Context of จังหวัดบาหลี

บาหลี หรือ บาลี (อินโดนีเซีย: Bali; บาหลี: ᬩᬮᬶ) เป็น 1 ใน 34 จังหวัดของประเทศอินโดนีเซีย เมืองหลักคือเด็นปาซาร์ พื้นที่ทั้งหมด 5,634.40 ตารางกิโลเมตร มีประชากรทั้งสิ้น 3,422,600 คน ความหนาแน่นของประชากร 607 คน/ตารางกิโลเมตร ภาษาที่ใช้คือภาษาอินโดนีเซียและภาษาบาหลี

More about จังหวัดบาหลี

Population, Area & Driving side
  • Population 4362700
  • Area 5780
ประวัติ
  • ยุคเริ่มต้น
     
    หินสลักบริเวณภูเขากุนุง คาวี

    บาหลีเป็นถิ่นที่อยู่ของชนเผ่าออสโตรนีเชียน (Austronesian) ที่อพยพมาจากถิ่นฐานเดิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย โดยใช้เส้นทางเดินเรือผ่านภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล[1][2] วัฒนธรรมและภาษาของชาวบาหลีจึงเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดกับผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณหมู่เกาะอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และโอเชียเนีย[3]

    ...อ่านต่อ
    ยุคเริ่มต้น
     
    หินสลักบริเวณภูเขากุนุง คาวี

    บาหลีเป็นถิ่นที่อยู่ของชนเผ่าออสโตรนีเชียน (Austronesian) ที่อพยพมาจากถิ่นฐานเดิมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโอเชียเนีย โดยใช้เส้นทางเดินเรือผ่านภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อนคริสตกาล[1][2] วัฒนธรรมและภาษาของชาวบาหลีจึงเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดกับผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณหมู่เกาะอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และโอเชียเนีย[3]

    มีการขุดพบเครื่องมือที่ทำจากหินมีอายุกว่า 3,000 ปีได้ที่หมู่บ้านเจอกิก (Cekik) ที่อยู่ทางตะวันตก รวมทั้งที่ตั้งถิ่นฐานและหลุมฝังศพของมนุษย์ในยุคหินใหม่ (Neolithic) ถึงยุคสำริด และโครงกระดูกมนุษย์โบราณอายุกว่า 4,000 ปี จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ซีตุซปูร์บาลากา (Museum Situs Purbalaka) ที่เมืองกีลีมานุก์ (Gilimanuk) อีกด้วย[4][5] ประวัติของบาหลีก่อนการเผยแผ่ศาสนาฮินดูเข้ามายังหมู่เกาะอินโดนีเซียโดยพ่อค้าชาวอินเดียในช่วงศตวรรษที่ 7 เป็นที่รู้กันน้อยมาก [4] อย่างไรก็ตามบาหลีเริ่มเป็นเมืองค้าขายที่คึกคักตั้งแต่ 200 ปีก่อนคริสตกาล[5] การบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับบาหลีที่เป็นลายลักษณ์อักษร ปรากฏในศิลาจารึกที่ขุดค้นพบใกล้หาดซานูร์ (Sanur) รวมทั้งจารึกบนแผ่นโลหะ เทวรูปสำริด และหินสลักที่แสดงถึงอิทธิพลของศาสนาพุทธและฮินดู บริเวณรอบ ๆ ภูเขากูนุงกาวี (Gunung Kawi) และถ้ำโกอากาจะฮ์ (Goa Gajah)

    อิทธิพลของศาสนาฮินดู
     
    ปูราตานะฮ์ลต

    ในช่วงศตวรรษที่ 9 สังคมของชาวบาหลีเริ่มเฟื่องฟูขึ้น ราว ค.ศ. 900 ชาวบาหลีเริ่มพัฒนาระบบชลประทาน การปลูกข้าว รวมทั้งวัฒนธรรมและศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง หลักฐานเกี่ยวกับราชวงศ์บาหลีเริ่มปรากฏในเวลานั้นเช่นกัน โดยมีภาพแกะสลักหินแสดงพิธีอภิเษกสมรสของกษัตริย์บาหลีทรงพระนามว่าพระเจ้าอุทยานา (Udayana) กับ เจ้าหญิงชวาตะวันออก ทรงพระนามว่าเจ้าหญิงมเหนทราตตะ (Mahendratta) ที่วัดปูราโกระฮ์เตอกีปัน (Pura Korah Tegipan) ที่อยู่บริเวณภูเขากูนุงบาตูร์ (Gunung Batur) ทั้งสองพระองค์มีพระราชโอรสทรงพระนามว่า เจ้าชายไอร์ลังกา (Airlangga) ประสูติเมื่อ ค.ศ. 991 ในเวลาเดียวกัน ชวาเริ่มแผ่อิทธิพลเข้ามายังบาหลี เมื่อพระองค์พระชันษาได้ 16 ปี ทรงหนีไปยังชวาตะวันตกและทรงได้รับการสนับสนุนจากชาวชวาในเวลาต่อมา เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ชวา จึงทรงรวมบาหลีและชวาให้เป็นปึกแผ่นจนกระทั่งเสด็จสวรรคต เมื่อค.ศ.1049 [4][5] ภาษาชวาที่เรียกว่าภาษากาวี (Kawi) ได้นำมาใช้ในหมู่ราชวงศ์บาหลี หลักฐานความสัมพันธ์ระหว่างบาหลีกับเกาะชวาในช่วงศตวรรษที่ 11 อยู่ที่หินสลักที่ภูเขากุนุง คาวี ใกล้กับเมืองตัมปักซีริง (Tampaksiring) หลังจากนั้นบาหลีอยู่ในสถานภาพกึ่งเอกราช จนกระทั่ง ค.ศ. 1284 พระเจ้าเกอรตานาการาหรือเกียรตินคร (Kertanagara) กษัตริย์ชวาแห่งอาณาจักรสิงหะส่าหรี (Singasari) ได้รุกรานบาหลี แต่หลังจากนั้น 8 ปี อาณาจักรสิงหะส่าหรีล่มสลาย พระราชโอรสของพระเจ้าเกอรตานาการาพระนามว่าเจ้าชายวิจายาหรือวิชัย (Vijaya) ได้ตั้งอาณาจักรมัชปาหิต (Majapahit) ซึ่งนับถือศาสนาฮินดูขึ้น ช่วงเวลานี้เอง บาหลีถือโอกาสแยกตัวเป็นเอกราช ปกครองโดยราชวงศ์ปาเจ็ง (Pajeng) มีศูนย์กลางใกล้กับเมืองอูบุด (Ubud) แต่กะจะห์ มาดา (Gajah Mada) เสนาบดีแห่งอาณาจักรมัชปาหิตเข้ารุกรานบาหลีในรัชสมัยของพระเจ้าดาเล็ม เบอเดาลู (Dalem Bedaulu) แห่งราชวงศ์ปาเจ็งในปีค.ศ.1343 และได้รวมบาหลีเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรมัชปาหิต หลังจากนั้นบาหลีได้ย้ายศูนย์กลางไปอยู่ที่เกลเกล (Gelgel) ใกล้กับเมืองเสมาระปุระ (Semarapura) ในช่วงปลายศตวรรษที่ 14 โดยมีกษัตริย์ปกครองซึ่งชาวบาหลีเรียกว่าเทวะ อากุง (Dewa Agung) พระนามว่าพระเจ้าบาตูร์ เร็งก็อง (Batur Renggong) ครองราชย์ในปีค.ศ.1550[4][5] ก่อนหน้านั้นไม่นานอาณาจักรมัชปาหิตได้ล่มสลายลงในปี ค.ศ. 1515 ลงจากการขยายอิทธิพลของชาวมุสลิม บรรดานักปราชญ์ซึ่งหนึ่งในนั้นคือนักบวชฮินดูชื่อนิราร์ธา (Nirartha) ได้อพยพข้ามมายังบาหลี โดยนำศิลปวัตถุ ช่างศิลป์ นางรำ นักดนตรี และนักแสดงประจำราชสำนักมัชปาหิตเข้ามาด้วย และได้สร้างวัดปูราลูฮูร์อูลูวาตู (Pura Luhur Ulu Watu) และวัดปูราตานะห์ลต (Pura Tanah Lot) ขึ้น การอพยพครั้งใหญ่ของชาวฮินดูจากชวาได้สิ้นสุดลงราวศตวรรษที่ 16[4][5] [6] การอพยพครั้งนี้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ต่อสังคมบาหลี สังคมฮินดูในบาหลีเริ่มซับซ้อนขึ้น มีการนำระบบวรรณะเข้ามาใช้ ชาวบาหลีที่อยู่ดั้งเดิมจึงอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณภูเขาทางตอนใน ซึงปัจจุบันนี้ผู้สืบเชื้อสายของคนเหล่านี้เรียกว่าบาหลีอากา (Bali Aga) หรือบาหลีมูลา (Bali Mula) ยังคงอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านเตองานัน (Tenganan) ใกล้กับวัดปูราดาซา (Pura Dasa) และหมู่บ้านตรูญัน (Trunyan) บริเวณทะเลสาบบาตูร์[5]

    การยึดครองของฮอลันดา
     
    วัดปูราตามันอายุน เดิมเป็นที่ตั้งของอาณาจักรบาดุง
     
    เมืองเด็นปาซาร์ในปัจจุบัน

    ชาวยุโรปกลุ่มแรกที่เดินทางมายังบาหลีคือชาวฮอลันดา ซึ่งนำโดยกัปตันโกเลอนียึส เดอ เฮาต์มัน (Colenius de Houtman) เมื่อค.ศ.1597 และเริ่มเจริญความสัมพันธ์กับราชวงค์บาหลี ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 อีกทางฝากหนึงของบาหลี ชาวฮอลันดาได้ทำสนธิสัญญาการค้าหลายฉบับกับชวา และเส้นทางการค้าเครื่องเทศส่วนใหญ่ได้ตกอยู่ในความควบคุมของชาวฮอลันดาแล้ว[4] เมื่อค.ศ.1710 ศูนย์กลางของบาหลีได้ย้ายไปอยู่ที่กลุงกุง (Klungkung) ปัจจุบันคือเมืองเสมาระปุระ[4][6] เป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ชนชั้นปกครองในบาหลีเริ่มแตกแยกและแบ่งออกเป็นอาณาจักรย่อยๆ ส่วนชาวฮอลันดาเริ่มเข้ามามีอิทธิพลโดยใช้วิธีแบ่งแยกและปกครอง[4] การเข้าควบคุมบาหลีทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจเริ่มต้นเมื่อราวค.ศ.1840 โดยในปีค.ศ.1846 ชาวฮอลันดาได้อ้างการกู้เรือจมบริเวณชายฝั้งทางด้านเหนือ ใกล้กับเมืองสิงคราช (Singaraja) ในปัจจุบัน นำกำลังทหารเข้ามาและยึดอาณาจักรบูเลเล็ง (Buleleng) และเจ็มบรานา (Jembrana) ไว้ได้[6][7]เมื่อยึดอาณาจักรทางตอนเหนือได้แล้ว จึงเริ่มเข้ารุกรานอาณาจักรทางตอนใต้ ในปีค.ศ.1904 ฮอลันดาได้อ้างการร่วมกู้ซากเรือจีนนอกชายฝั่งหาดซานูร์ เรียกร้องให้อาณาจักรบาดุงจ่ายค่าชดเชยเป็นจำนวนเงิน 3,000 เหรียญเงิน แต่ได้รับการปฏิเสธ ในปีค.ศ.1906 ฮอลันดาจึงได้ยกกำลังทหารเข้ามาบริเวณหาดซานูร์ โดย 4 วันหลังจากนั้น ได้บุกเข้ามาถึงชานเมืองเด็นปาซาร์ (Denpasar) วันที่ 20 กันยายน ค.ศ.1906 ฮอลันดาจึงเริ่มยิงถล่มเมืองเด็นปาซาร์ แต่ฝ่ายบาดุงใช้วิธีการพลีชีพของนักรบที่เรียกว่าปูปูตัน (Puputan) โดยบรรดาเชื้อพระวงค์ทรงเผาพระราชวังและแต่งพระองค์เต็มพระยศพร้อมทรงกริช ทรงดำเนินพร้อมกับเหล่านักบวชและข้าราชบริพารเข้าต่อสู้ แต่ทั้งหมดไม่ยอมจำนน กลับแทงตัวตายด้วยกริชแทน เหตุการณ์ในครั้งนั้นมีชาวบาหลีเสียชีวิตประมาณ 4,000 คน เมื่อยึดอาณาจักรบาดุงได้แล้ว ฮอลันดาจึงเข้ายึดอาณาจักรตาบานัน (Tabanan) จับกษัตริย์เป็นเชลย แต่ทรงไม่ยอมจำนนและทรงกระทำอัตนิวิบาตกรรม จากนั้นฮอลันดาได้เข้ายึดครองอาณาจักรการังอะเซ็ม (Karangasem) และเกียญาร์ (Gianyar) แต่อนุญาตให้ราชวงค์ยังทรงปกครองได้ต่อไป ส่วนอาณาจักรอื่นๆ ฮอลันดาได้ขับไล่เจ้าเมืองออกทั้งหมด ในเดือนเมษายน ค.ศ.1908 เมื่อฮอลันดาบุกยึดอาณาจักรเสมาระปุระ เช่นเดียวกับกษัตริย์ตาบานัน กษัตริย์เสมาระปุระทรงไม่ยอมจำนนและทรงกระทำอัตนิวิบาตกรรมเช่นกัน การบุกยึดครั้งนั้นทำให้พระราชวังตามันเกอร์ตาโกซา (Taman Gertha Gosa) ได้รับความเสียหายเป็นส่วนใหญ่ ส่งผลให้ตั้งแต่ ค.ศ.1911 ฮอลันดาได้ครอบครองดินแดนของบาหลีได้ทั้งหมดและได้รวมบาหลีเข้าเป็นส่วนหนึงของอินเดียตะวันออกของฮอลันดา (Dutch East Indies)[4][6][8]

    สงครามโลกครั้งที่สองและการประกาศเอกราช
     
    อี กุซตี งูระฮ์ ไร

    กองทัพญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกที่หาดซานูร์ ในปีค.ศ.1942 และได้ตั้งกองบัญชาการที่เมืองเด็นปาซาร์ และเมืองสิงคราช และขับไล่ชาวฮอลันดาออกไป เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกครั้งที่สองเมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ.1945 เมื่อฮอลันดาต้องการกลับเข้ามายึดครองบาหลีอีก ขบวนการต่อต้านฮอลันดาเริ่มก่อตั้งขึ้น วันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ.1945 นายซูการ์โน (Soekarno) ถือโอกาสประกาศเอกราชแก่ดินแดนที่เคยอยู่ภายใต้การยึดครองของฮอลันดาทั้งหมดและก่อตั้งสาธารณรัฐอินโดนีเซียขึ้น แต่ฝ่ายฮอลันดาไม่รับรอง ขบวนการต่อต้านฮอลันดาในบาหลีชื่อเต็นตรา เกออามันอัน รักยัต (Tentra Keamanan Rakyat) หรือกองกำลังความมั่นคงแห่งประชาชน (People's Security Force) ลุกฮือขึ้นต่อต้านฮอลันดาที่เมืองมาร์กา (Marga) เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ.1946 นำโดยอี กุซตี งูระฮ์ ไร (I Gusti Ngurah Rai) โดยเป็นการต่อสู้เพื่อพลีชีพของนักรบหรือปูปูตันอีกครั้ง ในที่สุดฮอลันดาประกาศรับรองเอกราชของอินโดนีเซียเมื่อปีค.ศ.1949 และบาหลีจึงเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซียในปัจจุบัน[4][6][9]

    Hinzler, Heidi. (1995). Artifacts and early foreign influences. In Eric Oey (Ed.), Bali (pp. 24-25). Singapore: Periplus Editions. ISBN 962-593-028-0. Taylor, Jean Gelman. (2003). Indonesia: Peoples and histories. New Haven and London: Yale University Press. ISBN 0-300-10518-5. Op. cit., Hinzler, Heidi. (1995), pp. 24-25. ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 4.7 4.8 4.9 Ver Berkmoes, Ryan, Skolnick, Adam & Caroll, Marian. (2009). Lonely planet: Bali & Lombok. (12th ed.). Melbourne: Lonely Planet. ISBN 978-1-74104-864-3. ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 5.4 5.5 "History of Bali". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-06. สืบค้นเมื่อ 2009-06-24. ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 History for Bali Vickers, Adrian. (1995). In Eric Oey (Ed.), Bali (pp. 26-35). Singapore: Periplus Editions. ISBN 962-593-028-0. "History of Bali by Amanda Byron". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-10. สืบค้นเมื่อ 2009-07-02. "I Gusti Ngurah Rai; Balinese National Hero". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-04. สืบค้นเมื่อ 2009-06-30.
    Read less

Where can you sleep near จังหวัดบาหลี ?

Booking.com
489.854 visits in total, 9.196 Points of interest, 404 Destinations, 19 visits today.