Rosetta Stone

( ศิลาโรเซตตา )

ศิลาโรเซตตา (อังกฤษ: Rosetta Stone) เป็นศิลาจารึกทำจากหินแกรนด์โอไดโอไรต์ บันทึกกฤษฎีกาซึ่งตราขึ้นในพระนามาภิไธยพระเจ้าทอเลมีที่ 5 ณ เมืองเมมฟิส ประเทศอียิปต์ เมื่อ 196 ปีก่อนคริสตกาล กฤษฎีกานี้เขียนด้วยอักขระสามชนิด ตอนต้นเขียนด้วยอักขระไฮเออโรกลีฟอียิปต์ ตอนกลางเขียนด้วยอักขระดีมอติกอียิปต์ และตอนท้ายเขียนด้วยอักขระกรีกโบราณ ทั้งสามตอนมีเนื้อหาอย่างเดียวกัน ศิลานี้จึงเป็นเครื่องไขความหมายของอักขระไฮเออโรกลีฟอียิปต์ และเปิดช่องให้เข้าถึงประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณ

เชื่อกันว่า ศิลานี้เดิมตั้งแสดงไว้ที่วัดอียิปต์แห่งหนึ่งซึ่งน่าจะอยู่ใกล้เมืองเซอีส ต่อมาในราวต้นคริสตกาลหรือสมัยกลาง มีการย้ายศิลาไปที่อื่น และในที่สุดมีการใช้ศิลานี้เป็นวัสดุก่อสร้างปราการจูเลียนใกล้เมืองโรเซตตาที่ดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำไนล์ ครั้น ค.ศ. 1799 ปีแยร์-ฟร็องซัว บูว์ชาร์ นายทหารชาวฝรั่งเศสในกองทัพของนโปเลียน พบศิลานี้เข้า นับเป็นจารึกสองภาษาจากสมัยอียิปต์โบราณจารึกแรกที่ค้นพบในสมัยปัจจุบัน จึงกระตุ้นความสนใจของสาธารณชนอย่างกว้างขวาง และก่อให้เกิดความพยายามถอดความหมายภาษาอียิป...อ่านต่อ

ศิลาโรเซตตา (อังกฤษ: Rosetta Stone) เป็นศิลาจารึกทำจากหินแกรนด์โอไดโอไรต์ บันทึกกฤษฎีกาซึ่งตราขึ้นในพระนามาภิไธยพระเจ้าทอเลมีที่ 5 ณ เมืองเมมฟิส ประเทศอียิปต์ เมื่อ 196 ปีก่อนคริสตกาล กฤษฎีกานี้เขียนด้วยอักขระสามชนิด ตอนต้นเขียนด้วยอักขระไฮเออโรกลีฟอียิปต์ ตอนกลางเขียนด้วยอักขระดีมอติกอียิปต์ และตอนท้ายเขียนด้วยอักขระกรีกโบราณ ทั้งสามตอนมีเนื้อหาอย่างเดียวกัน ศิลานี้จึงเป็นเครื่องไขความหมายของอักขระไฮเออโรกลีฟอียิปต์ และเปิดช่องให้เข้าถึงประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณ

เชื่อกันว่า ศิลานี้เดิมตั้งแสดงไว้ที่วัดอียิปต์แห่งหนึ่งซึ่งน่าจะอยู่ใกล้เมืองเซอีส ต่อมาในราวต้นคริสตกาลหรือสมัยกลาง มีการย้ายศิลาไปที่อื่น และในที่สุดมีการใช้ศิลานี้เป็นวัสดุก่อสร้างปราการจูเลียนใกล้เมืองโรเซตตาที่ดินดอนสามเหลี่ยมแม่น้ำไนล์ ครั้น ค.ศ. 1799 ปีแยร์-ฟร็องซัว บูว์ชาร์ นายทหารชาวฝรั่งเศสในกองทัพของนโปเลียน พบศิลานี้เข้า นับเป็นจารึกสองภาษาจากสมัยอียิปต์โบราณจารึกแรกที่ค้นพบในสมัยปัจจุบัน จึงกระตุ้นความสนใจของสาธารณชนอย่างกว้างขวาง และก่อให้เกิดความพยายามถอดความหมายภาษาอียิปต์โบราณอันเป็นภาษาที่ไม่เคยได้รับการแปลความหมายมาก่อน ฉะนั้น นักวิชาการและพิพิธภัณฑ์ในยุโรปจึงเริ่มคัดลอกเนื้อความของศิลาออกเผยแพร่ ขณะนั้น กองทัพอังกฤษเอาชัยชนะเหนือกองทัพฝรั่งเศสในประเทศอียิปต์ได้ใน ค.ศ. 1801 และเมื่อฝรั่งเศสยอมจำนนที่อะเล็กซานเดรียแล้ว อังกฤษจึงได้ศิลาไว้ในความครอบครอง และขนศิลาไปไว้ในกรุงลอนดอน แล้วจัดแสดงแก่สาธารณชน ณ พิพิธภัณฑ์บริติชตั้งแต่ ค.ศ. 1802 เรื่อยมาจนปัจจุบัน ถือเป็นวัตถุที่มีผู้เข้าเยี่ยมชมบ่อยครั้งที่สุดในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้

ส่วนการศึกษาเกี่ยวกับกฤษฎีกาบนศิลานั้นเริ่มขึ้นเมื่อมีการแปลเนื้อความภาษากรีกบนศิลาอย่างเต็มรูปแบบใน ค.ศ. 1803 จนราวยี่สิบปีให้หลัง คือ ใน ค.ศ. 1822 ฌ็อง-ฟร็องซัว ช็องปอลียง นักวิชาการชาวฝรั่งเศส จึงแถลงในกรุงปารีสว่า สามารถอ่านอักขระอียิปต์ได้เป็นผลสำเร็จ อย่างไรก็ดี นับแต่ค้นพบศิลาหลักนี้เป็นต้นมา ตัวศิลานั้นตกเป็นข้ออ้างในความขัดแย้งทางชาตินิยมหลายต่อหลายครั้ง และนับแต่ ค.ศ. 2003 สืบมา มีการเรียกร้องอยู่เสมอว่า ให้คืนศิลากลับสู่อียิปต์

อนึ่ง ภายหลังยังมีการค้นพบกฤษฎีกาสองฉบับ ซึ่งเป็นฉบับคัดลอกของกฤษฎีกาข้างต้น แต่มีเนื้อความไม่เต็ม ทั้งมีการค้นพบจารึกอียิปต์ที่มีเนื้อหาสองหรือสามภาษา เป็นต้นว่า กฤษฎีกาทอเลมี ที่บางฉบับมีอายุเก่ากว่าศิลาโรเซตตาเล็กน้อย เช่น กฤษฎีกาคาโนปัส (238 ปีก่อนคริสตกาล) และกฤษฎีกาเมมฟิส (ราว 218 ปีก่อนคริสตกาล) ศิลาโรเซตตาจึงไม่เป็นของพิเศษอีก แต่ก็ถือเป็นกุญแจสำคัญอันนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจที่ยุคปัจจุบันมีเกี่ยวกับวรรณกรรมและอารยธรรมอียิปต์

แสดงความเห็น

Esta pregunta es para comprobar si usted es un visitante humano y prevenir envíos de spam automatizado.

Security
573628941Click/tap this sequence: 3612

Google street view

Where can you sleep near ศิลาโรเซตตา ?

Booking.com
490.018 visits in total, 9.198 Points of interest, 404 Destinations, 67 visits today.