ประเทศเบลารุส

Context of ประเทศเบลารุส

เบลารุส (อังกฤษ: Belarus; เบลารุส: Белару́сь, ออกเสียง: [bʲɛlaˈrusʲ]; รัสเซีย: Белару́сь, ออกเสียง: [bʲɪlɐˈrusʲ]) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเบลารุส (อังกฤษ: Republic of Belarus; เบลารุส: Рэспу́бліка Белару́сь; รัสเซีย: Респу́блика Белару́сь) ในอดีตมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เบียโลรัสเซีย (อังกฤษ: Byelorussia; รัสเซีย: Белору́ссия) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับรัสเซีย ยูเครน โปแลนด์ ลิทัวเนีย และลัตเวีย เมืองหลวงของประเทศคือกรุงมินสค์ เมืองสำคัญของประเทศนี้ ได้แก่ แบรสต์ ฆโรดนา โฆเมียล และวีเชปสก์ พื้นที่มากกว่า 40% ของขนาดประเทศ 207,600 ตารางกิโลเมตร (80,200 ตารางไมล์) เป็นป่าไม้ ภา...อ่านต่อ

เบลารุส (อังกฤษ: Belarus; เบลารุส: Белару́сь, ออกเสียง: [bʲɛlaˈrusʲ]; รัสเซีย: Белару́сь, ออกเสียง: [bʲɪlɐˈrusʲ]) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐเบลารุส (อังกฤษ: Republic of Belarus; เบลารุส: Рэспу́бліка Белару́сь; รัสเซีย: Респу́блика Белару́сь) ในอดีตมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เบียโลรัสเซีย (อังกฤษ: Byelorussia; รัสเซีย: Белору́ссия) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ในภูมิภาคยุโรปตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับรัสเซีย ยูเครน โปแลนด์ ลิทัวเนีย และลัตเวีย เมืองหลวงของประเทศคือกรุงมินสค์ เมืองสำคัญของประเทศนี้ ได้แก่ แบรสต์ ฆโรดนา โฆเมียล และวีเชปสก์ พื้นที่มากกว่า 40% ของขนาดประเทศ 207,600 ตารางกิโลเมตร (80,200 ตารางไมล์) เป็นป่าไม้ ภาคเศรษฐกิจหลักของประเทศคืออุตสาหกรรมบริการและการผลิต จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ดินแดนที่กลายมาเป็นประเทศเบลารุสในปัจจุบันเคยถูกรัฐต่าง ๆ ในหลาย ๆ ยุคยึดครอง ซึ่งรวมถึงราชรัฐโปลอตสค์ (คริสต์ศตวรรษที่ 11 ถึง 14), แกรนด์ดัชชีลิทัวเนีย, เครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย และจักรวรรดิรัสเซีย

ในช่วงหลังการปฏิวัติรัสเซียใน ค.ศ. 1917 เบลารุสประกาศเอกราชในฐานะสาธารณรัฐประชาชนเบลารุส แต่สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซียได้เข้ายึดครอง สาธารณรัฐโซเวียตสังคมนิยมเบียโลรัสเซียได้กลายเป็นสาธารณรัฐองค์ประกอบผู้ก่อตั้งสหภาพโซเวียตใน ค.ศ. 1922 และเปลี่ยนชื่อเป็นสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตเบียโลรัสเซีย (Byelorussian SSR) ดินแดนของเบลารุสเกือบครึ่งหนึ่งถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของโปแลนด์หลังจากสงครามโปแลนด์–โซเวียตใน ค.ศ. 1919–1921 พรมแดนส่วนใหญ่ของเบลารุสมีลักษณะอย่างปัจจุบันตั้งแต่ ค.ศ. 1939 เมื่อดินแดนบางส่วนของสาธารณรัฐโปแลนด์ที่ 2 ถูกผนวกเข้ากับเบลารุสอีกครั้งหลังจากการรุกรานโปแลนด์ของสหภาพโซเวียต และได้ข้อสรุปหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปฏิบัติการต่าง ๆ ทางทหารทำให้เบลารุสเสียหายอย่างรุนแรง โดยสูญเสียประชากรราวหนึ่งในสามและทรัพยากรทางเศรษฐกิจมากกว่าครึ่ง สาธารณรัฐได้รับการพัฒนาขื้นใหม่อีกครั้งหลังสงคราม ใน ค.ศ. 1945 สาธารณรัฐเบียโลรัสเซียกลายเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งของสหประชาชาติพร้อมกับสหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐยูเครน

รัฐสภาสาธารณรัฐเบลารุสประกาศอำนาจอธิปไตยของเบลารุสเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม ค.ศ. 1990 และในระหว่างการล่มสลายของสหภาพโซเวียต เบลารุสได้ประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 1991 อาเลียกซันดร์ ลูกาแชนกา ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของประเทศมาตั้งแต่ ค.ศ. 1994 นักข่าวตะวันตกบางคนได้ขนานนามเบลารุสว่าเป็น "เผด็จการสุดท้ายของยุโรป" เนื่องมาจากรูปแบบรัฐบาลซึ่งลูกาแชนกาได้นิยามเองว่าเป็นอำนาจนิยม ลูกาแชนกายังคงใช้นโยบายหลายประการจากยุคโซเวียต เช่น กรรมสิทธิ์ของรัฐในเศรษฐกิจส่วนใหญ่ การเลือกตั้งภายใต้กฎของลูกาแชนกาถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่าไม่ยุติธรรม และตามรายงานของประเทศและองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ การต่อต้านทางการเมืองได้ถูกปราบปรามอย่างรุนแรง เบลารุสเป็นประเทศสุดท้ายในยุโรปที่ยังคงใช้โทษประหารชีวิต คะแนนดัชนีประชาธิปไตยของเบลารุสนั้นต่ำที่สุดในยุโรป เบลารุสถูกระบุว่า "ไม่เสรี" โดยองค์การฟรีดอมเฮาส์ ถูกระบุว่า "ถูกกดขี่" ในดัชนีเสรีภาพทางเศรษฐกิจ และได้รับการจัดอันดับว่าเป็นประเทศที่เลวร้ายที่สุดสำหรับเสรีภาพสื่อในยุโรป ในดัชนีเสรีภาพสื่อประจำ ค.ศ. 2013–2014 ซึ่งองค์กรนักข่าวไร้พรมแดนเป็นผู้เผยแพร่โดยจัดเบลารุสอยู่ในอันดับที่ 157 จาก 180 ประเทศทั่วโลก

ใน ค.ศ. 2000 เบลารุสและรัสเซียได้ลงนามในสนธิสัญญาเพื่อความร่วมมือที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยก่อตั้งรัฐสหภาพรัสเซียและเบลารุส กว่าร้อยละ 70 ของประชากรเบลารุสจำนวน 9.49 ล้านคนอาศัยอยู่ในเขตเมือง ประชากรมากกว่าร้อยละ 80 เป็นชาวเบลารุส ชนกลุ่มน้อยขนาดใหญ่ได้แก่ ชาวรัสเซีย, โปแลนด์ และยูเครน นับตั้งแต่การลงประชามติใน ค.ศ. 1995 ประเทศเบลารุสมีภาษาราชการสองภาษาคือภาษาเบลารุสและภาษารัสเซีย รัฐธรรมนูญของเบลารุสไม่ได้ประกาศศาสนาอย่างเป็นทางการ แต่ศาสนาหลักของประเทศคือศาสนาคริสต์นิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ศาสนาที่แพร่หลายมากเป็นอันดับสองของเบลารุสคือนิกายโรมันคาทอลิกซึ่งมีผู้นับถือจำนวนน้อยกว่ามาก ถึงกระนั้นเบลารุสก็เฉลิมฉลองวันคริสต์มาสและอีสเตอร์ของทั้งออร์ทอดอกซ์และคาทอลิกในฐานะวันหยุดประจำชาติ เบลารุสเป็นสมาชิกของสหประชาชาตินับตั้งแต่ก่อตั้ง, เครือรัฐเอกราช, องค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน, สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย และขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เบลารุสไม่ได้แสดงความปรารถนาที่จะเข้าร่วมสหภาพยุโรป แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงรักษาความสัมพันธ์ทวิภาคีกับองค์การ และในทำนองเดียวกันเบลารุสมีส่วนร่วมในโครงการสองโครงการของสหภาพยุโรป คือ หุ้นส่วนตะวันออกและการริเริ่มที่บากู

Where can you sleep near ประเทศเบลารุส ?

Booking.com
487.349 visits in total, 9.186 Points of interest, 404 Destinations, 34 visits today.