हरिमन्दिर साहिब

( หริมันทิรสาหิบ )

หริมันทิรสาหิบ, ฮรมันดิรซาฮิบ หรือ หริมนเทียรสาหิบ (คุรมุขี: ਹਰਿਮੰਦਰ ਸਾਹਿਬ; เทวนาครี: हरिमन्दिर साहिब; อักษรโรมัน: Harmandir Sahib) หรือ วิหารทอง (Golden Temple) เป็นคุรุทวาราที่สำคัญที่สุดในศาสนาซิกข์ ตั้งอยู่ที่เมืองอมฤตสระ รัฐปัญจาบ ทางภาคเหนือของประเทศอินเดีย ชื่อของวิหารนั้นแปลว่า ที่สถิตของพระผู้เป็นเจ้า สถานที่อันเป็นที่ยกย่องว่าศักดิ์สิทธิ์สูงสุด (abode of God, exalted holy court) ในภาษาไทยได้มีผู้เรียกวิหารนี้อีกหลายชื่อ เช่น วิหารทองคำ, สุวรรณวิหาร เป็นต้น

วิหารนั้นสร้างขึ้นท่ามกลางสระน้ำ (สระน้ำอมฤต) ซึ่งสร้างโดยคุรุรามดาส (Guru Ram Das) ในปี ค.ศ. 1577 ต่อมา คุรุอาร์จัน (Guru Arjan) ซึ่งทรงเป็นคุรุศาสดาองค์ที่ 5 ตามความเชื่อของซิกข์ได้ทรงรับสั่งให้ไสเมียนมีระ (Sai Mian Mir) ผู้เป็นเปียร์ (pir) ชาวมุสลิมแห่ง ละฮอร์ วางศิลาฤกษ์ในปี ค.ศ. 1589 ต่อมาในปี ค.ศ. 1604 คุรุอาร์จันได้ประดิษฐานพระมหาคัมภีร์ อดิ กรันตะ (Adi Granth) (ซึ่งต่อมาเรียกว่า พระมหาคัมถีร์ คุรุกรันตสาหิบ) แ...อ่านต่อ

หริมันทิรสาหิบ, ฮรมันดิรซาฮิบ หรือ หริมนเทียรสาหิบ (คุรมุขี: ਹਰਿਮੰਦਰ ਸਾਹਿਬ; เทวนาครี: हरिमन्दिर साहिब; อักษรโรมัน: Harmandir Sahib) หรือ วิหารทอง (Golden Temple) เป็นคุรุทวาราที่สำคัญที่สุดในศาสนาซิกข์ ตั้งอยู่ที่เมืองอมฤตสระ รัฐปัญจาบ ทางภาคเหนือของประเทศอินเดีย ชื่อของวิหารนั้นแปลว่า ที่สถิตของพระผู้เป็นเจ้า สถานที่อันเป็นที่ยกย่องว่าศักดิ์สิทธิ์สูงสุด (abode of God, exalted holy court) ในภาษาไทยได้มีผู้เรียกวิหารนี้อีกหลายชื่อ เช่น วิหารทองคำ, สุวรรณวิหาร เป็นต้น

วิหารนั้นสร้างขึ้นท่ามกลางสระน้ำ (สระน้ำอมฤต) ซึ่งสร้างโดยคุรุรามดาส (Guru Ram Das) ในปี ค.ศ. 1577 ต่อมา คุรุอาร์จัน (Guru Arjan) ซึ่งทรงเป็นคุรุศาสดาองค์ที่ 5 ตามความเชื่อของซิกข์ได้ทรงรับสั่งให้ไสเมียนมีระ (Sai Mian Mir) ผู้เป็นเปียร์ (pir) ชาวมุสลิมแห่ง ละฮอร์ วางศิลาฤกษ์ในปี ค.ศ. 1589 ต่อมาในปี ค.ศ. 1604 คุรุอาร์จันได้ประดิษฐานพระมหาคัมภีร์ อดิ กรันตะ (Adi Granth) (ซึ่งต่อมาเรียกว่า พระมหาคัมถีร์ คุรุกรันตสาหิบ) และประทานชื่อให้กับวิหารนี้ว่า อัตสัตทิราถ (Ath Sath Tirath) ซึ่งแปลโดยตรงว่าสถานที่แห่ง 68 การแสงบุญอันศักดิ์สิทธิ์ ("shrine of 68 pilgrimages") วิหารนั้นได้รับการสร้างใหม่อย่างต่อเนื่อง เนื่องด้วยความศักดิ์สิทธิ์และความเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวซิกข์ จึงถูกทำลายอย่างต่อเนื่องทั้งจากกองทัพมุสลิมของอาณาจักรในอัฟกานิสถานและจากจักรวรรดิโมกุล เช่น การบุกทำลายของพระเจ้าอาห์เม็ด ชาห์ ทุรณี (Ahmad Shah Durrani) ในปี ค.ศ. 1757 และอีกครั้งในปี ค.ศ. 1762 มหาราชา พระนามว่า รันจิต สิงห์ (Maharaja Ranjit Singh) ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิซิกข์ ได้ทรงบูรณะวิหารใหม่ครั้งใหญ่โดยประดับด้วยหินอ่อนและทองแดงในปี ค.ศ. 1809 และประดับภายนอกด้วยทองคำเปลวในปี ค.ศ. 1830 ทำให้วิหารแห่งนี้ได้รับชื่อว่าเป็น "วิหารทองคำ" นับแต่นั้นมา

หริมันทรสาหิบจริง ๆ แล้วประกอบด้วยหมู่อาคารและคุรุทาวราอีกหลายแห่ง เช่น อกาลทัคต์ และภายในมีที่พักสำหรับผู้แสวงบุญและนักท่องเที่ยวที่ให้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย รวมทั้งโรงครัวพระศาสดา

Photographies by:
Balpreet26 - CC BY-SA 3.0
Cjsinghpup - CC BY-SA 4.0
Statistics: Position
272
Statistics: Rank
258863

แสดงความเห็น

Esta pregunta es para comprobar si usted es un visitante humano y prevenir envíos de spam automatizado.

Security
967842153Click/tap this sequence: 9581

Google street view

Where can you sleep near หริมันทิรสาหิบ ?

Booking.com
489.299 visits in total, 9.196 Points of interest, 404 Destinations, 126 visits today.