ประเทศเนปาล

Jean-Marie Hullot - CC BY-SA 2.0 Nirmal Raj Joshi - CC BY-SA 3.0 Ascii002 - CC BY-SA 3.0 Abhishek Dutta (http://abhishekdutta.org), fix chromatic aberration by uploader - CC BY 3.0 Bikrampratapsingh - CC BY-SA 4.0 http://www.vascoplanet.com/world/ VascoPlanet Photography, Nepal - CC BY 3.0 Chandrackd - CC BY-SA 4.0 Q-lieb-in - CC BY-SA 4.0 Thapaliyashreeram - CC BY-SA 4.0 Iciclesadventuretreks - CC BY-SA 4.0 KC Sanjay - CC BY-SA 4.0 Ummidnp - CC BY-SA 4.0 Iciclesadventuretreks - CC BY-SA 4.0 Gerd Eichmann - CC BY-SA 4.0 Ummidnp - CC BY-SA 4.0 nischaltiwari (https://www.flickr.com/photos/nischaltiwari/) - CC BY 2.5 Gus, Original uploader was Gus at pl.wikipedia - CC BY-SA 3.0 Q-lieb-in - CC BY-SA 4.0 Jmhullot - CC BY 3.0 Thapaliyashreeram - CC BY-SA 4.0 Lerian - Public domain Jean-Pierre Dalbéra from Paris, France - CC BY 2.0 Steve Hicks - CC BY 2.0 Yash Bhattarai - CC BY-SA 3.0 Rabin Karki - CC BY 3.0 Rajivkilanashrestha - CC BY-SA 4.0 Thapaliyashreeram - CC BY-SA 4.0 Gus, Original uploader was Gus at pl.wikipedia - CC BY-SA 3.0 Rdhungana - CC BY-SA 4.0 Q-lieb-in - CC BY-SA 4.0 Jmhullot - CC BY 3.0 Mubarakansari - CC BY-SA 3.0 Carsten.nebel - CC BY-SA 4.0 Chandrackd - CC BY-SA 4.0 Gerd Eichmann - CC BY-SA 4.0 Iciclesadventuretreks - CC BY-SA 4.0 Rajesh Dhungana - CC BY-SA 4.0 Rdhungana - CC BY-SA 4.0 Rdhungana - CC BY-SA 4.0 Gerd Eichmann - CC BY-SA 4.0 Steve Hicks - CC BY 2.0 NeupaneArpan - CC BY-SA 4.0 Yash Bhattarai - CC BY-SA 4.0 - Gurkhanabin - CC BY 4.0 Gerd Eichmann - CC BY-SA 4.0 Q-lieb-in - CC BY-SA 3.0 Abhishek Dutta (http://abhishekdutta.org), fix chromatic aberration by uploader - CC BY 3.0 Jmhullot - CC BY 3.0 Jmhullot - CC BY 3.0 Abhishek Dutta (http://abhishekdutta.org), fix chromatic aberration by uploader - CC BY 3.0 Gerd Eichmann - CC BY-SA 4.0 Lerian - Public domain Abhishek Dutta (http://abhishekdutta.org), fix chromatic aberration by uploader - CC BY 3.0 default Gus, Original uploader was Gus at pl.wikipedia - CC BY-SA 3.0 Nahyd Akhtar - CC BY-SA 4.0 Nirmal Raj Joshi - CC BY-SA 3.0 Gerd Eichmann - CC BY-SA 4.0 No images

Context of ประเทศเนปาล

ประเทศเนปาล (เนปาล: नेपाल, ออกเสียง [nepäl]) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (เนปาล: सङ्घीय लोकतान्त्रिक गणतन्त्र नेपाल, สงฺฆีย โลกตานฺตฺริก คณตนฺตฺร เนปาล) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ มีพื้นที่ 147,181 ตารางกิโลเมตร และประชากรประมาณ 27 ล้านคน ประเทศเนปาลเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 93 ของโลก และมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 41 ของโลก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนทิศเหนือติดสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้ ตะวันออกและตะวันตกติดสาธารณรัฐอินเดีย ประเทศเนปาลแยกจากประเทศบังกลาเทศด้วยฉนวนศิลิกูริ (Siliguri Corridor) แคบ ๆ ในประเทศอินเดีย และแยกจากประเทศภูฏานด้วยรัฐสิกขิมของอินเดีย กรุงกาฐมาณฑุเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศ

ภาคเหนือของประเทศเนปาลซึ่งเป็นแถบภูเขามีแปดจากสิบภูเขาสูงสุดในโลก ซึ่งรวมยอดเขาเอเวอเรสต์ จุดสูงสุดบนโลก ยอดเขากว่า 240 แห่งซึ่งสูงเกิน 6,096 เมตร (20,000 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเลอยู่ในประเทศเนปาล ส่วนภาคใต้มี...อ่านต่อ

ประเทศเนปาล (เนปาล: नेपाल, ออกเสียง [nepäl]) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล (เนปาล: सङ्घीय लोकतान्त्रिक गणतन्त्र नेपाल, สงฺฆีย โลกตานฺตฺริก คณตนฺตฺร เนปาล) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเอเชียใต้ มีพื้นที่ 147,181 ตารางกิโลเมตร และประชากรประมาณ 27 ล้านคน ประเทศเนปาลเป็นประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 93 ของโลก และมีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับที่ 41 ของโลก ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัย มีพรมแดนทิศเหนือติดสาธารณรัฐประชาชนจีน ทิศใต้ ตะวันออกและตะวันตกติดสาธารณรัฐอินเดีย ประเทศเนปาลแยกจากประเทศบังกลาเทศด้วยฉนวนศิลิกูริ (Siliguri Corridor) แคบ ๆ ในประเทศอินเดีย และแยกจากประเทศภูฏานด้วยรัฐสิกขิมของอินเดีย กรุงกาฐมาณฑุเป็นเมืองหลวงและเมืองใหญ่สุดของประเทศ

ภาคเหนือของประเทศเนปาลซึ่งเป็นแถบภูเขามีแปดจากสิบภูเขาสูงสุดในโลก ซึ่งรวมยอดเขาเอเวอเรสต์ จุดสูงสุดบนโลก ยอดเขากว่า 240 แห่งซึ่งสูงเกิน 6,096 เมตร (20,000 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเลอยู่ในประเทศเนปาล ส่วนภาคใต้มีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และชื้น

ชาวเนปาลประมาณ 81.3% นับถือศาสนาฮินดู เป็นสัดส่วนสูงสุดในโลก ศาสนาพุทธมีความเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์กับประเทศเนปาล และมีประชากรนับถือ 9% ตามด้วยศาสนาอิสลาม 4.4% Kiratism 3.1% ศาสนาคริสต์ 1.4% และวิญญาณนิยม 0.4% ประชากรสัดส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคภูเขา อาจระบุตัวว่าเป็นทั้งฮินดูและพุทธ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของธรรมชาติกลมเกลียวของทั้งสองความเชื่อในประเทศเนปาลก็เป็นได้

ประเทศเนปาลปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยตลอดประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ ราชวงศ์ศาหะปกครองตั้งแต่ปี 2311 เมื่อพระเจ้าปฤถวีนารายัณ ศาหะทรงรวมราชอาณาจักรเล็ก ๆ จำนวนมาก จนปี 2551 สงครามกลางเมืองนานหนึ่งทศวรรษซึ่งเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ตามด้วยการประท้วงใหญ่โดยพรรคการเมืองหลักทุกพรรค นำสู่ความตกลง 12 ข้อ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548 การเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 1 เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2551 ซึ่งตามมาสนับสนุนการเลิกราชาธิปไตยและการสถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนหลายพรรคการเมืองอย่างท่วมท้น แม้ความท้าทายทางการเมืองยังดำเนินไป แต่กรอบนี้ยังอยู่ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญเนปาลที่ 2 ซึ่งได้รับเลือกตั้งในปี 2556 ในความพยายามเพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่

ประเทศเนปาลเป็นประเทศกำลังพัฒนาโดยมีเศรษฐกิจรายได้ต่ำ อยู่ในอันดับที่ 145 จาก 187 ประเทศในดัชนีการพัฒนามนุษย์ในปี 2557 ประเทศเนปาลยังเผชิญกับความหิวและความยากจนระดับสูง แม้ความท้าทายเหล่านี้ ประเทศเนปาลยังคงมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง โดยรัฐบาลผูกมัดยกระดับประเทศจากสถานภาพประเทศด้อยพัฒนาภายในปี 2565

More about ประเทศเนปาล

Basic information
Population, Area & Driving side
  • Population 29164578
  • Area 147181
  • Driving side left
ประวัติ
  • ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์เนปาล
    ยุคโบราณ
     
    เสาพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ ลุมพินีวัน
    ยุคกลาง ราชอาณาจักร
    ดูบทความหลักที่: ราชอาณาจักรเนปาล

    ก่อนปีพ.ศ. 2311 หุบเขากาฐมาณฑุแบ่งออกเป็นสามอาณาจักร จนกระทั่งผู้นำเผ่ากุรข่า ปฤฐวี นารายัณ ศาห์ สามารถรวบรวมอาณาจักรในหุบเขาเข้าด้วยกัน และหลังจากนั้นได้ทำสงครามขยายอาณาเขตออกไป จนในปี พ.ศ. 2357 - พ.ศ. 2359 เกิดสงครามอังกฤษ-เนปาล กองทัพกุรข่าพ่ายแพ้ ต้องทำสนธิสัญญาและจำกัดอาณาเขตเนปาลเหลือเท่าปัจจุบัน[1]

    ในปี พ.ศ. 2391 ชัง พหาทุระ รานา ซึ่งเป็นขุนนางในประเทศ ยึดอำนาจจากราชวงศ์ศาห์ โดยยังคงราชวงศ์ศาห์ไว้เป็นประมุขแต่ในนาม ตระกูลรานาได้รับการสนับสนุนจากสหราชอาณาจักร เนปาลได้ส่งกองทัพเข้าร่วมกับกองทัพบริเตนในหลายสงคราม ทำให้สหราชอาณาจักรทำสนธิสัญญามิตรภาพกับเนปาลในปี พ.ศ. 2466 ซึ่งในสนธิสัญญานี้ สหราชอาณาจักรได้ยอมรับเอกราชของเนปาลอย่างชัดเจน[2]

    ...อ่านต่อ
    ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์เนปาล
    ยุคโบราณ
     
    เสาพระเจ้าอโศกมหาราช ที่ ลุมพินีวัน
    ยุคกลาง ราชอาณาจักร
    ดูบทความหลักที่: ราชอาณาจักรเนปาล

    ก่อนปีพ.ศ. 2311 หุบเขากาฐมาณฑุแบ่งออกเป็นสามอาณาจักร จนกระทั่งผู้นำเผ่ากุรข่า ปฤฐวี นารายัณ ศาห์ สามารถรวบรวมอาณาจักรในหุบเขาเข้าด้วยกัน และหลังจากนั้นได้ทำสงครามขยายอาณาเขตออกไป จนในปี พ.ศ. 2357 - พ.ศ. 2359 เกิดสงครามอังกฤษ-เนปาล กองทัพกุรข่าพ่ายแพ้ ต้องทำสนธิสัญญาและจำกัดอาณาเขตเนปาลเหลือเท่าปัจจุบัน[1]

    ในปี พ.ศ. 2391 ชัง พหาทุระ รานา ซึ่งเป็นขุนนางในประเทศ ยึดอำนาจจากราชวงศ์ศาห์ โดยยังคงราชวงศ์ศาห์ไว้เป็นประมุขแต่ในนาม ตระกูลรานาได้รับการสนับสนุนจากสหราชอาณาจักร เนปาลได้ส่งกองทัพเข้าร่วมกับกองทัพบริเตนในหลายสงคราม ทำให้สหราชอาณาจักรทำสนธิสัญญามิตรภาพกับเนปาลในปี พ.ศ. 2466 ซึ่งในสนธิสัญญานี้ สหราชอาณาจักรได้ยอมรับเอกราชของเนปาลอย่างชัดเจน[2]

    ในปี พ.ศ. 2494 เกิดการต่อต้านการปกครองของตระกูลรานา นำโดยพรรคเนปาลีคองเกรสและกษัตริย์ตริภุวัน ทำให้โมหัน สัมเสระ ชัง พหาทุระ รานา ผู้นำคนสุดท้ายของตระกูลรานาคืนอำนาจให้แก่กษัตริย์ศาห์ และจัดการเลือกตั้ง

    หลังจากเนปาลได้มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยในช่วงสั้น ๆ โดยจัดการเลือกตั้งครั้งแรกในปี พ.ศ. 2502 แต่กษัตริย์มเหนทระได้ยุบสภา ยึดอำ นาจในปี พ.ศ. 2503 และใช้ระบอบปัญจายัตแทน จนมาถึงการปฏิรูปการปกครองในปี พ.ศ. 2533 ทำให้เปลี่ยนจากระบอบปัญจายัต ที่ห้ามมีพรรคการเมือง มาเป็นระบอบรัฐสภาแบบพหุพรรค[3]

    ในปี พ.ศ. 2539 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (ลัทธิเหมา) ได้เปิดฉากสงครามประชาชน มีเป้าหมายที่จะสถาปนาสาธารณรัฐสังคมนิยมขึ้นแทนระบอบราชาธิปไตย นำมาซึ่งสงครามกลางเมืองซึ่งกินเวลายาวนานถึงสิบปี ในปี พ.ศ. 2544 เกิดเหตุสังหารหมู่ในพระราชวัง โดยเจ้าชายทิเปนทระ มกุฎราชกุมารในสมัยนั้น และกษัตริย์ชญาเนนทระได้ขึ้นครองราชสมบัติแทน ในปี พ.ศ. 2548 กษัตริย์ชญาเนนทระได้ยึดอำนาจจากรัฐบาล นำมาซึ่งการประท้วงจากประชาชนและพรรคการเมืองในเวลาต่อมา จนต้องคืนอำนาจให้กับรัฐสภา รัฐสภาเนปาลได้จำกัดพระราชอำนาจของกษัตริย์ และให้เนปาลเป็นรัฐโลกวิสัย (secular state)

    ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 รัฐสภาเนปาลได้ผ่านกฎหมายที่จะเปลี่ยนเนปาลเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย โดยมีผลหลังการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2551[4]

    ในวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 รัฐบาลเนปาลประกาศยกเลิกระบอบกษัตริย์ สถาปนาสหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยขึ้น โดยกำหนดให้ชญาเนนทระและอดีตพระบรมวงศานุวงศ์ต้องออกจากพระราชวังภายใน 15 วัน และกำหนดให้วันที่ 28 - 30 พฤษภาคม เป็นวันหยุดราชการ[5]

    Andrea Matles Savada, ed. Nepal: A Country Study - The Enclosing of Nepal. Washington: GPO for the Library of Congress, 1991. Andrea Matles Savada, ed. Nepal: A Country Study - The Ranas. Washington: GPO for the Library of Congress, 1991. Country Profile: Nepal. 2005. Federal Research Division, Library of Congress. Vote to abolish Nepal's monarchy. BBC News. 2007-12-28. Republic Day celebrated in DC เก็บถาวร 2008-10-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Nepali Post. 2008-05-28
    Read less

Where can you sleep near ประเทศเนปาล ?

Booking.com
486.718 visits in total, 9.181 Points of interest, 404 Destinations, 28 visits today.