Context of ประเทศฟินแลนด์

ฟินแลนด์ (ฟินแลนด์: Suomi [suo̯mi] ( ฟังเสียง) ซูโวมี; สวีเดน: Finland [ˈfɪnland] ( ฟังเสียง) ฟินลันด์) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐฟินแลนด์ (ฟินแลนด์: Suomen tasavalta; สวีเดน: Republiken Finland) เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป เขตแดนด้านตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลบอลติก ทางด้านใต้จรดอ่าวฟินแลนด์ ทางตะวันตกจรดอ่าวบอทเนีย ประเทศฟินแลนด์มีชายแดนติดกับประเทศสวีเดน นอร์เวย์ และรัสเซีย สำหรับหมู่เกาะโอลันด์ที่อยู่ห่างจากชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้นั้น อยู่ภายใต้การปกครองของฟินแลนด์ แต่เป็นเขตปกครองตนเอง เคยถูกรัสเซียยึดครองและเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของรัสเซีย เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุด คือ เฮลซิงกิ เมืองสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ เอสโป วันตา ตัมเปเร โอวลุ และตุรกุ...อ่านต่อ

ฟินแลนด์ (ฟินแลนด์: Suomi [suo̯mi] ( ฟังเสียง) ซูโวมี; สวีเดน: Finland [ˈfɪnland] ( ฟังเสียง) ฟินลันด์) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐฟินแลนด์ (ฟินแลนด์: Suomen tasavalta; สวีเดน: Republiken Finland) เป็นประเทศในกลุ่มนอร์ดิก ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป เขตแดนด้านตะวันตกเฉียงใต้จรดทะเลบอลติก ทางด้านใต้จรดอ่าวฟินแลนด์ ทางตะวันตกจรดอ่าวบอทเนีย ประเทศฟินแลนด์มีชายแดนติดกับประเทศสวีเดน นอร์เวย์ และรัสเซีย สำหรับหมู่เกาะโอลันด์ที่อยู่ห่างจากชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้นั้น อยู่ภายใต้การปกครองของฟินแลนด์ แต่เป็นเขตปกครองตนเอง เคยถูกรัสเซียยึดครองและเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของรัสเซีย เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุด คือ เฮลซิงกิ เมืองสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ เอสโป วันตา ตัมเปเร โอวลุ และตุรกุ

ฟินแลนด์มีประชากร 5.52 ล้านคน (ข้อมูล ณ กลางปี พ.ศ. 2562) ประชากรส่วนมากอาศัยอยู่ในตอนกลางและตอนใต้ของประเทศ และพูดภาษาฟินแลนด์ ซึ่งเป็นกลุ่มภาษาฟินนิกจากตระกูลภาษายูรัล และไม่มีความสัมพันธ์กับภาษาสแกนดิเนเวียแต่อย่างใด ประเทศฟินแลนด์เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดอันดับที่ 8 ของทวีปยุโรป และเป็นประเทศที่มีประชากรเบาบางที่สุดในสหภาพยุโรป ประเทศฟินแลนด์เป็นสาธารณรัฐในระบบรัฐสภาที่ประกอบด้วย 311 เทศบาล และ 1 เขตปกครองตนเอง คือ หมู่เกาะโอลันด์ มีประชากรมากกว่า 1.4 ล้านคนอาศัยอยู่ในปริมณฑลเกรเทอร์เฮลซิงกิ และคิดเป็น 1 ใน 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ

ประเทศฟินแลนด์มีดัชนีการพัฒนามนุษย์ตามสถิติของสหประชาชาติ พ.ศ. 2549 อยู่ในลำดับที่ 11 ฟินแลนด์เคยเป็นส่วนหนึ่งของสวีเดนหลายศตวรรษ หลังจากนั้นก็อยู่ภายใต้จักรวรรดิรัสเซียจนถึงปี พ.ศ. 2460 ปัจจุบันฟินแลนด์เป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย

ภาษาฟินแลนด์เป็นหนึ่งในภาษาทางการไม่กี่ภาษาของสหภาพยุโรป ที่ไม่ได้มีต้นกำเนิดเป็นกลุ่มภาษาอินโด-ยูโรเปียน ร่วมกับภาษาเอสโตเนีย ภาษาฮังการี และภาษามอลตา

ตั้งแต่ประมาณ 2,700 ปีก่อนพุทธกาล ดินแดนฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากทางใต้ของอ่าวฟินแลนด์ โดยเข้ามาทางตะวันตกเฉียงใต้ของฟินแลนด์ มีหลักฐานของเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะเฉพาะ ต่อมาในยุคสำริด พื้นที่ทางชายฝั่งของฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลจากสแกนดิเนเวียและยุโรปกลาง ในขณะที่พื้นที่ที่อยู่ห่างจากทะเลเข้าไป ได้รับอิทธิพลการใช้สำริดมาจากทางตะวันออกมากกว่า ในพุทธศตวรรษที่ 5 พบว่ามีการค้าขายแลกเปลี่ยนกับสแกนดิเนเวียมากขึ้น และการค้นพบวัตถุแบบโรมันจากยุคนี้ด้วย ปรากฏการกล่าวถึงชาวฟินแลนด์ในเอกสารของชาวโรมันในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 7

ในอดีตฟินแลนด์เป็นเพียงประเทศเกษตรกรรมจนถึง พ.ศ. 2493 ภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ฟินแลนด์ได้พัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วโดยการสร้างรัฐสวัสดิการที่มีคุณภาพตามตัวแบบนอร์ดิก ส่งผลให้ความเจริญได้กระจายไปทั่วประเทศและกลายเป็นประเทศที่มีความมั่งคั่งสูงจนถึงปัจจุบัน ฟินแลนด์เข้าร่วมเป็นสมาชิกสหประชาชาติใน พ.ศ. 2538 ด้วยเจตนารมณ์ในการวางตัวเป็นกลางทางการเมือง และยังเข้าร่วมองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ, กลุ่มประเทศความร่วมมือเพื่อสันติภาพของเนโท (Partnership for Peace), สหภาพยุโรป, และสภาความร่วมมือยูโร ฟินแลนด์ยังมีจุดเด่นในเรื่องระบบการศึกษาที่มีคุณภาพ มีความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจในระดับสูง และได้รับการยอมรับในแง่คุณภาพชีวิตประชากร โดยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ให้สิทธิและเสรีภาพแก่ประชากรในระดับสูง ใน พ.ศ. 2558 ฟินแลนด์ได้รับการจัดอันดับอยู่ในอันดับหนึ่งในด้านดัชนีทุนมนุษย์ (Human Capital Index) และเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพมากที่สุดในโลกระหว่าง พ.ศ. 2554-59 จากการวัดตามค่าดัชนี Fragile States Index และยังได้รับการจัดอันดับว่าเป็นประเทศที่ประชากรมีความสุขที่สุดในโลก

More about ประเทศฟินแลนด์

Basic information
  • Currency ยูโร
  • Native name Suomi
  • Calling code +358
  • Internet domain .fi
  • Mains voltage 230V/50Hz
  • Democracy index 9.2
Population, Area & Driving side
  • Population 5563970
  • Area 305396
  • Driving side right
ประวัติ
  • ภายใต้การปกครองของสวีเดน

    เชื่อกันว่าจุดเริ่มต้นของความเกี่ยวพันระหว่างสวีเดนกับฟินแลนด์เริ่มต้นในปี พ.ศ. 1698[1] ในสงครามเผยแผ่คริสต์ศาสนา ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 เริ่มมีการตั้งเมืองขึ้นในทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศที่โอบู (Åbo) หรือตุรกุ(Turku) โดยตุรกุเป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดของราชอาณาจักรสวีเดนในยุคนั้น ในช่วงศตวรรษนี้ มีชาวสวีเดนจำนวนมากที่เข้ามาตั้งรกรากบริเวณชายฝั่งทางใต้และตะวันตกเฉียงเหนือ บนหมู่เกาะโอลันด์ และหมู่เกาะอื่น ๆ ใกล้เคียง ซึ่งทำให้ภาษาสวีเดนยังคงเป็นภาษาหลักของภูมิภาคนี้มาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ภาษาสวีเดนได้กลายมาเป็นภาษาของชนชั้นสูงในภาคอื่น ๆ ของฟินแลนด์ในยุคนั้นด้วย

    พ.ศ. 2093 กษัตริย์ของสวีเดน สมเด็จพระราชาธิบดีกุสตาฟที่ 1 ได้ทรงก่อตั้งเมืองเฮลซิงกิขึ้นในชื่อ "เฮลซิงฟอร์ส" (Helsingfors)[2] แต่เมืองนี้คงสภาพเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมงกว่าสองร้อยปี ชื่อเฮลซิงฟอร์สยังคงเป็นชื่อเมืองเฮลซิงกิในภาษาสวีเดนในปัจจุบัน

    ดินแดนฟินแลนด์ถูกยึดครองโดยรัสเซียสองครั้งในพุทธศตวรรษที่ 23

    ...อ่านต่อ
    ภายใต้การปกครองของสวีเดน

    เชื่อกันว่าจุดเริ่มต้นของความเกี่ยวพันระหว่างสวีเดนกับฟินแลนด์เริ่มต้นในปี พ.ศ. 1698[1] ในสงครามเผยแผ่คริสต์ศาสนา ปลายพุทธศตวรรษที่ 18 เริ่มมีการตั้งเมืองขึ้นในทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศที่โอบู (Åbo) หรือตุรกุ(Turku) โดยตุรกุเป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดของราชอาณาจักรสวีเดนในยุคนั้น ในช่วงศตวรรษนี้ มีชาวสวีเดนจำนวนมากที่เข้ามาตั้งรกรากบริเวณชายฝั่งทางใต้และตะวันตกเฉียงเหนือ บนหมู่เกาะโอลันด์ และหมู่เกาะอื่น ๆ ใกล้เคียง ซึ่งทำให้ภาษาสวีเดนยังคงเป็นภาษาหลักของภูมิภาคนี้มาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ภาษาสวีเดนได้กลายมาเป็นภาษาของชนชั้นสูงในภาคอื่น ๆ ของฟินแลนด์ในยุคนั้นด้วย

    พ.ศ. 2093 กษัตริย์ของสวีเดน สมเด็จพระราชาธิบดีกุสตาฟที่ 1 ได้ทรงก่อตั้งเมืองเฮลซิงกิขึ้นในชื่อ "เฮลซิงฟอร์ส" (Helsingfors)[2] แต่เมืองนี้คงสภาพเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมงกว่าสองร้อยปี ชื่อเฮลซิงฟอร์สยังคงเป็นชื่อเมืองเฮลซิงกิในภาษาสวีเดนในปัจจุบัน

    ดินแดนฟินแลนด์ถูกยึดครองโดยรัสเซียสองครั้งในพุทธศตวรรษที่ 23

     การประชุมรัฐสภาครั้งแรก พ.ศ. 2449ราชรัฐฟินแลนด์ภายใต้จักรวรรดิรัสเซีย

    พ.ศ. 2352 ในช่วงสงครามระหว่างสวีเดนและรัสเซีย กองทัพของจักรพรรดิอเล็กซานเดอร์ที่ 1 ก็สามารถยึดดินแดนฟินแลนด์ได้อีกครั้ง ฟินแลนด์ดำรงสถานะเป็นดินแดนปกครองตนเอง ราชรัฐฟินแลนด์ ภายใต้จักรวรรดิรัสเซีย จนกระทั่งถึงการประกาศเอกราชในปี พ.ศ. 2460 ในยุคของราชรัฐฟินแลนด์ ภาษาฟินแลนด์ได้รับความสำคัญมากขึ้นในฟินแลนด์ อันเป็นผลมาจากความเคลื่อนไหวของขบวนการชาตินิยม จนกระทั่งได้รับสถานะเดียวกับภาษาสวีเดนใน พ.ศ. 2435[3] ต่อมาในปี พ.ศ. 2449 ฟินแลนด์เริ่มมีการให้สิทธิเลือกตั้งอย่างเท่าเทียม (ผู้ใหญ่ทุกคนมีสิทธิกันเท่าเทียมกันโดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ เพศ หรือสถานะทางสังคม) โดยฟินแลนด์เป็นชาติแรกในโลก ที่ให้สิทธิทั้งการเลือกตั้งและการลงเลือกตั้งแก่สตรี[4]

     ทหารเด็กวัยสิบสามปี ของฝ่ายขาวใน สงครามกลางเมืองหลังการประกาศเอกราช

    หลังจากการปฏิวัติบอลเชวิกในรัสเซียประสบความสำเร็จ รัฐสภาของฟินแลนด์ลงมติเห็นชอบในเรื่องการประกาศเอกราชของฟินแลนด์ ในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2460 และรัฐบาลบอลเชวิกรัสเซีย ยอมรับการประกาศเอกราชในเกือบหนึ่งเดือนถัดมา ซึ่งเยอรมนีและชาติสแกนดิเนเวียอื่น ๆ ก็ยอมรับการประกาศเอกราชตามมาในทันที หลังจากการประกาศเอกราช ฟินแลนด์ก็ตกอยู่ในสภาวะสงครามกลางเมือง โดยเกิดการต่อสู้ระหว่างฝ่าย"ขาว" ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจักรวรรดิเยอรมนี และฝ่าย"แดง" ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัสเซียบอลเชวิก ฝ่ายขาวนั้นประกอบไปด้วยกลุ่มคนที่มีฐานะค่อนข้างดี มีความเห็นทางการเมืองค่อนไปทางขวา ในขณะที่ฝ่ายแดงส่วนใหญ่ ซึ่งค่อนข้างจะเป็นฝ่ายซ้ายจะเป็นกลุ่มแรงงาน ฝ่ายขาวชนะสงครามนี้ในเวลาต่อมา ก่อตั้งสาธารณรัฐฟินแลนด์เป็นผลสำเร็จ

    หลังจากสงครามกลางเมืองสิ้นสุดลง รัฐสภาของฟินแลนด์ ซึ่งไม่มีสมาชิกของพรรคสังคมประชาธิปไตยซึ่งสนับสนุนสาธารณรัฐอยู่เลย ได้ประกาศตั้งราชอาณาจักรฟินแลนด์ขึ้น โดยเลือกเจ้าชายฟรีดริช คาร์ล แห่งเฮ็สเซินของเยอรมนี ขึ้นเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของฟินแลนด์ แต่เมื่อเยอรมนีแพ้สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ความคิดนี้จึงต้องยกเลิกไป และฟินแลนด์ก็ประกาศเป็นสาธารณรัฐ โดยมีคาร์โล ยุโฮ สโตห์ลเบิร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก[5]

     คาร์ล กุสตาฟ เอมิล มันเนอร์เฮมสงครามโลกครั้งที่สอง

    ฟินแลนด์ต่อสู้กับสหภาพโซเวียตสองครั้งในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ในสงครามฤดูหนาว ระหว่างปี พ.ศ. 2482-2483 และสงครามต่อเนื่อง ในปี พ.ศ. 2484-2487 โดยร่วมมือกับนาซีเยอรมนี (อาณาจักรไรช์ที่สาม) ในปฏิบัติการบาร์บารอสซา ทำให้สหราชอาณาจักรประกาศสงครามกับฟินแลนด์ และฟินแลนด์มีสถานะเป็นประเทศฝ่ายอักษะในสงครามโลกครั้งที่สอง อย่างไรก็ตาม ฟินแลนด์เปลี่ยนฝ่ายในปี พ.ศ. 2487 เมื่อต่อสู้ขับไล่นาซีเยอรมนีออกจากตอนเหนือของฟินแลนด์ในสงครามแลปแลนด์ หลังจากที่เซ็นสัญญาสงบศึกกับโซเวียต ชาวฟินแลนด์ประมาณ 86,000 คนเสียชีวิตในสงครามสองครั้งกับสหภาพโซเวียต ในขณะที่อีกห้าหมื่นคนได้รับบาดเจ็บและทุพพลภาพถาวร[6]

    ยุคหลังสงคราม

    จากสนธิสัญญาสันติภาพหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ฟินแลนด์ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนมหาศาลให้กับสหภาพโซเวียต รวมถึงเสียดินแดนถึงร้อยละ 12 ของดินแดนทั้งหมด ทำให้ต้องหาที่อยู่ใหม่ให้กับชาวฟินแลนด์ถึง 420,000 คน[6] อย่างไรก็ตาม ฟินแลนด์ไม่เคยถูกครอบครองเลยในช่วงสงคราม โดยเฮลซิงกิเป็นหนึ่งในสามเมืองหลวงของประเทศยุโรปที่เข้าร่วมสงครามที่ไม่ถูกยึดครองโดยฝ่ายศัตรู[6] (อีกสองเมืองคือลอนดอนและมอสโก)

    ในยุคสงครามเย็น ฟินแลนด์ได้รับอิทธิพลจากโซเวียตอย่างมาก ฟินแลนด์จ่ายค่าปฏิกรรมสงครามงวดสุดท้ายเมื่อ พ.ศ. 2495 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่เฮลซิงกิเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก ซึ่งช่วยฟื้นฟูกำลังใจของชาวฟินแลนด์หลังสงคราม[5] ปีเดียวกันนี้ ฟินแลนด์และประเทศในคณะมนตรีนอร์ดิกเข้าร่วมเปิดเสรีหนังสือเดินทางในปี โดยอนุญาตให้ประชาชนของชาติสมาชิกข้ามพรมแดนโดยไม่ต้องมีหนังสือเดินทาง (ขณะนั้นฟินแลนด์ยังไม่ได้เข้าร่วมคณะมนตรี) โดยฟินแลนด์เข้าร่วมคณะมนตรีนอร์ดิกในปี พ.ศ. 2498

    แม้ว่าฟินแลนด์จะได้อิทธิพลจากโซเวียตเป็นอย่างมาก แต่ก็ยังคงรักษาประชาธิปไตยและเศรษฐกิจระบบตลาดเสรีไว้ได้ ซึ่งต่างจากประเทศส่วนใหญ่ที่อยู่ติดกับสหภาพโซเวียต ความเสียหายจากสงคราม การที่ต้องฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสงครามและผลิตสินค้าเพื่อจ่ายหนี้ให้กับสหภาพโซเวียต ทำให้ฟินแลนด์พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศจากกสิกรรมมาเป็นอุตสาหกรรม รวมถึงสร้างระบบสวัสดิการสังคมที่ดีได้ในเวลาไม่กี่สิบปี

    หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายลง ฟินแลนด์ก็ประสบปัญหาทางเศรษฐกิจจากการที่การค้าทวิภาคีจำนวนมหาศาลหายไปอย่างรวดเร็ว ฟินแลนด์ยื่นใบสมัครเข้าร่วมสหภาพยุโรปในปี พ.ศ. 2535 หลังจากที่สวีเดนยื่นไปก่อนหน้านั้นและโซเวียตล่มสลายลง ฟินแลนด์เข้าร่วมสหภาพพร้อมกับสวีเดนและออสเตรียในปี พ.ศ. 2538

    "Finland at a glance". Virtual Finland (ภาษาอังกฤษ). กระทรวงการต่างประเทศ ฟินแลนด์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-24. สืบค้นเมื่อ 2007-03-31. "Helsinki - History". Encyclopædia Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2007-03-31. "Finnish (suomi)". Omniglot.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2007-03-31. "Finland's trailblazing path for women" (ภาษาอังกฤษ). บีบีซีนิวส์. 2006-06-01. สืบค้นเมื่อ 2007-03-31. ↑ 5.0 5.1 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ concise ↑ 6.0 6.1 6.2 Zetterberg, Seppo; Malcolm Hicks (1991). Finland After 1917 (ภาษาอังกฤษ). Helsinki: Otava. ISBN 951-1-11724-6.
    Read less

Phrasebook

สวัสดี
Hei
โลก
Maailman
สวัสดีชาวโลก
Hei maailma
ขอขอบคุณ
Kiitos
ลาก่อน
Hyvästi
ใช่
Joo
ไม่
Ei
คุณเป็นอย่างไรบ้าง
Mitä kuuluu?
สบายดีขอบคุณ
Hyvin kiitos
ราคาเท่าไหร่?
Paljonko se on?
ศูนย์
Nolla
หนึ่ง
Yksi

Where can you sleep near ประเทศฟินแลนด์ ?

Booking.com
489.291 visits in total, 9.196 Points of interest, 404 Destinations, 118 visits today.