Principality of Sealand
( ซีแลนด์ )ราชรัฐซีแลนด์ (อังกฤษ: Principality of Sealand) เป็นประเทศจำลองที่ไม่ได้รับการยอมรับ ซึ่งอ้างสิทธิเอชเอ็ม ฟอร์ตรัฟส์ (มีอีกชื่อว่า รัฟส์ทาวเวอร์) แท่นนอกชายฝั่งในทะเลเหนือที่อยู่ห่างจากชายฝั่งเมืองซัฟฟอล์ก 12 กิโลเมตร (6 1⁄2 ไมล์ทะเล) เป็นดินแดนของตนเอง รัฟส์ทาวเวอร์เป็นป้อมทะเล Maunsell ที่ชาวบริติชสร้างขึ้นในน่านน้ำสากลช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง นับตั้งแต่ ค.ศ. 1967 รัฟส์ทาวเวอร์ที่ปลดประจำการถูกครอบครองและอ้างสิทธิเป็นรัฐอธิปไตยโดยครอบครัวและสมาคมแพดดี รอย เบตส์ เบตส์ยึดครองรัฟส์ทาวเวอร์จากผู้กระจายเสียงทางวิทยุเถื่อนใน ค.ศ. 1967 โดยมีความประสงค์ที่จะตั้งสถานีของตนเองที่นั่น ทหารรับจ้างเข้ารุกรานซีแลนด์ใน ค.ศ. 1978 แต่สามารถต้านทานการโจมตีได้ เมื่อสหราชอาณาจักรขยายน่านน้ำอาณาเขตไปเป็น 12 ไมล์ทะเลใน ค.ศ. 1987 ทำให้แท่นนั้นอยู่ในดินแดนของบริติช
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อ ค.ศ. 1943 สหราชอาณาจักรได้สร้าง เอชเอ็ม ฟอร์ตรัฟส์ (บางครั้งเรียกเป็น รัฟส์ทาวเวอร์) เป็นหนึ่งในป้อมปราการ Maunsell[1] โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อป้องกันเส้นทางเดินเรือที่สำคัญในบริเวณปากแม่น้ำใกล้เคียงจากเครื่องบินวางทุ่นระเบิดของเยอรมนี ประกอบด้วยฐานทุ่นลอยน้ำที่มีโครงสร้างด้านบนเป็นหอคอยกลวง 2 หลังเชื่อมกันด้วยดาดฟ้าที่สามารถเพิ่มโครงสร้างอื่น ๆ ได้ จากนั้นจึงลากตัวป้อมไปยังตำแหน่งเหนือสันดอนทราย Rough Sands โดยทำให้ฐานท่วมเพื่อให้มันจมลงไป ตัวฐานอยู่ห่างจากชายฝั่งซัฟฟอล์กประมาณ 7 ไมล์ทะเล (13 กิโลเมตร) ซึ่งอยู่นอกเขตอ้างสิทธิของสหราชอาณาจักรในเวลานั้น 3 ไมล์ทะเล (6 กิโลเมตร) ทำให้อยู่ในน่านน้ำสากล[1] มีทหารราชนาวีเข้าประจำการ 150–300 นายในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทหารประจำการนายสุดท้ายออกจากบริเวณนี้ใน ค.ศ. 1956[1] ส่วนป้อมปราการ Maunsell ถูกปลดประจำการในคริสต์ทศวรรษ 1950[2]
ครอบครองและจัดตั้งป้อมปราการแห่งนี้ถูกยึดครองโดยพันตรีแพดดี รอย เบตส์ อดีตนายทหารสื่อสารแห่งกองทัพบกสหราชอาณาจักร เพื่อใช้ตั้งเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงเถื่อน ต่อมาได้ประกาศตัวเป็นอิสระจากสหราชอาณาจักรเมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1967[3]
ใน ค.ศ. 1978 ขณะที่เบตส์ไม่ได้อยู่ในซีแลนด์ อเล็กซานเดอร์ อาเคนบาค (Alexander Achenbach) ผู้กล่าวอ้างว่าเป็นนายกรัฐมนตรีซีแลนด์พร้อมด้วยประชากรสัญชาติเยอรมันและดัชต์จำนวนหนึ่งได้ก่อการยึดอำนาจด้วยกำลัง จับไมเคิล บุตรชายของเบตส์ไว้ แล้วหลายวันต่อมาจึงนำไปปล่อยไว้ที่เนเธอร์แลนด์ เบตส์จึงรวบรวมกำลังพลและอาวุธยุทโธปกรณ์บุกยึดป้อมของตนคืนมาด้วยปฏิบัติการเฮลิคอปเตอร์ จับผู้ก่อการยึดอำนาจไว้เป็นเชลยศึก ผู้ก่อการส่วนใหญ่ถูกส่งกลับประเทศตนเมื่อสงครามจบสิ้น แต่อเล็กซานเดอร์ อาเคนบาค ทนายความชาวเยอรมันผู้ถือหนังสือเดินทางซีแลนด์ถูกตั้งข้อหากบฏต่อซีแลนด์และถูกคุมขังไว้จนกว่าจะได้จ่ายค่าเสียหายที่เรียกร้อง
รัฐบาลเยอรมันและเนเธอร์แลนด์เรียกร้องให้สหราชอาณาจักรให้ความช่วยเหลือในการส่งคืนเชลยสงครามเหล่านี้กลับสู่ประเทศของตน แต่สหราชอาณาจักรปฏิเสธโดยอ้างอิงคำพิพากษาของศาลที่ได้ชี้ขาดสถานะของซีแลนด์ไปแล้ว เบตส์เลิกล้มข้อเรียกร้องค่าเสียหายดังกล่าวหลังจากการต่อรองเป็นเวลาหลายสัปดาห์ แต่ก็กล่าวอ้างว่าการเจรจาทางการทูตที่เกิดขึ้นเป็นการยอมรับสถานภาพประเทศเอกราชของซีแลนด์โดยเยอรมนีไปโดยปริยาย เมื่ออเล็กซานเดอร์ อาเคนบาค ถูกส่งกลับประเทศแล้วกลับตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นขึ้นและสถาปนาตนเองเป็นประธานองคมนตรี และสืบทอดตำแหน่งดังกล่าวให้โยฮันเนส ซีเกอร์ (Johannes Seiger) ใน ค.ศ. 1989 ตราบจนปัจจุบัน ซีเกอร์ยังยืนยันอ้างสิทธิ์การปกครองของตนเองเหนือซีแลนด์
ไฟไหม้ใน ค.ศ. 2006ณ ตอนบ่ายวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 2006 พื้นที่ชั้นบนสุดของรัฟส์ทาวเวอร์เกิดเพลิงไหม้เนื่องจากไฟฟ้าขัดข้อง เฮลิคปเตอร์กู้ภัยของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักรส่งบุคคลเดียวจากหอไปยังโรงพยาบาลอิปสวิช เรือกู้ภัยแฮริชยังคงอยู่ที่รัฟส์ทาวเวอร์จนกระทั่งหน่วยดับเพลิงดับไฟ[4] ความเสียหายทั้งหมดได้รับการซ่อมแซมในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2006[5]
ผู้ก่อตั้งเสียชีวิตรอย เบตส์เสียชีวิตด้วยอายุ 91 ปีในวันที่ 9 ตุลาคม ค.ศ. 2012 เขาประสพกับโรคอัลไซเมอร์เป็ยเวลาหลายปี โดยไมเคิล ลูกชายของเขา เขาดำรงตำแหน่งของพ่อที่ซีแลนด์ต่อ[6][7] แม้ว่าเขายังคงอาศัยอยู่ที่ซัฟฟอล์กต่อ[8] ทั้งเขาและบรรดาลูกชายเปิดกิจการประมงครอบครัวชื่อ Fruits of the Sea[9] โจแอน เบตส์ ภรรยาของรอย เสียชีวิตที่บ้านพักคนชราเอสเซกซ์ด้วยอายุ 86 ปีในวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 2016[10]
การให้สถานะยอมรับSimon Sellars จาก The Australian และ Red Bull กล่าวถึงซีแลนด์เป็นประเทศที่เล็กที่สุดในโลก[11][12] แต่ซีแลนด์ไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐอธิปไตยใด ๆ อย่างเป็นทางการ ถึงกระนั้น รัฐบาลซีแลนด์อ้างว่า ประเทศเยอรมนีให้การยอมรับ โดยพฤตินัย เนื่องจากทางเยอรมนีเคยส่งทูตมายังซีแลนด์[13]
↑ 1.0 1.1 1.2 Zumerchik, John (2008). Seas and Waterways of the World: An Encyclopedia of History, Uses, and Issues. ABC-CLIO Ltd. p. 563. ISBN 978-1-85109-711-1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 June 2021. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021. ↑ "The Maunsell Sea Forts". HeritageDaily – Archaeology News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2020-05-20. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 November 2020. สืบค้นเมื่อ 2021-05-13. ↑ "History of Sealand". Government of Sealand. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-17. สืบค้นเมื่อ 2007-11-11. ↑ "Blaze at offshore military fort". BBC. 23 มิถุนายน 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2012. ↑ "Church and East renovation completion". Church and East. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2014. ↑ Braun, Adee (30 August 2013). "From the Sea, Freedom". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2021. สืบค้นเมื่อ 1 November 2021. Roy Bates died in 2012, and was succeeded by Prince Michael ↑ Alexander, Michael (2 August 2013). "Prince Roy of Sealand Memorial Coin Launched". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 November 2021. สืบค้นเมื่อ 1 November 2021. Prince Roy was succeeded by his only son, the Prince Regent – now Sovereign Prince Michael ↑ Ryan, John; Dunford, George; Sellars, Simon (2006). Micronations. Lonely Planet. pp. 9–12. ISBN 1-74104-730-7. ↑ Milmo, Cahal (March 18, 2016). "Sealand's Prince Michael on the future of an off-shore 'outpost of liberty'". Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 December 2017. สืบค้นเมื่อ 30 December 2017. ↑ Milmo, Cahal (14 March 2016). "'Princess Joan of Sealand' has died aged 86". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2021. สืบค้นเมื่อ 2 August 2020. ↑ "Skateboarding the World's Smallest Country: Red Bull All Access". YouTube. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 ธันวาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2013. ↑ "JOURNEYS – THE SPIRIT OF DISCOVERY: Simon Sellars braves wind and waves to visit the unlikely North Sea nation of Sealand". The Australian. 10 พฤศจิกายน 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 ธันวาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2007. ↑ Ryan, John; Dunford, George; Sellars, Simon (2006). Micronations. Lonely Planet. p. 11. ISBN 1-74104-730-7.
แสดงความเห็น