महात्मा गांधी ( มหาตมา คานธี )

โมหนทาส กรมจันท์ คานธี, 2 ตุลาคม 1869 – 30 มกราคม 1948) เป็นนักกฎหมาย, นักชาตินิยมต้านลัทธิอาณานิคม และ นักจริยธรรมการเมืองชาวอินเดีย ผู้นำเอาหลักการต่อต้านโดยสันติวิธีมาใช้นำพาขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชจากเจ้าอาณานิคมอังกฤษสำเร็จ สันติวิธีของคานธีมีอิทธิพลต่อขบวนการสิทธิพลเมืองและเสรีภาพทั่วโลก คำนำหน้านาม มหาตมา (Mahātmā) เพื่อให้เกียรติ เริ่มนำมาใช้ในแอฟริกาใต้ในปี 1914 และปัจจุบันใช้นำหน้านามของคานธีอยู่ทั่วไปจนถึงปัจจุบัน

คานธีเกิดและเติบโตในครอบครัวชาวฮินดูในชายฝั่งของคุชราต และเข้ารับการศึกษาด้านนิติศาสตร์ที่อินเนอร์เทมเพิล ลอนดอน ก่อนจะได้รับประสาทปริญญาเนติบัณฑิตด้วยวัย 22 เมื่อเดือนมิถุนายน 1891 หลังสองปีที่ไม่แน่นอนในอินเดียที่เขาไม่ประสบความสำเร็จในการว่าความเท่าไร เขาได้ย้ายไปยังแอฟริกาใต้ในปี 1893 เพื่อว่าความให้กับพ่อค้าชาวอินเดีย ก่อนที่จะอาศัยอยู่ที่นั่นนาน 21 ปี ระหว่างนี้เขาได้มีครอบครัวและเริ่มนำขบวนการต่อสู้โดยสันติวิธีเพื่อเรียกร้องสิทธิพลเมือง ในปี 1915 เมื่อวัย 45 เขาเดินทางกลับอินเดียและได้นำการประท้วงโดยทาส เกษตรกร และคนงานในเมือง เพื่อประท้วงต่อภาษีที่ดินที่สูงและการกดขี่

เขาเริ่มต้นนำคองเกรสแห่งชาติอินเดียในปี 1921 และเริ่มต้นนำขบวนการทั่วประเทศในการแก้ไขความยากจน ขยายสิทธิสตรี สร้างสัมพันธไมตรีระหว่างศาสนาและกลุ่มชาติพันธุ์ ยกเลิกสถานะอันแตะต้องไม่ได้ และที่สำคัญที่สุด คือการตั้ง สวราช หรือการปกครองตนเอง คานธีได้เริ่มสวม โธตี สั้น ที่ทอมาจากด้ายปั่นมือ เป็นสัญลักษณ์ในการแทนตนสำหรับคนยากไร้ในชนบทของอินเดีย เขาเข้าอยู่อาศัยในชุมชนพึ่งพาตนเอง, กินอาหารเรียบง่าย และก่อการอดอาหารยาวนาน เพื่อทั้งเป็นการสำรวจจิตใจตนเองและเป็นการประท้วงความอยุติธรรม คานธีได้นำพาแนวคิดชาตินิยมต้านเจ้าอาณานิคมอังกฤษมาสู่สามัญชนชาวอินเดีย และนำขบวนการต่อต้านภาษีเกลือผ่านการเดินขบวนเกลือระยะทาง 400 km (250 mi) ในปี 1930 พร้อมทั้งเรียกร้องให้อังกฤษออกจากอินเดียในปี 1942 คานธีเคยถูกจับขังหลายครั้งทั้งในแอฟริกาใต้และอินเดีย

ทัศนคติของคานธีต่ออินเดียในฐานะรัฐเอกราชมีรากฐานบนความเป็นพหุนิยมทางศาสนา แต่ฐานคิดนี้ถูกสั้นคลอนในทศวรรษ 1940s หลังขบวนการชาตินิยมมุสลิมได้เรียกร้องการตั้งดินแดนแยกสำหรับชาวมุสลิใภายในเขตของบริติชอินเดีย ในเดือนสิงหาคม 1947 อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษและถูกตัดแบ่งเป็นสองโดมิเนียน ได้แก่อินเดียที่มีฮินดูเป็นหลัก และ ปากีสถานที่มีมุสลิมเป็นหลัก ระหว่างที่ชาวฮินดู มุสลิม สิกข์ จำนวนมากทำการโยกย้ายถิ่นฐานไปยังดินแดนใหม่ ได้เกิดความรุนแรงระหว่างศาสนาขึ้นจำนวนมาก โดยเฉพาะในภูมิภาคปัญจาบและเบงกอล คานธีไม่ได้ปรากฏตัวในการเฉลิมฉลองเอกราชอย่างเป็นทางการ แต่กลับเดินทางไปยังพื้นที่ที่เกิดความรุนแรงเหล่านี้เพื่อพยายามแก้ไขสถานการณ์ เป็นเวลาหลายเดือนนับจากนั้นที่คานธีกระทำการอดอาหารประท้วงจำนวนมากเพื่อเรียกร้องให้หยุดความรุนแรงทางศาสนา โดยครั้งสุดท้ายมีขึ้นในเดลีเมื่อ 12 มกราคม 1948 เวลานั้น คานธีมีอายุ 78 ปี ในเวลานั้น มีความเชื่อแพร่กระจายไปทั่วว่าคานธีมีความแน่วแน่มากเกินในการปกป้องทั้งมุสลิมในอินเดียและปากีสถาน ซึ่งนำไปสู่การลอบสังหารคานธีโดยสมาชิกกองกำลังชาตินิยมฮินดู นถุราม โคทเส จากปูเณ คานธีถูกลอบสังหารด้วยปืนสามนัดเข้าที่อกและเสียชีวิตจากบาดแผลกระสุนปืนระหว่างการพบปะสวดภาวนาระหว่างศาสนาในเดลีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1948

อ่านต่อ

โมหนทาส กรมจันท์ คานธี, 2 ตุลาคม 1869 – 30 มกราคม 1948) เป็นนักกฎหมาย, นักชาตินิยมต้านลัทธิอาณานิคม และ นักจริยธรรมการเมืองชาวอินเดีย ผู้นำเอาหลักการต่อต้านโดยสันติวิธีมาใช้นำพาขบวนการต่อสู้เพื่อเอกราชจากเจ้าอาณานิคมอังกฤษสำเร็จ สันติวิธีของคานธีมีอิทธิพลต่อขบวนการสิทธิพลเมืองและเสรีภาพทั่วโลก คำนำหน้านาม มหาตมา (Mahātmā) เพื่อให้เกียรติ เริ่มนำมาใช้ในแอฟริกาใต้ในปี 1914 และปัจจุบันใช้นำหน้านามของคานธีอยู่ทั่วไปจนถึงปัจจุบัน

คานธีเกิดและเติบโตในครอบครัวชาวฮินดูในชายฝั่งของคุชราต และเข้ารับการศึกษาด้านนิติศาสตร์ที่อินเนอร์เทมเพิล ลอนดอน ก่อนจะได้รับประสาทปริญญาเนติบัณฑิตด้วยวัย 22 เมื่อเดือนมิถุนายน 1891 หลังสองปีที่ไม่แน่นอนในอินเดียที่เขาไม่ประสบความสำเร็จในการว่าความเท่าไร เขาได้ย้ายไปยังแอฟริกาใต้ในปี 1893 เพื่อว่าความให้กับพ่อค้าชาวอินเดีย ก่อนที่จะอาศัยอยู่ที่นั่นนาน 21 ปี ระหว่างนี้เขาได้มีครอบครัวและเริ่มนำขบวนการต่อสู้โดยสันติวิธีเพื่อเรียกร้องสิทธิพลเมือง ในปี 1915 เมื่อวัย 45 เขาเดินทางกลับอินเดียและได้นำการประท้วงโดยทาส เกษตรกร และคนงานในเมือง เพื่อประท้วงต่อภาษีที่ดินที่สูงและการกดขี่

เขาเริ่มต้นนำคองเกรสแห่งชาติอินเดียในปี 1921 และเริ่มต้นนำขบวนการทั่วประเทศในการแก้ไขความยากจน ขยายสิทธิสตรี สร้างสัมพันธไมตรีระหว่างศาสนาและกลุ่มชาติพันธุ์ ยกเลิกสถานะอันแตะต้องไม่ได้ และที่สำคัญที่สุด คือการตั้ง สวราช หรือการปกครองตนเอง คานธีได้เริ่มสวม โธตี สั้น ที่ทอมาจากด้ายปั่นมือ เป็นสัญลักษณ์ในการแทนตนสำหรับคนยากไร้ในชนบทของอินเดีย เขาเข้าอยู่อาศัยในชุมชนพึ่งพาตนเอง, กินอาหารเรียบง่าย และก่อการอดอาหารยาวนาน เพื่อทั้งเป็นการสำรวจจิตใจตนเองและเป็นการประท้วงความอยุติธรรม คานธีได้นำพาแนวคิดชาตินิยมต้านเจ้าอาณานิคมอังกฤษมาสู่สามัญชนชาวอินเดีย และนำขบวนการต่อต้านภาษีเกลือผ่านการเดินขบวนเกลือระยะทาง 400 km (250 mi) ในปี 1930 พร้อมทั้งเรียกร้องให้อังกฤษออกจากอินเดียในปี 1942 คานธีเคยถูกจับขังหลายครั้งทั้งในแอฟริกาใต้และอินเดีย

ทัศนคติของคานธีต่ออินเดียในฐานะรัฐเอกราชมีรากฐานบนความเป็นพหุนิยมทางศาสนา แต่ฐานคิดนี้ถูกสั้นคลอนในทศวรรษ 1940s หลังขบวนการชาตินิยมมุสลิมได้เรียกร้องการตั้งดินแดนแยกสำหรับชาวมุสลิใภายในเขตของบริติชอินเดีย ในเดือนสิงหาคม 1947 อินเดียได้รับเอกราชจากอังกฤษและถูกตัดแบ่งเป็นสองโดมิเนียน ได้แก่อินเดียที่มีฮินดูเป็นหลัก และ ปากีสถานที่มีมุสลิมเป็นหลัก ระหว่างที่ชาวฮินดู มุสลิม สิกข์ จำนวนมากทำการโยกย้ายถิ่นฐานไปยังดินแดนใหม่ ได้เกิดความรุนแรงระหว่างศาสนาขึ้นจำนวนมาก โดยเฉพาะในภูมิภาคปัญจาบและเบงกอล คานธีไม่ได้ปรากฏตัวในการเฉลิมฉลองเอกราชอย่างเป็นทางการ แต่กลับเดินทางไปยังพื้นที่ที่เกิดความรุนแรงเหล่านี้เพื่อพยายามแก้ไขสถานการณ์ เป็นเวลาหลายเดือนนับจากนั้นที่คานธีกระทำการอดอาหารประท้วงจำนวนมากเพื่อเรียกร้องให้หยุดความรุนแรงทางศาสนา โดยครั้งสุดท้ายมีขึ้นในเดลีเมื่อ 12 มกราคม 1948 เวลานั้น คานธีมีอายุ 78 ปี ในเวลานั้น มีความเชื่อแพร่กระจายไปทั่วว่าคานธีมีความแน่วแน่มากเกินในการปกป้องทั้งมุสลิมในอินเดียและปากีสถาน ซึ่งนำไปสู่การลอบสังหารคานธีโดยสมาชิกกองกำลังชาตินิยมฮินดู นถุราม โคทเส จากปูเณ คานธีถูกลอบสังหารด้วยปืนสามนัดเข้าที่อกและเสียชีวิตจากบาดแผลกระสุนปืนระหว่างการพบปะสวดภาวนาระหว่างศาสนาในเดลีเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1948

วันคล้ายวันเกิดของคานธี ซึ่งตรงกับวันที่ 2 ตุลาคม ได้รับการเฉลิมฉลองเป็นวันคานธีชยันตี ซึ่งเป็นวันหยุดราชการของอินเดีย และในระดับนานาชาติถือให้วันนี้เป็นวันแห่งสันติวิธีนานาชาติ คานธีได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งรัฐอินเดียยุคหลังอาณานิคม หลังการเสียชีวิต คานธีได้มักรับการเรียกขานว่า บาปู (Bapu; ภาษาคุชราต แปลว่า "พ่อ" คล้ายคำว่า "ปะป๊า")