Perú

ประเทศเปรู
Pedro Szekely at https://www.flickr.com/photos/pedrosz/ - CC BY-SA 2.0 Qpqqy - CC BY-SA 4.0 Pavel Špindler - CC BY 3.0 No machine-readable author provided. Jose C. assumed (based on copyright claims). - Public domain Esme Vos from San Francisco and Amsterdam, Netherlands - CC BY 2.0 Pedro Szekely from Los Angeles, USA - CC BY-SA 2.0 Tomato356 - CC BY 3.0 David Stanley from Nanaimo, Canada - CC BY 2.0 McKay Savage - CC BY 2.0 Murray Foubister - CC BY-SA 2.0 Mx._Granger - CC0 Amazon CARES Amazon Community Animal Rescue, Education and Safety - CC BY 2.0 David Stanley from Nanaimo, Canada - CC BY 2.0 Pedro Szekely from Los Angeles, USA - CC BY-SA 2.0 D. Gordon E. Robertson - CC BY-SA 3.0 Pavel Špindler - CC BY 3.0 No machine-readable author provided. Jose C. assumed (based on copyright claims). - Public domain Murray Foubister - CC BY-SA 2.0 EdsonFuentesMera - CC BY-SA 4.0 Leandro Neumann Ciuffo - CC BY 2.0 Kabelleger / David Gubler - CC BY-SA 4.0 Grupotres21 - CC BY-SA 4.0 Risa_kročil - CC BY-SA 3.0 Murray Foubister - CC BY-SA 2.0 Bryan Dougherty (bryand_nyc) from New York City, USA - CC BY-SA 2.0 Unknown Artist about 1500 years ago - Public domain Arabsalam - CC BY-SA 4.0 Pedro Szekely from Los Angeles, USA - CC BY-SA 2.0 Allard Schmidt (The Netherlands) - Public domain José Carlos Rozas Carazas - CC BY-SA 4.0 Olidel13 - CC BY-SA 4.0 MrBasically - CC BY-SA 4.0 Christopher Crouzet - CC BY 2.0 Murray Foubister - CC BY-SA 2.0 Alberto Cafferata - CC BY-SA 4.0 Carlos Medina-Saldivar - CC BY-SA 4.0 Carlos Medina-Saldivar - CC BY-SA 4.0 Harley Calvert - CC BY-SA 3.0 Amazon CARES Amazon Community Animal Rescue, Education and Safety - CC BY 2.0 Olga Stalska stalskaya - CC0 Pavel Špindler - CC BY 3.0 ilkerender - CC BY 2.0 Guillermo Arévalo Aucahuasi - CC BY-SA 2.5 AgainErick - CC BY-SA 4.0 Martin Lang - CC BY 2.0 Jorge Láscar from Australia - CC BY 2.0 Ozesama - CC BY-SA 4.0 Pedro Szekely from Los Angeles, USA - CC BY-SA 2.0 Martin St-Amant (S23678) - CC BY 3.0 No images

Context of ประเทศเปรู

เปรู (สเปน: Perú [peˈɾu]; เกชัว: Piruw [pɪɾʊw]; ไอมารา: Piruw [pɪɾʊw]) มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเปรู (สเปน:  República del Perú ) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ มีพรมแดนทางทิศเหนือติดกับประเทศเอกวาดอร์และประเทศโคลอมเบีย ทิศตะวันออกติดกับประเทศบราซิลและประเทศโบลิเวีย ทางทิศใต้ติดกับประเทศชิลี และทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก

ประเทศเปรูเป็นที่ตั้งของอารยธรรมการัล ซึ่งเป็นอารยธรรมเก่าแก่อันหนึ่งของโลก และอาณาจักรอินคา จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาก่อนยุคโคลัมบัส ต่อมาภูมิภาคนี้ตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิสเปน และได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2364

ชื่อเปรูมาจากคำว่า "บิรู" (Birú) ซึ่งเป็นชื่อของผู้ปกครองท้องถิ่นบริเวณอ่าวซานมีเกลในปานามา โดยบริเวณนี้เป็นจุดใต้สุดที่...อ่านต่อ

เปรู (สเปน: Perú [peˈɾu]; เกชัว: Piruw [pɪɾʊw]; ไอมารา: Piruw [pɪɾʊw]) มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐเปรู (สเปน:  República del Perú ) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ มีพรมแดนทางทิศเหนือติดกับประเทศเอกวาดอร์และประเทศโคลอมเบีย ทิศตะวันออกติดกับประเทศบราซิลและประเทศโบลิเวีย ทางทิศใต้ติดกับประเทศชิลี และทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแปซิฟิก

ประเทศเปรูเป็นที่ตั้งของอารยธรรมการัล ซึ่งเป็นอารยธรรมเก่าแก่อันหนึ่งของโลก และอาณาจักรอินคา จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในทวีปอเมริกาก่อนยุคโคลัมบัส ต่อมาภูมิภาคนี้ตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิสเปน และได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2364

ชื่อเปรูมาจากคำว่า "บิรู" (Birú) ซึ่งเป็นชื่อของผู้ปกครองท้องถิ่นบริเวณอ่าวซานมีเกลในปานามา โดยบริเวณนี้เป็นจุดใต้สุดที่ชาวยุโรปรู้จักเมื่อครั้งนักสำรวจชาวสเปนมาถึงในปี พ.ศ. 2065 ดังนั้นเมื่อฟรันซิสโก ปิซาร์โรเดินทางสำรวจต่อไปทางใต้ จึงเรียกภูมิภาคเหล่านั้นว่าบิรูหรือเปรูด้วย จักรวรรดิสเปนรับรองชื่อนี้ในปี พ.ศ. 2072 ในเอกสาร กาปิตูลาซิออนเดโตเลโด ซึ่งตั้งจังหวัดเปรูบริเวณจักรวรรดิอินคาเดิม

รัฐอธิปไตยของเปรูเป็นตัวแทนของสาธารณรัฐประชาธิปไตยที่แบ่งการปกครองออกเป็น 25 ภูมิภาค ปัจจุบันเปรูเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา โดยอยู่ในอันดับที่ 82 ในดัชนีการพัฒนามนุษย์ของโลกและมีแนวโน้มการพัฒนาคุณภาพมนุษย์อยู่ในระดับสูง ประชากรเปรูมีรายได้ในระดับปานกลางและยังคงมีอัตราความยากจนอยู่ราว 19 เปอร์เซ็นต์ อย่างไรก็ตาม ตลอดหลายปีที่ผ่านมาเปรูถือเป็นประเทศที่มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจมากที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคอเมริกาใต้ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ย 5.9% รวมทั้งมีอัตราการเติบโตทางอุตสาหกรรมที่เร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลกที่อัตราเฉลี่ย 9.6% กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศได้แก่ การขุดเจาะ การทำเหมือง การผลิต เกษตรกรรม และการประมง พร้อมกับกิจกรรมภาคเศรษฐกิจส่วนอื่น ๆ ที่กำลังเติบโต เช่น โทรคมนาคมและเทคโนโลยีชีวภาพ ประเทศเปรูเป็นส่วนหนึ่งของ The Pacific Pumas ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศทางการเมืองและเศรษฐกิจตามแนวชายฝั่งแปซิฟิกของลาตินอเมริกาที่มีแนวโน้มร่วมกันของการเติบโตในเชิงบวก ประชากรของเปรูมียังเสรีภาพทางสังคมและการดำรงชีวิตสูง

เปรูถือเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์สูงโดยมีประชากรจากหลายภูมิภาค เช่น ชาวอินเดียน-อเมริกัน ชาวยุโรป ชาวแอฟริกา รวมถึงชาวเอเชีย ภาษาหลักที่ใช้ในการสื่อสารโดยทั่วไปคือภาษาสเปน และยังมีภาษาท้องถิ่นอีกมากมายตามแถบชนบทของประเทศ เช่น ภาษาไอมารา ภาษาเกชัว ความหลากหลายทางวัฒนธรรมดังกล่าวนี้สะท้อนให้เห็นผ่านวิถีชีวิตของชาวเปรูในหลายแง่มุม เช่น สถานที่ท่องเที่ยว ดนตรี อาหาร การแต่งกาย เป็นต้น

More about ประเทศเปรู

Basic information
  • Native name Perú
  • Calling code +51
  • Internet domain .pe
  • Mains voltage 220V/60Hz
  • Democracy index 6.53
Population, Area & Driving side
  • Population 29381884
  • Area 1285216
  • Driving side right
ประวัติ
  • ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์เปรู
    ยุคก่อนอินคา
     
    เส้นนัซกา

    ปรากฏร่องรอยของมนุษย์กลุ่มแรกในบริเวณประเทศเปรูตั้งแต่ประมาณ 10,000 ปีก่อนพุทธศักราช[1] อารยธรรมการัลซึ่งเป็นสังคมที่เก่าแก่ที่สุดในเปรูเจริญขึ้นบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกในระหว่าง 2,500 ถึง 1,300 ปีก่อนพุทธศักราช[2]

    จาก หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่หลงเหลืออยู่มากมายในประเทศเปรู แสดงให้เห็นว่ามีอารยธรรมต่าง ๆ เกิดขึ้นในทวีปอเมริกาใต้ในยุคก่อนอินคา อารยธรรมชาบินเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดอารยธรรมหนึ่งในทวีปอเมริกาใต้ ศูนย์กลางอยู่บริเวณชายฝั่งตอนกลางของเปรู โบราณสถานที่สำคัญคือ ชาบินเดวันตาร์ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของกรุงลิมา

    ในยุคต่อมา อารยธรรมโมเชพัฒนาขึ้นบริเวณชายฝั่งตอนเหนือของเปรู และภายหลังพัฒนากลายเป็นอารยธรรมชีมู ส่วนทางตอนใต้ของเปรู อารยธรรมนัซกาได้ถือกำเนิดขึ้นบริเวณชายฝั่งในช่วงระยะเวลาเดียวกับอารยธรรมโมเช ร่องรอยอารยธรรมที่สำคัญคือเส้นนัซกา นอกจากนี้ ยังมีอารยธรรมตีวานากู ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ใกล้กรุงลาปาซในประเทศโบลิเวีย และอารยธรรมอัวรีซึ่งมีศูนย์กลางอยู่บริเวณแคว้นไออากูโชทางตอนใต้ของเปรู[3]

    ...อ่านต่อ
    ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์เปรู
    ยุคก่อนอินคา
     
    เส้นนัซกา

    ปรากฏร่องรอยของมนุษย์กลุ่มแรกในบริเวณประเทศเปรูตั้งแต่ประมาณ 10,000 ปีก่อนพุทธศักราช[1] อารยธรรมการัลซึ่งเป็นสังคมที่เก่าแก่ที่สุดในเปรูเจริญขึ้นบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกในระหว่าง 2,500 ถึง 1,300 ปีก่อนพุทธศักราช[2]

    จาก หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่หลงเหลืออยู่มากมายในประเทศเปรู แสดงให้เห็นว่ามีอารยธรรมต่าง ๆ เกิดขึ้นในทวีปอเมริกาใต้ในยุคก่อนอินคา อารยธรรมชาบินเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดอารยธรรมหนึ่งในทวีปอเมริกาใต้ ศูนย์กลางอยู่บริเวณชายฝั่งตอนกลางของเปรู โบราณสถานที่สำคัญคือ ชาบินเดวันตาร์ ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของกรุงลิมา

    ในยุคต่อมา อารยธรรมโมเชพัฒนาขึ้นบริเวณชายฝั่งตอนเหนือของเปรู และภายหลังพัฒนากลายเป็นอารยธรรมชีมู ส่วนทางตอนใต้ของเปรู อารยธรรมนัซกาได้ถือกำเนิดขึ้นบริเวณชายฝั่งในช่วงระยะเวลาเดียวกับอารยธรรมโมเช ร่องรอยอารยธรรมที่สำคัญคือเส้นนัซกา นอกจากนี้ ยังมีอารยธรรมตีวานากู ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ใกล้กรุงลาปาซในประเทศโบลิเวีย และอารยธรรมอัวรีซึ่งมีศูนย์กลางอยู่บริเวณแคว้นไออากูโชทางตอนใต้ของเปรู[3]

    ยุคอินคา
    ดูเพิ่มที่: จักรวรรดิอินคา
     
    การต่อสู้ระหว่างสเปนกับอินคา

    อาณาจักรอินคาก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 18 แต่เริ่มมีอำนาจขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1981 ในสมัยของปาชากูตี กษัตริย์องค์ที่ 9 อินคาค่อย ๆ ขยายอาณาเขตออกไปจากศูนย์กลางที่เมืองกุสโกทั้ง โดยวิธีทางการทูตและการสู้รบ จักรวรรดิขยายใหญ่จนถึงที่สุดในยุคของไวนา กาปัก กษัตริย์องค์ที่ 11 ครอบคลุมบริเวณชายฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้ ตั้งแต่บริเวณตอนใต้ของประเทศโคลอมเบียไปจนถึงตอนกลางของประเทศชิลี รวมทั้งบริเวณประเทศโบลิเวีย และตอนเหนือของประเทศอาร์เจนตินา

    ก่อนที่ไวนา กาปักจะสวรรคต ได้ทรงแบ่งดินแดนอินคาให้แก่อาตาวัลปาและวัสการ์ พระราชโอรสทั้งสอง แต่พระราชโอรสทั้งสองไม่พอพระทัย ต้องการปกครองแผ่นดินแต่เพียงพระองค์เดียว จึงเกิดการสู้รบเพื่อแย่งแผ่นดินกันขึ้น ในที่สุดอาตาวัลปาก็เป็นฝ่ายชนะ

    ในขณะที่ดินแดนอินคากำลังวุ่นวายด้วยสงครามแย่งชิงอำนาจและโรคระบาด ฟรันซิสโก ปิซาร์โร นักสำรวจชาวสเปนกับ กำลังพลเพียง 167 คน ได้เดินทางมาเข้าพบอาตาอวลปาขณะที่กำลังพักผ่อนหลังเสร็จสงครามและจับพระองค์เป็นตัวประกัน ชาวอินคามอบทองคำและเงินเป็นจำนวนมากให้แก่ปิซาร์โรเพื่อเป็นค่าไถ่ให้ปล่อย ตัวจักรพรรดิของตน แต่ปิซาร์โรกลับไม่ยอมรักษาคำพูดและประหารพระองค์ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2075[4]

    การปกครองของสเปน
     
    มาชูปิกชู หนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่

    ในปี พ.ศ. 2075 กองทัพผู้พิชิตของสเปนนำโดยฟรันซิสโก ปิซาร์โร เอาชนะจักรพรรดิอินคาอาตาอวลปา และผนวกเข้าอยู่ใต้การปกครองของสเปน ปิซาร์โรตั้งเมืองหลวงใหม่ที่ลิมาซึ่งกลายเป็นเมืองหลวงของประเทศเปรูในปัจจุบัน สิบปีถัดมา จักรวรรดิสเปนภายใต้การปกครองของราชวงศ์ฮาพส์บวร์คได้ตั้งเขตอุปราชแห่งเปรู ซึ่งครอบคลุมอาณานิคมในอเมริกาใต้เกือบทั้งหมด[5] ประมาณสามสิบปีถัดมา อุปราชฟรันซิสโก เด โตเลโด จัดระเบียบดินแดนในปกครองของตนใหม่ ด้วยการทำเหมืองแร่เงินเป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลักและใช้แรงงานชาวพื้นเมือง[6] ทองแท่งจากเปรูเป็นแหล่งรายได้ของเจ้าสเปนและส่งเสริมเครือข่ายการค้าที่ซับซ้อนที่ไปไกลถึงยุโรปและฟิลิปปินส์[7] อย่างไรก็ตาม ในอีกสองศตวรรษต่อมา การผลิตแร่เงินและการกระจายของเศรษฐกิจที่ลดลงทำให้รายได้ของเจ้าสเปนลดลง[8] จึงทำให้สำนักเจ้าของสเปนประกาศการปฏิรูปบูร์บง ซึ่งประกอบด้วยพระราชกฤษฎีกาเพิ่มภาษีและแยกส่วนเขตอุปราชแห่งเปรู[9] กฎหมายใหม่นี้กระตุ้นให้เกิดการกบฏของตูปัก อามารูที่ 2 และความพยายามปฏิวัติอื่น ๆ ซึ่งพ่ายแพ้ทั้งหมด[10] ในช่วงสงครามประกาศเอกราชในอเมริกาใต้ เปรูยังคงเป็นฐานที่มั่นของฝ่ายสนับสนุนกษัตริย์ แต่เปรูก็กลายเป็นประเทศเอกราชจากการต่อสู้ของโฆเซ เด ซาน มาร์ติน และซิมอน โบลิบาร์[11]

    สาธารณรัฐเปรู

    ในช่วงแรกของการเป็นสาธารณรัฐ การแก่งแย่งชิงอำนาจของผู้นำทางทหารก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพทางการเมือง[12] อัตลักษณ์ของชาติถูกสร้างขึ้นในยุคนี้ จากการที่แนวความคิดสหพันธ์อเมริกาใต้ของโบลิบาร์และสหภาพกับโบลิเวียไม่ประสบความสำเร็จ[13] ช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 24 เปรูมีเสถียรภาพภายใต้การนำของประธานาธิบดีรามอน กัสติยา ด้วยรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการส่งออกปุ๋ยขี้นก (guano)[14] อย่างไรก็ตาม ทรัพยากรเหล่านี้ถูกใช้หมดไปอย่างรวดเร็ว เปรูมีหนี้สินอย่างหนัก และการต่อสู้ทางการเมืองก็ปะทุขึ้นอีกครั้ง[15]

    เปรูพ่ายแพ้ต่อชิลีในสงครามมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2422 ถึง 2427 เสียดินแดนจังหวัดอาริกาและตาราปากาในสนธิสัญญาอังกอนและลิมา หลังจากปัญหาภายในประเทศหลังสงคราม เปรูกลับมามีเสถียรภาพภายใต้การนำของพรรคซิบิล ซึ่งสิ้นสุดลงหลังเอากุสโต เบ. เลกิอา ขึ้นเป็นผู้นำประเทศ[16] เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ทำให้เลกิอาถูกล้มจากอำนาจ และกำเนิดพันธมิตรประชาชนปฏิวัติอเมริกา (Alianza Popular Revolucionaria Americana)[17] การแข่งขันระหว่างกลุ่มนี้กับกลุ่มชนชั้นสูงและกองทัพเป็นส่วนสำคัญของการเมืองเปรูในอีกสามทศวรรษถัดมา[18]

    ในปี พ.ศ. 2511 กองทัพเปรูนำโดยนายพลฆวน เบลัสโก อัลบาราโด ทำรัฐประหารยึดอำนาจจากประธานาธิบดีเฟร์นันโด เบลาอุนเด รัฐบาลใหม่ทำการปฏิรูปครั้งใหญ่ แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนมากเท่าไรนัก[19] ในปี พ.ศ. 2518 นายพลฟรันซิสโก โมราเลส เบร์มูเดซ ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแทนเบลัสโก ยุติการปฏิรูปและนำประเทศเข้าสู่ประชาธิปไตยอีกครั้ง[20] หลังยุคของโมราเลสในปี 2523 เปรูประสบปัญหาหนี้ต่างประเทศสูง เงินเฟ้อที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ การขนส่งยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง และปัญหาการเมืองที่การใช้กำลังอย่างรุนแรง[21] ภายใต้การนำของประธานาธิบดีอัลเบร์โต ฟูฆิโมริ พ.ศ. 2533-2543 ประเทศเปรูก็เริ่มฟื้นตัวด้วยการปฏิรูปทางการเมืองและการปราบปรามกลุ่มผู้ก่อการร้าย แต่ฟูฆิโมริก็ถูกกล่าวหาเรื่องอำนาจนิยม การทุจริตในตำแหน่งหน้าที่ และการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทำให้เขาต้องลาออกและหนีออกนอกประเทศหลังจากการเลือกตั้งครั้งปัญหาในปี พ.ศ. 2543[22] ประชาธิปไตยกลับคืนสู่เปรูอีกครั้งในสมัยของประธานาธิบดีอาเลฆันโดร โตเลโด ซึ่งนับแต่นั้นเป็นต้นมา เปรูพยายามกำจัดการทุจริตในตำแหน่งหน้าที่และสามารถรักษาสภาพทางเศรษฐกิจที่ดีไว้ได้[23]

    Tom Dillehay et al, "The first settlers", p. 20. Jonathan Haas et al, "Dating the Late Archaic occupation of the Norte Chico region in Peru", p. 1021. "South American Sites & Culures". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-02. สืบค้นเมื่อ 2008-05-26. Minnesota State University Mankato (อังกฤษ) Terence N. D'Altroy, The Incas, Blackwell Publishing, 2002 Recopilación de leyes de los Reynos de las Indias, vol. II, pp. 12-13. (สเปน) Peter Bakewell, Miners of the Red Mountain, p. 181. (อังกฤษ) Margarita Suárez, Desafíos transatlánticos, pp. 252-253. (สเปน) Kenneth Andrien, Crisis and decline, pp. 200-202. (อังกฤษ) Mark Burkholder, From impotence to authority, pp. 83-87. (อังกฤษ) Scarlett O'Phelan, Rebellions and revolts in eighteenth century Peru and Upper Peru, p. 276. (อังกฤษ) Timothy Anna, The fall of the royal government in Peru, pp. 237-238. (อังกฤษ) Charles Walker, Smoldering ashes, pp. 124–125.(อังกฤษ) Paul Gootenberg, Between silver and guano, p. 12. (อังกฤษ) Paul Gootenberg, Imagining development, pp. 5–6. (อังกฤษ) Paul Gootenberg, Imagining development, p. 9. (อังกฤษ) Ulrich Mücke, Political culture in nineteenth-century Peru, pp. 193–194. (อังกฤษ) Peter Klarén, Peru, pp. 262–276. (อังกฤษ) David Palmer, Peru: the authoritarian tradition, p. 93. (อังกฤษ) George Philip, The rise and fall of the Peruvian military radicals, pp. 163–165. (อังกฤษ) Daniel Schydlowsky and Juan Julio Wicht, "Anatomy of an economic failure", pp. 106–107. (อังกฤษ) Peter Klarén, Peru, pp. 406–407. (อังกฤษ) BBC News, Fujimori: Decline and fall. 20 พ.ย. 2543 เรียกข้อมูลวันที่ 13 ก.ค. 2551. (อังกฤษ) "Survivor Toledo". The Economist. 2005-01-09. สืบค้นเมื่อ 2008-07-31. (อังกฤษ)
    Read less

Phrasebook

สวัสดี
Hola
โลก
Mundo
สวัสดีชาวโลก
Hola Mundo
ขอขอบคุณ
Gracias
ลาก่อน
Adiós
ใช่
ไม่
No
คุณเป็นอย่างไรบ้าง
¿Cómo estás?
สบายดีขอบคุณ
Bien, gracias
ราคาเท่าไหร่?
¿Cuánto cuesta?
ศูนย์
Cero
หนึ่ง
Una

Where can you sleep near ประเทศเปรู ?

Booking.com
487.349 visits in total, 9.186 Points of interest, 404 Destinations, 34 visits today.