Deutschland

ประเทศเยอรมนี
Heribert Pohl --- Thanks for half a million clicks! from Germering bei München, Bayern - CC BY-SA 2.0 Stevepe81 - CC BY-SA 4.0 Xocolatl (talk) 22:07, 23 July 2016 (UTC) - CC BY-SA 4.0 Magnus Manske - CC BY-SA 3.0 Sarahmirk - CC BY-SA 4.0 Dl.mooz - Public domain Tgel79 - CC BY-SA 4.0 Neil Mercer - CC BY-SA 4.0 Aleksandr Zykov from Russia - CC BY-SA 2.0 Jerzy Strzelecki - CC BY-SA 3.0 Thomas Wolf, www.foto-tw.de - CC BY-SA 3.0 de Christian Stamm - CC BY-SA 3.0 M.Dirgėla - CC BY-SA 3.0 Rainer Lippert - CC BY-SA 3.0 Sowiso - CC BY-SA 3.0 mlaiacker - CC BY-SA 3.0 Allan Green - Public domain Jerzy Strzelecki - CC BY-SA 3.0 Ustill - CC BY-SA 3.0 de M.Dirgėla - CC BY-SA 3.0 threedots (Daniel Ullrich) - CC BY-SA 2.0 BeneFoto - CC BY-SA 4.0 Genadij Etus - CC BY-SA 4.0 Magnus Manske - CC BY-SA 3.0 Christian Wolf (www.c-w-design.de) - CC BY-SA 3.0 de Jerzy Strzelecki - CC BY-SA 3.0 Ansgar Koreng - CC BY 3.0 de Pardin - CC BY-SA 3.0 Rainer Lippert - CC BY-SA 3.0 Jerzy Strzelecki - CC BY-SA 3.0 Inoue-hiro - CC BY-SA 3.0 Eric Pancer (Flickr user: vxla) - CC BY 3.0 Heribert Pohl --- Thanks for half a million clicks! from Germering bei München, Bayern - CC BY-SA 2.0 Holger.Ellgaard - CC BY 3.0 Pedelecs - CC BY-SA 3.0 Rolf Kranz - CC BY-SA 4.0 Heribert Pohl --- Thanks for half a million clicks! from Germering bei München, Bayern - CC BY-SA 2.0 Jack and Jason's Pancakes - CC BY-SA 4.0 M.Dirgėla - CC BY-SA 3.0 Jean-Pierre Dalbéra from Paris, France - CC BY 2.0 Roman Eisele - CC BY-SA 4.0 ANKAWÜ - CC0 Holger Weinandt - CC BY-SA 3.0 Je-str - CC BY-SA 3.0 Julian Herzog (Website) - CC BY 4.0 Aleksandr Zykov from Russia - CC BY-SA 2.0 A.Landgraf - CC BY-SA 4.0 Eric Pancer (Flickr user: vxla) - CC BY 3.0 Konrad Lackerbeck - CC BY-SA 2.5 en:User:Ekem - Public domain Christian Barth - CC BY-SA 3.0 No images

Context of ประเทศเยอรมนี

เยอรมนี (อังกฤษ: Germany; เยอรมัน: Deutschland, ออกเสียง: [ˈdɔʏtʃlant] ( ฟังเสียง)) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในภูมิภาคยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 83 ล้านคน ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป และมากที่สุดเป็นอันดับสองในทวีปยุโรปรองจากรัสเซีย มีเมืองหลวงและมหานครที่ใหญ่ที่สุดคือกรุงเบอร์ลิน และยังเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศ มีศูนย์กลางทางเศรษฐกิจอยู่ที่แฟรงก์เฟิร์ต และภูมิภาคที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ รัวร์ เยอรมนีมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ มีพรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์

ชนเผ่าดั้งเดิมหลายเผ่ารวมถึงกลุ่มช...อ่านต่อ

เยอรมนี (อังกฤษ: Germany; เยอรมัน: Deutschland, ออกเสียง: [ˈdɔʏtʃlant] ( ฟังเสียง)) หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐแบบรัฐสภาในภูมิภาคยุโรปกลาง มีรัฐองค์ประกอบ 16 รัฐ มีพื้นที่ 357,021 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 83 ล้านคน ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในสหภาพยุโรป และมากที่สุดเป็นอันดับสองในทวีปยุโรปรองจากรัสเซีย มีเมืองหลวงและมหานครที่ใหญ่ที่สุดคือกรุงเบอร์ลิน และยังเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศ มีศูนย์กลางทางเศรษฐกิจอยู่ที่แฟรงก์เฟิร์ต และภูมิภาคที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือ รัวร์ เยอรมนีมีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยเชิงเสรีภาพและรัฐสวัสดิการ มีพรมแดนทางทิศเหนือติดทะเลเหนือ เดนมาร์ก และทะเลบอลติก ทิศตะวันออกติดโปแลนด์และเช็กเกีย ทิศใต้ติดออสเตรีย และสวิตเซอร์แลนด์ ทิศตะวันตกติดฝรั่งเศส ลักเซมเบิร์ก เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์

ชนเผ่าดั้งเดิมหลายเผ่ารวมถึงกลุ่มชนเจอร์แมนิกเข้ามาตั้งรกรากทางตอนเหนือของเยอรมนีตั้งแต่สมัยคลาสสิก ภูมิภาคที่ชื่อเจอร์มาเนียได้รับการค้นพบก่อน ค.ศ. 100 และในศตวรรษที่ 10 ดินแดนของเยอรมนีกลายเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในช่วงศตวรรษที่ 16 ภูมิภาคทางเหนือกลายเป็นศูนย์กลางของการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ หลังจากสงครามนโปเลียนและการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ใน ค.ศ. 1806 สมาพันธรัฐเยอรมันได้ถูกก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1815 ต่อมาใน ค.ศ. 1871 การรวมชาติก่อให้เกิดจักรวรรดิเยอรมันซึ่งปกครองโดยปรัสเซีย และภายหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและการปฏิวัติเยอรมันใน ค.ศ. 1918 จักรวรรดิได้กลายสภาพเป็นสาธารณรัฐไวมาร์และปกครองแบบกึ่งประธานาธิบดี

การเถลิงอำนาจของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ นำไปสู่การก่อตั้งนาซีเยอรมนีซึ่งเป็นชนวนไปสู่สงครามโลกครั้งที่สอง และพันธุฆาตในเหตุการณ์ฮอโลคอสต์ หลังสงครามสิ้นสุด เยอรมนีตกอยู่ภายใต้การยึดครองของฝ่ายสัมพันธมิตร ก่อนจะถูกแบ่งแยกเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (เยอรมนีตะวันตก) และสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (เยอรมนีตะวันออก) สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรปและสหภาพยุโรป ในขณะที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนีเป็นรัฐคอมมิวนิสต์กลุ่มตะวันออกและเป็นสมาชิกของกติกาสัญญาวอร์ซอ การปฏิวัติเงียบสงบนำไปสู่การล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ การรวมประเทศทำให้อดีตรัฐเยอรมนีตะวันออกเข้าร่วมสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1990 และได้กลายสภาพเป็นสาธารณรัฐที่มีรัฐบาลกลางซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารโดยนายกรัฐมนตรี

เยอรมนีเป็นประเทศพัฒนาแล้วและถือเป็นมหาอำนาจ และเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป, ยูโรโซน, สหประชาชาติ, องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ, สภายุโรป, เนโท, กลุ่ม 7 และกลุ่ม 20 เยอรมนีมีความสามารถในการแข่งขันระดับโลก เป็นหนึ่งในผู้นำทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจสูง โดยหากวัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ เยอรมนีมีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปและใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลก และเป็นประเทศที่มีการนำเข้าและส่งออกมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รวมทั้งมีดัชนีการพัฒนามนุษย์ในระดับสูง และยังมีแหล่งมรดกโลกมากที่สุดเป็นอันดับสามของโลก รวมทั้งมีสวัสดิการสังคมที่มีคุณภาพ ระบบสาธารณสุขที่ครบวงจร กฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด และระบบการศึกษาโดยไม่เสียค่าเล่าเรียน

More about ประเทศเยอรมนี

Basic information
  • Currency ยูโร
  • Native name Deutschland
  • Calling code +49
  • Internet domain .de
  • Speed limit 0
  • Mains voltage 230V/50Hz
  • Democracy index 8.68
Population, Area & Driving side
  • Population 83149300
  • Area 357587
  • Driving side right
ประวัติ
  • ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์เยอรมนี

    การค้นพบโครงกระดูกฟันกรามเมาเออร์ 1 (Mauer 1) ได้ชี้ให้เห็นว่า มนุษย์มีการตั้งรกรากในบริเวณที่เป็นประเทศเยอรมนีในปัจจุบันมาตั้งแต่ 600,000 ปีที่แล้ว[1] เครื่องไม้เครื่องมือในการล่าสัตว์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลกถูกค้นพบในเหมืองถ่านหินบริเวณเมืองเชินนิงเงิน ซึ่งได้ค้นพบทวนไม้โบราณสามเล่มที่ฝังอยู่ใต้ผืนดินมาเป็นเวลากว่า 380,000 ปี[2] นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบฟอสซิลมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ "นีแอนเดอร์ทาล" เป็นครั้งแรกของโลก ซึ่งคาดว่ามีอายุกว่า 40,000 ปี นอกจากนี้ยังมีการค้นพบหลักฐานของมนุษย์ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันในถ้ำของเทือกเขาแอลป์ชวาเบินใกล้กับเมืองอุล์ม และยังมีการค้นพบเครื่องเป่าที่ทำจากงาช้างแมมมอธและกระดูกของนกอายุกว่า 42,000 ปี ถือเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่มีการค้นพบ[3] นอกจากนี้ ยังมีการค้นพบรูปสลัก "ไลออนแมน" ที่ตัวเป็นคนหัวเป็นสิงโตจากยุคน้ำแข็งเมื่อ 40,000 ปีก่อน ถือเป็นงานศิลปะอุปมาเลียนแบบกายมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดที่เคยมีการค้นพบ[4]

    กลุ่มชนเจอร์แมนิกและอาณาจักรแฟรงก์ (ยุคสัมฤทธิ์–ค.ศ. 843)
    ดูบทความหลักที่: กลุ่มชนเจอร์แมนิก และ สมัยการย้ายถิ่น

    คาดการณ์ว่ากลุ่มชนเจอร์แมนิกตั้งแต่ยุคสัมฤทธิ์ไปจนถึงยุคเหล็กก่อนการก่อตั้งกรุงโรมนั้น เดิมอยู่อาศัยบริเวณทางใต้ของสแกนดิเนเวียไปจนถึงตอนเหนือของเยอรมนี พวกเขาขยายอาณาเขตไปทางใต้ ตะวันตกและตะวันออก จนได้รู้จักและติดต่อกับชาวเคลต์ในดินแดนกอล รวมไปถึงกลุ่มชนอิหร่าน, ชาวบอลติก, ชาวสลาฟ ซึ่งอาศัยอยู่ในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก[5] ต่อมา กรุงโรมภายใต้จักรพรรดิเอากุสตุส เริ่มการรุกรานดินแดนที่เป็นประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน และแผ่ขยายดินแดนครอบคลุมทั่วลุ่มแม่น้ำไรน์และเทือกเขายูรัล ใน ค.ศ. 9 กองทหารโรมันสามกองนำโดยวาริอุสได้พ่ายแพ้ให้กับอาร์มินีอุสแห่งชนเผ่าเครุสค์ ต่อมาใน ค.ศ. 100 ในช่วงที่ตากิตุสเขียนหนังสือ Germania กลุ่มชนเผ่าเยอรมันก็ต่างได้ตั้งถิ่นฐานตลอดแม่น้ำไรน์และแม่น้ำดานูบ และเข้าครอบครองดินแดนเกือบทั้งหมดในส่วนที่เป็นประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน

    ในศตวรรษที่ 3 ได้มีการเกิดขึ้นของเผ่าเยอรมันขนาดใหญ่หลายเผ่าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นชนอลามันน์ (Alemanni), ชาวแฟรงก์ (Franks), ชาวชัตต์ (Chatti), ชาวแซกซอน (Saxons), ชาวซีกัม (Sicambri), และชาวเทือริง (Thuringii) ราว ค.ศ. 260 พวกชนเผ่าเยอรมันเหล่านี้ก็รุกเข้าไปในดินแดนในความควบคุมของโรมัน[6] ภายหลังการรุกรานของชาวฮันใน ค.ศ. 375 และการเสื่อมอำนาจของโรมันตั้งแต่ ค.ศ. 395 เป็นต้นไป พวกชนเผ่าเยอรมันก็ยิ่งรุกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ ชนเผ่าเยอรมันขนาดใหญ่เหล่านี้เข้าครอบงำชนเผ่าเยอรมันขนาดเล็กต่าง ๆ เกิดเป็นดินแดนของชนเผ่าเยอรมันในบริเวณที่เป็นประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน

    อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (ค.ศ. 843–1815)
     
    อาณาจักรแฟรงก์และการขยายดินแดน และถูกแบ่งออกเป็นสามอาณาจักรในปี 843
    ดูบทความหลักที่: อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก และ จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

    ใน ค.ศ. 800 ชาร์เลอมาญ กษัตริย์แห่งชาวแฟรงก์ ได้ปราบดาภิเษกตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งชาวโรมัน และสถาปนาจักรวรรดิการอแล็งเฌียง ต่อมาใน ค.ศ. 840 ได้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นจากการแย่งชิงบัลลังก์ในหมู่พระโอรสของจักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธา[7] สงครามกลางเมืองครั้งนี้จบลงในปี 843 โดยการแบ่งจักรวรรดิการอแล็งเฌียงออกเป็นสามอาณาจักรอันได้แก่:

    อาณาจักรแฟรงก์กลาง – บริเวณเนเธอร์แลนด์ เบลเยียม ลักเซมเบิร์ก ตะวันออกของฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และภาคเหนือของอิตาลี อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก – บริเวณเยอรมนี ออสเตรีย เช็กเกีย สโลวาเกีย ฮังการี สโลวีเนีย โครเอเชีย และบางส่วนของบอสเนีย อาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก – บริเวณตอนกลางและตะวันตกของฝรั่งเศส

    อาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกแผ่ขยายดินแดนอย่างมากมายครอบคลุมถึงอิตาลีในรัชสมัยพระเจ้าออทโทที่ 1 ในค.ศ. 962 พระองค์ก็ปราบดาตนขึ้นเป็นจักรพรรดิแห่งชาวโรมันตามแบบอย่างชาร์เลอมาญ และสถาปนาราชวงศ์ออทโท ถือเป็นจุดเริ่มต้นอย่างเป็นทางการของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งในศตวรรษที่ 18 จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ภายใต้ราชวงศ์ฮาพส์บวร์คมีดินแดนในอาณัติกว่า 1,800 แห่งทั่วยุโรป

     
    อาณาเขตของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
    การผงาดของปรัสเซีย
    ดูบทความหลักที่: ปรัสเซีย

    เดิมที ราชอาณาจักรปรัสเซียเป็นดินแดนหนึ่งในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และยอมรับนับถือจักรพรรดิในกรุงเวียนนาเป็นเจ้าเหนือหัว อย่างไรก็ตาม ปรัสเซียเริ่มแตกหักกับราชวงศ์ฮาพส์บวร์คเมื่อจักรพรรดิคาร์ลที่ 6 เสด็จสวรรคตในปี 1740 ทายาทของจักรพรรดิคาร์ลมีเพียงพระราชธิดาเท่านั้น พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย ทรงคัดค้านการให้สตรีครองบัลลังก์จักรวรรดิมาตลอด พระเจ้าฟรีดริชที่ 2 ทรงเปิดฉากรุกรานดินแดนไซลีเซียของราชวงศ์ฮาพส์บวร์ค เกิดเป็นสงครามไซลีเซียครั้งที่หนึ่ง และบานปลายเป็นสงครามสืบราชบัลลังก์ออสเตรียที่มีอังกฤษและสเปนเข้ามาร่วมอยู่ฝ่ายเดียวกับปรัสเซีย สงครามครั้งนี้จบลงด้วยความเสียเปรียบของฮาพส์บวร์ค ราชสำนักกรุงเวียนนาต้องสูญเสียดินแดนจำนวนมากแก่ปรัสเซียและพันธมิตร ราชสำนักกรุงเบอร์ลินแห่งปรัสเซียได้ผงาดบารมีขึ้นมาเป็นขั้วอำนาจใหม่ในจักรวรรดิเทียบเคียงราชสำนักกรุงเวียนนา แม้ว่าโดยนิตินัยแล้ว ปรัสเซียจะยังคงถือเป็นดินแดนหนึ่งในจักรวรรดิภายใต้ราชวงศ์ฮาพส์บวร์คก็ตาม

    สมาพันธรัฐเยอรมันและจักรวรรดิเยอรมัน (ค.ศ. 1815–1918)
     
    พระเจ้าวิลเฮล์มแห่งปรัสเซียประกาศตนขึ้นเป็นจักรพรรดิเยอรมัน ณ พระราชวังแวร์ซายในกรุงปารีส หลังมีชัยในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย
    ดูบทความหลักที่: สมาพันธรัฐเยอรมัน และ จักรวรรดิเยอรมัน

    จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ต้องสูญเสียดินแดนมากมายแก่ฝรั่งเศสในช่วงสงครามนโปเลียน ทำให้ในปี 1806 จักรพรรดิฟรันซ์ที่ 2 ทรงประกาศยุบจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และสถาปนาจักรวรรดิออสเตรียขึ้นมาแทน เมื่อนโปเลียนถูกโค่นล้มและถูกเนรเทศไปเกาะเอลบาในปี 1814 ได้มีการจัดการประชุมใหญ่แห่งเวียนนาขึ้นเพื่อจัดระเบียบทวีปยุโรปเสียใหม่ ราชอาณาจักรปรัสเซียและจักรวรรดิออสเตรียได้ร่วมมือกันให้มีการรวมกลุ่มอย่างหลวม ๆ ของรัฐเยอรมันทั้งหลาย จัดตั้งขึ้นเป็น "สมาพันธรัฐเยอรมัน" เพื่อรวมความเป็นรัฐชาติและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวเยอรมันอีกครั้ง แม้ปรัสเซียจะพยายามผลักดันให้พระเจ้าฟรีดริช วิลเฮล์มที่ 3 แห่งปรัสเซีย ดำรงตำแหน่งองค์ประธานสมาพันธรัฐเยอรมันแต่ก็ไม่เป็นผล รัฐสมาชิก 39 แห่งกลับลงมติยอมรับนับถือจักรพรรดิฟรันซ์ที่ 1 แห่งออสเตรีย เป็นองค์ประธานสมาพันธรัฐเยอรมัน

    ในปี 1864 ความขัดแย้งระหว่างออสเตรียกับปรัสเซียขึ้นอีกครั้ง และบานปลายเป็นสงครามออสเตรีย-ปรัสเซีย หรือที่เรียกว่า "สงครามพี่น้อง" สงครามครั้งนี้จบลงด้วยชัยชนะอย่างงดงามของปรัสเซีย ออสเตรียสูญเสียอิทธิพลเหนือรัฐเยอรมันตอนใต้ทั้งหมดและจำยอมยุบสมาพันธรัฐเยอรมันในวันที่ 23 สิงหาคม 1866 และนำไปสู่การสถาปนา "สมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ" ที่มีกษัตริย์แห่งปรัสเซียเป็นองค์ประธาน และภายหลังปรัสเซียมีชัยในสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียในปี 1871 รัฐสภาแห่งสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อสมาพันธรัฐเป็นจักรวรรดิ และมีมติให้พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ดำรงตำแหน่งเป็นจักรพรรดิเยอรมัน ถือเป็นการสถาปนาจักรวรรดิเยอรมันอย่างเป็นทางการ

    จักรวรรดิเยอรมันมีพัฒนาการด้านอุตสาหกรรมอย่างก้าวกระโดด มีกองทัพบกที่ทรงแสนยานุภาพที่สุดในโลก และมีกองทัพเรือที่ทรงแสนยานุภาพเป็นลำดับสองรองจากราชนาวีอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ความปราชัยในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งทำให้เกิดยุคข้าวยากหมากแพงจนจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 สละราชสมบัติและลี้ภัยการเมืองในปี 1918 เยอรมนีเปลี่ยนไปใช้ระบอบระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐภายใต้ประธานาธิบดี

    สาธารณรัฐไวมาร์และไรช์ที่สาม (ค.ศ. 1919–1945)
    ดูบทความหลักที่: สาธารณรัฐไวมาร์ และ นาซีเยอรมนี
     
    อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำพายุโรปเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง

    เมื่อระบอบจักรพรรดิล่มสลาย ได้มีการจัดประชุมสมัชชาแห่งชาติขึ้นที่เมืองไวมาร์และมีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ เป็นที่มาของชื่อลำลองว่า "สาธารณรัฐไวมาร์" ซึ่งตลอดช่วงเวลา 14 ปีของเยอรมนียุคสาธารณรัฐไวมาร์ ต้องเผชิญกับปัญหามากมาย ทั้งเศรษฐกิจตกต่ำ, อภิมหาเงินเฟ้อ, อัตราการว่างงานสูงลิบ, เผชิญหน้ากับการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์จากรัสเซีย, ถูกจำกัดจำนวนทหารและห้ามมีอาวุธยุทโธปกรณ์สมรรถนะสูงจากผลของสนธิสัญญาแวร์ซาย ความล่มจมของประเทศเช่นนี้ทำให้เกิดขบวนการชาตินิยมขึ้นมากมาย หนึ่งในนั้นคือพรรคกรรมกรเยอรมัน (DAP) ซึ่งมีอุดมการณ์แบบสุดโต่ง สิบตรีอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ซึ่งเข้ามาสอดแนมในพรรคแห่งนี้ประทับใจกับอุดมการณ์ของพรรคและตัดสินใจเข้าร่วมพรรค ฮิตเลอร์ใช้พรสวรรค์ด้านวาทศิลป์ของตนเองจนสามารถก้าวขึ้นเป็นผู้นำพรรค[8] ในปี 1920 ฮิตเลอร์เปลี่ยนชื่อพรรคแห่งนี้เป็น "พรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมัน" หรือที่รู้จักกันในชื่อ "พรรคนาซี"[9]

    ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ในปี 1929 นั้นส่งผลกระทบร้ายแรงต่อเยอรมนีมาก ผู้คนนับล้านในเยอรมันตกงาน ฮิตเลอร์ได้ใช้โอกาสนี้หาเสียงและกวาดคะแนนนิยม ในการเลือกตั้งทั่วไปเดือนพฤศจิกายน 1932 พรรคนาซีกลายเป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดในสภาไรชส์ทาค ครองที่นั่ง 230 ที่นั่งจากทั้งหมด 584 ที่นั่ง จะเห็นได้ว่าแม้นาซีจะเป็นพรรคใหญ่สุดแต่ก็ยังไม่ได้ครองเสียงข้างมาก จนกระทั่งเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ไรชส์ทาคขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ 1933 โดยกล่าวหาว่าเป็นฝีมือของพวกคอมมิวนิสต์ นายกรัฐมนตรีฮิตเลอร์กดดันให้ประธานาธิบดีฮินเดินบวร์คลงนามในกฤษฎีกาเพลิงไหม้ไรชส์ทาคเพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน และหว่านล้อมให้สภาลงมติอนุมัติรัฐบัญญัติมอบอำนาจ ซึ่งทำให้ฮิตเลอร์กลายเป็น "ฟือเรอร์" ผู้มีอำนาจเบ็ดเสร็จในเยอรมนีไปโดยปริยาย

    เมื่อฮิตเลอร์ขึ้นเป็นผู้นำสูงสุด เขาได้ฉีกสนธิสัญญาแวร์ซายทิ้งและเร่งฟื้นฟูแสนยานุภาพของเยอรมันเป็นการใหญ่ ฮิตเลอร์ประกาศลดภาษีรถยนต์เป็นศูนย์และเร่งรัดให้มีการสร้างทางหลวงเอาโทบานทั่วประเทศ ส่งผลให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของเยอรมันเติบโตอย่างมโหฬาร เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ เยอรมนีได้ผงาดขึ้นเป็นมหาอำนาจอีกครั้งและกลายเป็นชาติที่มีเทคโนโลยีก้าวหน้าที่สุดในโลกในทุกด้าน ทั้งด้านวิศวกรรม อุตสาหกรรม การแพทย์ และการทหาร เทคโนโลยีหลายอย่างของโลกก็ถือกำเนิดขึ้นจากเยอรมนีในยุคนี้ อย่างไรก็ตามความรุ่งเรืองเหล่านี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการขูดรีดแรงงานในค่ายกักกันที่มีอยู่มากมาย

    สงครามโลกครั้งที่สอง
     
    แผนที่สงครามในทวีปยุโรป ค.ศ. 1942
      ดินแดนในยึดครองของเยอรมัน
      เขตอิทธิพล/รัฐหุ่นเชิดของเยอรมัน
      สหภาพโซเวียต
      สหราชอาณาจักรและอาณานิคม

    ในปี 1938 หลังเยอรมนีผนวกบ้านพี่เมืองน้องอย่างออสเตรียเข้าเป็นส่วนหนึ่งของตน ในที่สุด ฮิตเลอร์ส่งกองทัพเข้ายึดประเทศออสเตรียและประเทศเชโกสโลวาเกียโดยไม่สนคำครหา กลิ่นของสงครามเข้าปกคลุมทั้งทวีปยุโรป สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสต้องการเลี่ยงสงครามจึงได้จัดการประชุมมิวนิกกับเยอรมนีในเดือนกันยายน เพื่อเป็นหลักประกันว่าเยอรมนีจะไม่รุกรานดินแดนใดไปมากกว่านี้และจะไม่ก่อสงคราม แต่ขณะเดียวกัน ต่างฝ่ายก็ต่างสั่งสมกำลังเพื่อเตรียมเข้าสู่สงคราม

    ในปี 1939 การบุกยึดโปแลนด์ของเยอรมนีได้จุดชนวนสงครามโลกครั้งที่สองขึ้น ตามด้วยการบุกครองประเทศอื่น ๆ ในยุโรปและยังทำกติกาสัญญาไตรภาคีเป็นพันธมิตรกับอิตาลีและญี่ปุ่น เขตอิทธิพลของนาซีเยอรมันได้แผ่ไพศาลที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติเยอรมันในปี 1942 ครอบคลุมส่วนใหญ่ของยุโรปภาคพื้นทวีป ในปี 1943 ฮิตเลอร์เปลี่ยนชื่อเรียกอย่างเป็นทางการของเยอรมนีจาก "ไรช์เยอรมัน" (Deutsches Reich) เป็น "ไรช์เยอรมันใหญ่" (Großdeutsches Reich)

    หลังความล้มเหลวในปฏิบัติการบาร์บารอสซาที่สหภาพโซเวียต เยอรมันก็ถูกรุกกลับอย่างรวดเร็วจากทั้งสองด้าน เมื่อกองทัพแดงบุกถึงกรุงเบอร์ลินในเดือนเมษายน 1945 ฮิตเลอร์ปฏิเสธที่จะหนีออกจากกรุงเบอร์ลินและตัดสินใจยิงตัวตาย หนึ่งสัปดาห์ต่อมา เยอรมนีก็ยอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตร

    เยอรมนีตะวันออกและตะวันตก (ค.ศ. 1945–1990)

    หลังเยอรมนียอมจำนนแล้ว ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้แบ่งกรุงเบอร์ลินและประเทศเยอรมนีออกเป็น 4 เขตในยึดครองทางทหาร เขตฝั่งตะวันตกซึ่งควบคุมโดยฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร และสหรัฐ ได้รวมกันและจัดตั้งขึ้นเป็นประเทศที่ชื่อว่า "สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี" เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 1949 ส่วนเขตทางตะวันออกซึ่งอยู่ในควบคุมของสหภาพโซเวียตได้จัดตั้งขึ้นเป็นประเทศที่ชื่อว่า "สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี" เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 1949 ทั้งสองประเทศนี้ถูกเรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า "ประเทศเยอรมนีตะวันตก" มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงบ็อน และ "ประเทศเยอรมนีตะวันออก" มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงเบอร์ลินตะวันออก

    เยอรมนีตะวันตกมีการปกครองในระบอบสาธารณรัฐภายใต้รัฐสภากลาง และใช้ระบบเศรษฐกิจการตลาดเพื่อสังคม (Social Market Economy) เยอรมนีตะวันตกรับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจำนวนมากตามแผนมาร์แชลล์เพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมของตน เศรษฐกิจของเยอรมนีตะวันตกฟื้นฟูอย่างรวดเร็วจนถูกเรียกว่า "ปาฏิหาริย์ทางเศรษฐกิจ" (Economic miracle) เยอรมนีตะวันตกเข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) ในปี 1955 และเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (EEC) ในปี 1957

    เยอรมนีตะวันออกเป็นรัฐในกลุ่มตะวันออก (Eastern Bloc) ซึ่งตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมืองและทางทหารของสหภาพโซเวียต และยังเป็นรัฐร่วมภาคีในกติกาสัญญาวอร์ซอ และแม้ว่าเยอรมนีตะวันออกจะอ้างว่าตนเองปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่อำนาจทางการเมืองการปกครองทั้งหมดอยู่ภายใต้การควบคุมของโปลิตบูโรแห่งพรรคเอกภาพสังคมนิยมเยอรมนี (SED) ซึ่งมีหัวแบบคอมมิวนิสต์ นอกจากนี้ พรรคฯยังมีการหนุนหลังจาก "กระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐ "หรือที่เรียกว่า "ชตาซี" (Stasi) อันเป็นหน่วยงานรัฐขนาดใหญ่ที่ควบคุมเกือบทุกแง่มุมของสังคม[10] เยอรมนีตะวันออกใช้ระบอบเศรษฐกิจแบบรวมศูนย์ อันเป็นระบบเศรษฐกิจที่ทุกอย่างถูกวางแผนโดยรัฐ

     
    ที่หน้าประตูบรันเดินบวร์ค ผู้คนออกมาชุมนุมยินดีต่อการพังทลายลงของกำแพงเบอร์ลินในปี 1989

    ชาวเยอรมันตะวันออกจำนวนมากพยายามข้ามไปยังเยอรมนีตะวันตกเพื่ออิสรภาพและชีวิตที่ดีกว่า ทำให้เยอรมนีตะวันออกตัดสินใจสร้างกำแพงเบอร์ลินขึ้นมาเพื่อป้องกันการลักลอบข้ามแดน กำแพงเบอร์ลินถูกสร้างขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 1961 กำแพงแห่งนี้ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็นระหว่างฝ่ายเสรีกับฝ่ายคอมมิวนิสต์[11] [12] การพังทลายลงของกำแพงเบอร์ลินในปี 1989 ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ นำมาซึ่งการรวมประเทศเยอรมนีในปีถัดมา ก่อนที่จะตามมาด้วยการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปีให้หลัง

    ยุคหลังการรวมประเทศ (ค.ศ. 1990–ปัจจุบัน)

    เบอร์ลินกลายเป็นเมืองหลวงเดี่ยวของประเทศอีกครั้ง ในขณะที่อดีตเมืองหลวงอย่างบ็อน ได้รับสถานะที่เรียกว่า "บุนเดิสชตัท" (นครสหพันธ์) ซึ่งจะคงที่ทำการใหญ่ของบางหน่วยงานเอาไว้ การย้ายที่ทำการรัฐบาลแล้วเสร็จในปี 1999 และเศรษฐกิจของเยอรมนีได้เติบโตอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่การรวมประเทศ เยอรมนีมีบทบาทอย่างแข็งขันในสหภาพยุโรป ลงนามในสนธิสัญญามาสทริชท์ในปี 1992 และสนธิสัญญาลิสบอนในปี 2007[13] และร่วมก่อตั้งยูโรโซน[14] เยอรมนีส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเพื่อรักษาเสถียรภาพในคาบสมุทรบอลข่าน และส่งทหารไปยังอัฟกานิสถานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเนโทในการขับไล่กลุ่มตอลิบาน[15]

    ในการเลือกตั้งปี 2005 อังเกลา แมร์เคิล สร้างประวัติศาสตร์เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก ต่อมา ในปี 2009 รัฐบาลเยอรมนีอนุมัติแผนกระตุ้นเศรษฐกิจมูลค่า 5 หมื่นล้านยูโร[16] นโยบายทางการเมืองที่สำคัญของเยอรมนีในช่วงต้นศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ความก้าวหน้าของการบูรณาการในยุโรป และการเปลี่ยนแปลงไปใช้พลังงานทดแทน (Energiewende) มาตรการเพิ่มอัตราการเจริญพันธุ์ (pronatalism) และกลยุทธ์สำหรับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจเพื่อก้าวสู่อุตสาหรรม 4.0[17] เยอรมนีได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ผู้ย้ายถิ่นยุโรปในปี 2015 โดยตลอดหลายปีที่ผ่านมา ประเทศรับผู้อพยพกว่าล้านคน และพัฒนาระบบโควตาที่แจกจ่ายผู้อพยพไปทั่วรัฐ

    Wagner, G. A; Krbetschek, M; Degering, D; Bahain, J.-J; Shao, Q; Falgueres, C; Voinchet, P; Dolo, J.-M; Garcia, T; Rightmire, G. P (27 August 2010). "Radiometric dating of the type-site for Homo heidelbergensis at Mauer, Germany". PNAS. 107 (46): 19726–19730. Bibcode:2010PNAS..10719726W. doi:10.1073/pnas.1012722107. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 January 2015. สืบค้นเมื่อ 27 August 2010. "World's Oldest Spears". archive.archaeology.org. 3 May 1997. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2013. สืบค้นเมื่อ 27 August 2010. "Earliest music instruments found". BBC. 25 May 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2017. สืบค้นเมื่อ 25 May 2012. "Ice Age Lion Man is world's earliest figurative sculpture". The Art Newspaper. 31 January 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 February 2015. สืบค้นเมื่อ 31 January 2013. Claster, Jill N. (1982). Medieval Experience: 300–1400. New York University Press. p. 35. ISBN 0-8147-1381-5. Bowman, Alan K.; Garnsey, Peter; Cameron, Averil (2005). The crisis of empire, A.D. 193–337. The Cambridge Ancient History. Vol. 12. Cambridge University Press. p. 442. ISBN 0-521-30199-8. Fulbrook 1991, p. 11. "Nazi Germany". Sky HISTORY TV channel (ภาษาอังกฤษ). "Nazism | Definition, Leaders, Ideology, & History". Encyclopedia Britannica (ภาษาอังกฤษ). maw/dpa (11 March 2008). "New Study Finds More Stasi Spooks". Der Spiegel. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 November 2012. สืบค้นเมื่อ 30 October 2011. "Germany". U.S. Department of State. 10 November 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 March 2011. สืบค้นเมื่อ 26 March 2011. "The Berlin Wall". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 February 2017. สืบค้นเมื่อ 8 February 2017. Lemke, Christiane (2010). "Germany's EU Policy: The Domestic Discourse". German Studies Review. 33 (3): 503–516. JSTOR 20787989. Research, CNN Editorial. "Eurozone Fast Facts". CNN. Dempsey, Judy (2006-10-31). "Germany is planning a Bosnia withdrawal - Europe - International Herald Tribune". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2021-10-11. "Germany agrees on 50-billion-euro stimulus plan - FRANCE 24". web.archive.org. 2011-05-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-13. สืบค้นเมื่อ 2021-10-11.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) "Regierungserklärung von Kanzlerin Merkel: Große Versprechen, scharfe Kritik | tagesschau.de". web.archive.org. 2015-01-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-01. สืบค้นเมื่อ 2021-10-11.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
    Read less

Phrasebook

สวัสดี
Hallo
โลก
Welt
สวัสดีชาวโลก
Hallo Welt
ขอขอบคุณ
Vielen Dank
ลาก่อน
Auf Wiedersehen
ใช่
Ja
ไม่
Nein
คุณเป็นอย่างไรบ้าง
Wie geht es dir?
สบายดีขอบคุณ
Gut, Danke
ราคาเท่าไหร่?
Wie viel kostet das?
ศูนย์
Null
หนึ่ง
Einer

Where can you sleep near ประเทศเยอรมนี ?

Booking.com
489.854 visits in total, 9.196 Points of interest, 404 Destinations, 19 visits today.