัฟกานิสถานตอนใต้ใน ค.ศ. 1709 ต่อมามีการตั้งอาณาจักรดูรานีใน ค.ศ. 1747 ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 อัฟกานิสถานเป็นรัฐกันชนใน "เกมใหญ่" ระหว่างจักรวรรดิบริติชและรัสเซีย

ในสงครามอังกฤษ-อัฟกันครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 1839 ถึง 1842) กองทัพบริติชจากอินเดียเข้าควบคุมอัฟกานิสถานได้ แต่สุดท้ายเป็นฝ่ายแพ้ หลังสงครามอังกฤษ-อัฟกันครั้งที่สามใน ค.ศ. 1919 อัฟกานิสถานจึงปลอดจากอิทธิพลของต่างชาติ และได้เป็นราชาธิปไตยภายใต้พระเจ้าอมานุลเลาะห์ แต่ใน ค.ศ. 1973 มีการโค่นล้มระบอบกษัตริย์และเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐ ใน ค.ศ. 1978 หลังมีรัฐประหารครั้งที่สอง อัฟกานิสถานกลายเป็นรัฐสังคมนิยม และถูกสหภาพโซเวียตรุกรานในสงครามโซเวียต–อัฟกานิสถานในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1980 ต่อกบฏมุญาฮิดีน หลังจากที่สหภาพโซเวียตถอนกำลังออกไป กลุ่มตอลิบานซึ่งเป็นพวกอิสลามมูลวิวัติก็ได้เข้ายึดครองประเทศใน ค.ศ. 1996 และปกครองประเทศด้วยระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จ ทำให้มีการลิดรอนสิทธิมนุษยชนและสิทธิสตรีในอัฟกานิสถานอย่างรุนแรง ต่อมากลุ่มตอลิบานถูกโค่นจากอำนาจหลังจากที่สหรัฐอเมริกาเข้ายึดครองครองใน ค.ศ. 2001 แต่ยังควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศได้ เนื่องจากรัฐบาลใหม่ของอัฟกานิสถานต้องพึ่งพาความช่วยเหลือทางทหารและเศรษฐกิจจากสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวนมากมาก ทำให้มีการเรียกอัฟกานิสถานว่าเป็น"รัฐบริวารของสหรัฐฯ" หลังจากที่สหรัฐอเมริกาถอนกำลังออกไป ก็มีการรุกครั้งใหญ่ของตอลิบานใน ค.ศ. 2021 ส่งผลให้ตอลีบานหวนคืนสู่อำนาจอีกครั้ง

อัฟกานิสถานมีระดับการก่อการร้าย ความยากจน จำกัดสิทธิสตรีโดย ตาลีบัน ภาวะทุพโภชนาการเด็กและการฉ้อราษฎร์บังหลวงสูง เศรษฐกิจมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 96 ของโลก โดยมีจีดีพีมูลค่า 72,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่มีจีดีพีต่อหัวต่ำมาก อยู่อันดับที่ 169 จาก 186 ประเทศใน ค.ศ. 2018 อัฟกานิสถานยังอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญรวมถึง ลิเทียม เหล็ก สังกะสี และ ทองแดง และเป็นหนึ่งประเทศผู้ผลิตฝิ่นรายใหญ่ของโลก และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งองค์การความร่วมมืออิสลาม

More about ประเทศอัฟกานิสถาน

Basic information
  • Calling code +93
  • Internet domain .af
  • Mains voltage 240V/50Hz
  • Democracy index 2.85
Population, Area & Driving side
  • Population 15500000
  • Area 652230
  • Driving side right
ประวัติ
  • ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์อัฟกานิสถาน
    พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) อังกฤษได้สถาปนาอับดุรเราะฮฺมาน เป็นอะมีร หลังจากที่ได้มีการรบราฆ่าฟัน ระหว่างเผ่าต่าง ๆ ในอัฟกานิสถานมาเป็นเวลานาน พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) อับดุรเราะฮฺมาน เสียชีวิต บุตรชายชื่อ ฮะบีบุลลอหฺ ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) ฮะบีบุลลอหฺ ถูกสังหาร น้องชายชื่อ นัศรุลลอหฺ สถาปนาตนเองขึ้นเป็นอะมีร แต่ถูก อะมานุลลอหฺ บุตรชายของ ฮะบีบุลลอหฺ ขับไล่ แล้วขึ้นปกครองแทน พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) ขบวนการพวกเคร่งศาสนา ก่อการปฏิวัติ อะมีร ฮะบีบุลลอฮฺ หลบหนีออกนอกประเทศ สงครามกลางเมืองเกิดขึ้น บาชา อี ซาเกา นายทหารของเผ่าตาจิก ได้นำพลทหารเข้ายึดกรุงคาบูล เป็นเวลาหลายเดือน ต่อมาญาติคนหนึ่งของ อะมีร ฮะบีบุลลอหฺ ปราบปรามจนถูกสังหาร แล้วญาติคนนั้นก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ มีนามว่า นาดีร ชาหฺ พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) กษัตริย์ นาดีร ชาหฺ ถูกสังหาร บุตรชายชื่อ ซอหิร ชาหฺ ขึ้นเป็นกษัตริย์ พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ดาวูด ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของกษัตริย์ ซอหิร ชาหฺ ก่อการปฏิวัติ กษัตริย์ ซอหิร ชาหฺ หนีไปลี้ภัยในอิตาลี ดาวูดสถาปนาตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) ดาวูด ถูกสังหาร หลังการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ นำโดย นูร มุฮัมมัด ฏอรอกี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) ฏอรอกี ถูกสังหาร และ ฮะฟีซุลลอหฺ อะมีน สถาปนาตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี เดือนธันวาคม ฮะฟีซุลลอหฺ อะมีน ถูกสังหาร โดยกองทัพที่ถูกส่งเข้ามาจากสหภาพโซเวียต บาบรัก การ์มาล ขึ้นเป็นประธานาธิบดี บาบรัก การ์มาล ถูกถอดออกจากตำแหน่ง และหนีไปสหภาพโซเวียต นะญีบุลลอหฺ ขึ้นเป็นประธานาธิบดี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) พวกมุจาหิดีนอิสลาม ประสบความสำเร็จในการปฏิวัติต่อต้านคอมมิวนิสต์ ก่อตั้งรัฐบาลชั่วคราว โดยมี ซิบฆอตุลลอหฺ มุจัดดิดี เป็นประธานาธิบดี ต่อมา บุรฮานุดดีน ร่อบบบานี ขึ้นเป็นประธานาธิบดี สงครามกลางเมืองเกิดขึ้น พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) กลุ่มตอลิบานยึดกรุงคาบูลได้


    อัฟกานิสถานเคยมีระบอบการปกครองแบบรัฐสภา มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ จนกระทั่งปี 2516 พลโทซาดาร์ ข่าน (Sadar Khan) ได้ปฏิวัติยึดอำนาจ และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐและสถาปนาตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี แต่ผู้นำอัฟกานิสถานในยุคต่อมาเริ่มมีท่าทีใกล้ชิดสหรัฐฯ ทำให้สหภาพโซเวียตไม่พอใจและส่งกองกำลังเข้ายึดครองอัฟกานิสถานในปี 2522 เพื่อสถาปนาระบอบการปกครองแบบสังคมนิยมขึ้นแทน

    ...อ่านต่อ
    ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์อัฟกานิสถาน
    พ.ศ. 2423 (ค.ศ. 1880) อังกฤษได้สถาปนาอับดุรเราะฮฺมาน เป็นอะมีร หลังจากที่ได้มีการรบราฆ่าฟัน ระหว่างเผ่าต่าง ๆ ในอัฟกานิสถานมาเป็นเวลานาน พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) อับดุรเราะฮฺมาน เสียชีวิต บุตรชายชื่อ ฮะบีบุลลอหฺ ขึ้นดำรงตำแหน่งแทน พ.ศ. 2462 (ค.ศ. 1919) ฮะบีบุลลอหฺ ถูกสังหาร น้องชายชื่อ นัศรุลลอหฺ สถาปนาตนเองขึ้นเป็นอะมีร แต่ถูก อะมานุลลอหฺ บุตรชายของ ฮะบีบุลลอหฺ ขับไล่ แล้วขึ้นปกครองแทน พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) ขบวนการพวกเคร่งศาสนา ก่อการปฏิวัติ อะมีร ฮะบีบุลลอฮฺ หลบหนีออกนอกประเทศ สงครามกลางเมืองเกิดขึ้น บาชา อี ซาเกา นายทหารของเผ่าตาจิก ได้นำพลทหารเข้ายึดกรุงคาบูล เป็นเวลาหลายเดือน ต่อมาญาติคนหนึ่งของ อะมีร ฮะบีบุลลอหฺ ปราบปรามจนถูกสังหาร แล้วญาติคนนั้นก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ มีนามว่า นาดีร ชาหฺ พ.ศ. 2476 (ค.ศ. 1933) กษัตริย์ นาดีร ชาหฺ ถูกสังหาร บุตรชายชื่อ ซอหิร ชาหฺ ขึ้นเป็นกษัตริย์ พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) ดาวูด ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของกษัตริย์ ซอหิร ชาหฺ ก่อการปฏิวัติ กษัตริย์ ซอหิร ชาหฺ หนีไปลี้ภัยในอิตาลี ดาวูดสถาปนาตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) ดาวูด ถูกสังหาร หลังการปฏิวัติคอมมิวนิสต์ นำโดย นูร มุฮัมมัด ฏอรอกี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) ฏอรอกี ถูกสังหาร และ ฮะฟีซุลลอหฺ อะมีน สถาปนาตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี เดือนธันวาคม ฮะฟีซุลลอหฺ อะมีน ถูกสังหาร โดยกองทัพที่ถูกส่งเข้ามาจากสหภาพโซเวียต บาบรัก การ์มาล ขึ้นเป็นประธานาธิบดี บาบรัก การ์มาล ถูกถอดออกจากตำแหน่ง และหนีไปสหภาพโซเวียต นะญีบุลลอหฺ ขึ้นเป็นประธานาธิบดี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) พวกมุจาหิดีนอิสลาม ประสบความสำเร็จในการปฏิวัติต่อต้านคอมมิวนิสต์ ก่อตั้งรัฐบาลชั่วคราว โดยมี ซิบฆอตุลลอหฺ มุจัดดิดี เป็นประธานาธิบดี ต่อมา บุรฮานุดดีน ร่อบบบานี ขึ้นเป็นประธานาธิบดี สงครามกลางเมืองเกิดขึ้น พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) กลุ่มตอลิบานยึดกรุงคาบูลได้


    อัฟกานิสถานเคยมีระบอบการปกครองแบบรัฐสภา มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ จนกระทั่งปี 2516 พลโทซาดาร์ ข่าน (Sadar Khan) ได้ปฏิวัติยึดอำนาจ และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐและสถาปนาตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี แต่ผู้นำอัฟกานิสถานในยุคต่อมาเริ่มมีท่าทีใกล้ชิดสหรัฐฯ ทำให้สหภาพโซเวียตไม่พอใจและส่งกองกำลังเข้ายึดครองอัฟกานิสถานในปี 2522 เพื่อสถาปนาระบอบการปกครองแบบสังคมนิยมขึ้นแทน

    ระหว่างการยึดครองของสหภาพโซเวียต ปี 2522 - 2532 ได้เกิดขบวนการต่อต้านระบอบการปกครองแบบสังคมนิยมในนามกลุ่มมูจาฮีดีน ซึ่งได้โค่นล้มรัฐบาลที่เข้าข้างสหภาพโซเวียตได้สำเร็จในปี 2535 แต่กลับไม่สามารถร่วมกันปกครองประเทศได้ เพราะเกิดความแตกแยกและแย่งชิงอำนาจกัน ในที่สุดกลุ่มนักศึกษาหัวรุนแรงที่ได้รับการศึกษาจากปากีสถานได้รวมตัวกันจัดตั้งกองกำลังตอลิบานขึ้น และมีความเข้มแข็งจนสามารถยึดกรุงคาบูลได้ในปี 2539 ตั้งรัฐบาลตอลิบานขึ้นปกครองประเทศโดยครอบคลุมพื้นที่เกือบทั้งหมดอยู่จนถึงปี 2544

    หลังเหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน ในปี 2544 สหรัฐฯ ได้ส่งกองกำลังเข้าโจมตีอัฟกานิสถานเพื่อโค่นล้มรัฐบาลตอลิบาน และมุ่งที่จะจับนายอุซามะห์ บิน ลาดิน (Osama Bin laden) ซึ่งสหรัฐฯ สามารถโค่นล้มรัฐบาลตอลิบานได้สำเร็จในปลายปี 2544 และสหรัฐฯ สนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวในอัฟกานิสถาน และมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการเมืองการปกครองในอัฟกานิสถานมาโดยตลอด

    กระทั่งเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2564 สหรัฐอเมริกาโดยการนำของรัฐบาลนายโจ ไบเดิน ได้ทำการถอนกำลังออกจากอัฟกานิสถาน กลุ่มตอลิบานจึงใช้โอกาสในการเข้าบุกอัฟกานิสถานอีกครั้ง และสามารถเข้ายึดกรุงคาบูลได้สำเร็จ ในวันที่ 15 สิงหาคม 2564[1]

    การบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ

    มีรัฐสภา (National Assembly) ซึ่งประกอบด้วย 2 สภา ได้แก่ 1) สภาผู้แทนราษฎร (House of People หรือ Wolesi Jirga) ประกอบด้วยสมาชิกไม่เกิน 249 คน ได้รับการเลือกตั้งโดยตรง ดำรงตำแหน่งวาระ 5 ปี และ 2) สภาอาวุโส (House of Elders หรือ Meshrano Jirga) มีสมาชิก 102 คน ซึ่งแบ่งการสรรหาออกเป็น 3 วิธี ในจำนวนที่เท่า ๆ กัน โดยสมาชิก 34 คนได้รับเลือกจากคณะบริหารระดับจังหวัด (Provincial Council) ดำรงตำแหน่งวาระ 4 ปี สมาชิกอีก 34 คน ได้รับเลือกจากคณะบริหารระดับท้องถิ่น (Local District Council) ดำรงตำแหน่งวาระ 3 ปี และสมาชิกอีก 34 คน ได้รับแต่งตั้งจากประธานาธิบดี ดำรงตำแหน่งวาระ 5 ปี

    นอกจากนี้ อาจมีการประชุมใหญ่ของผู้แทนทุกภาคส่วนที่เรียกว่า Loya Jirga ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกรัฐสภาทั้งหมดจากทั้งสองสภา ร่วมกับคณะกรรมการบริหารระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่นทั้งหมด โดยที่ประชุมใหญ่นี้จะจัดขึ้นเฉพาะกรณีที่ต้องพิจารณาประเด็นระดับชาติเท่านั้น คือ ประเด็นที่เกี่ยวกับเอกราช อธิปไตยของชาติ และเกี่ยวกับดินแดน รวมถึงการฟ้องร้องประธานาธิบดี

    ฝ่ายบริหาร

    ประธานาธิบดีเป็นทั้งประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร มีรองประธานาธิบดี 2 คน ซึ่งทั้งหมดดำรงตำแหน่งโดยการรับเลือกตั้งจากประชาชน มีวาระ 5 ปี และประธานาธิบดีคนปัจจุบัน คือ นาย Hamid Karzai ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญให้อำนาจประธานาธิบดีแต่งตั้งรัฐมนตรีร่วมบริหารประเทศ โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา และรัฐมนตรีมีจำนวนทั้งสิ้น 25 คน

    ตามรัฐธรรมนูญของอัฟกานิสถาน กำหนดให้ประธานาธิบดีเป็นประมุขและผู้นำในการบริหารประเทศ มีการกระจายอำนาจการปกครองออกเป็นจังหวัด แบ่งออกเป็น 34 จังหวัด (Province) อย่างไรก็ตาม ในแง่การบริหารจัดการระบบการปกครองภายในประเทศยังไม่ดีนัก เนื่องจากเพิ่งฟื้นตัวจากสงคราม และอำนาจของรัฐบาลกลางยังครอบคลุมไม่ทั่วถึงพื้นที่ห่างไกล

    กระทรวง ลำดับที่ ชื่อกระทรวงภาษาไทย ชื่อกระทรวงภาษาอังกฤษ 1 กระทรวงเกษตร ชลประทานและปศุสัตว์ Ministry of Agriculture, Irrigation and Livestock 2 กระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรม Ministry of Commerce and Industries 3 กระทรวงการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ Ministry of Communications and Information Technology 4 กระทรวงปราบปรามยาเสพติด Ministry of Counter Narcotics 5 กระทรวงกลาโหม Ministry of Defense 6 กระทรวงเศรษฐกิจ Ministry of Economy 7 กระทรวงศึกษาธิการ Ministry of Education 8 กระทรวงพลังงานและน้ำ Ministry of Energy and Water 9 กระทรวงการคลัง Ministry of Finance 10 กระทรวงการต่างประเทศ Ministry of Foreign Affairs 11 กระทรวงพรมแดน ประชาชาติและชนเผ่า Ministry of Frontiers, Nations and Tribal Affairs 12 กระทรวงฮัจญ์และการศาสนา Ministry of Hajj and Religious Affairs 13 กระทรวงการอุดมศึกษา Ministry of Higher Education 14 กระทรวงข้อมูลและวัฒนธรรม Ministry of Information and Culture 15 กระทรวงกิจการภายใน Ministry of Interior Affairs 16 กระทรวงยุติธรรม Ministry of Justice 17 กระทรวงแรงงาน ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการและกิจการสังคม Ministry of Labor, Martyrs, Disabled, & Social Affairs 18 กระทรวงเหมืองแร่และปิโตรเลียม Ministry of Mines & Petroleum 19 กระทรวงสาธารณสุข Ministry of Public Health 20 กระทรวงแรงงานสาธารณะ Ministry of Public Works 21 กระทรวงผู้ลี้ภัยและการส่งตัวกลับ Ministry of Refugees & Repatriation 22 กระทรวงการฟื้นฟูและพัฒนาชนบท Ministry of Rural Rehabilitation and Development 23 กระทรวงคมนาคมและการบินพลเรือน Ministry of Transport and Civil Aviation 24 กระทรวงการพัฒนาในเมืองและการเคหะ Ministry of Urban Development & Housing 25 กระทรวงกิจการสตรี Ministry of Women's Affairs 26 สำนักงานอัยการสูงสุด Attorney General's Office ฝ่ายตุลาการ

    ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนดให้อัฟกานิสถานมีศาลฎีกา (Supreme Court) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Stera Mahkama มีผู้พิพากษาจำนวน 9 คน แต่งตั้งโดยประธานาธิบดีและต้องให้สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ ดำรงตำแหน่งวาระ 10 ปี รองลงมามีศาลสูง (High Court) และศาลอุทธรณ์ (Appeals Court) ด้วย

    การบริหารระดับจังหวัด

    แม้รัฐธรรมนูญจะกำหนดหน่วยงานระดับจังหวัดและท้องถิ่น คือ คณะบริหารระดับจังหวัด (Provincial Council) และคณะบริหารระดับท้องถิ่น (Local District Council) แล้ว แต่ดังที่กล่าวข้างต้นว่า ระบบการบริหารการปกครองของอัฟกานิสถานยังจัดการได้ไม่ดีนัก เนื่องจากเป็นระบบที่วางขึ้นใหม่ และอำนาจของรัฐบาลกลางยังอ่อนแอ ความเชื่อมโยงของการบริหารอำนาจระหว่างท้องถิ่นกับส่วนกลางจึงยังขาดความชัดเจน

    "ปธน.อัฟกานิสถานเดินทางออกนอกประเทศ หลังตอลีบานยึดกรุงคาบูลสำเร็จ". ไทยพีบีเอส. 16 สิงหาคม 2021.
    Read less

Where can you sleep near ประเทศอัฟกานิสถาน ?

Booking.com
489.444 visits in total, 9.196 Points of interest, 404 Destinations, 82 visits today.