Skrik

( เสียงกรีดร้อง )

เสียงกรีดร้อง (นอร์เวย์: Skrik; อังกฤษ: The Scream) หรือ เสียงกรีดร้องของธรรมชาติ (เยอรมัน: Der Schrei der Natur) เป็นภาพวาดโดยเอ็ดวัด มุงก์ จิตรกรชาวนอร์เวย์ เป็นภาพบุคคลแสดงสีหน้าหวาดกลัวอยู่ด้านหน้า ด้านหลังมีบุคคลสองคนกำลังเดินห่างออกไป และด้านบนเป็นท้องฟ้าสีแดง มุงก์วาดภาพนี้ไว้ 4 ภาพและทำภาพพิมพ์หินจำนวนหนึ่ง โดยแบบที่เป็นที่รู้จักดีเป็นภาพวาดสีน้ำมัน สีฝุ่นเทมเพอรา และสีชอล์กบนกระดาษแข็งในปี ค.ศ. 1893 ปัจจุบันได้รับการจัดแสดงที่หอศิลป์แห่งชาติในกรุงออสโล

มุงก์กล่าวถึงที่มาของ เสียงกรีดร้อง ในบันทึกส่วนตัวเมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1892 ว่า

ผมกำลังเดินไปตามถนนกับเพื่อนสองคน ตอนนั้นดวงอาทิตย์กำลังตกดิน ทันใดนั้นท้องฟ้าก็เปลี่ยนเป็นสีแดงฉาน ผมหยุด รู้สึกหมดแรงและพิงตัวกับราวกั้น มันเหมือนมีเลือดและเปลวไฟลอยอยู่เหนือฟยอร์ดและเมืองที่ผมอยู่ เพื่อนผมเดินจากไปแล้ว แต่ผมยังอยู่ตรงนั้น ตัวสั่นเทาด้วยความวิตก และรู้สึกได้ถึงเสียงกรีดร้องที่ด...อ่านต่อ

เสียงกรีดร้อง (นอร์เวย์: Skrik; อังกฤษ: The Scream) หรือ เสียงกรีดร้องของธรรมชาติ (เยอรมัน: Der Schrei der Natur) เป็นภาพวาดโดยเอ็ดวัด มุงก์ จิตรกรชาวนอร์เวย์ เป็นภาพบุคคลแสดงสีหน้าหวาดกลัวอยู่ด้านหน้า ด้านหลังมีบุคคลสองคนกำลังเดินห่างออกไป และด้านบนเป็นท้องฟ้าสีแดง มุงก์วาดภาพนี้ไว้ 4 ภาพและทำภาพพิมพ์หินจำนวนหนึ่ง โดยแบบที่เป็นที่รู้จักดีเป็นภาพวาดสีน้ำมัน สีฝุ่นเทมเพอรา และสีชอล์กบนกระดาษแข็งในปี ค.ศ. 1893 ปัจจุบันได้รับการจัดแสดงที่หอศิลป์แห่งชาติในกรุงออสโล

มุงก์กล่าวถึงที่มาของ เสียงกรีดร้อง ในบันทึกส่วนตัวเมื่อวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1892 ว่า

ผมกำลังเดินไปตามถนนกับเพื่อนสองคน ตอนนั้นดวงอาทิตย์กำลังตกดิน ทันใดนั้นท้องฟ้าก็เปลี่ยนเป็นสีแดงฉาน ผมหยุด รู้สึกหมดแรงและพิงตัวกับราวกั้น มันเหมือนมีเลือดและเปลวไฟลอยอยู่เหนือฟยอร์ดและเมืองที่ผมอยู่ เพื่อนผมเดินจากไปแล้ว แต่ผมยังอยู่ตรงนั้น ตัวสั่นเทาด้วยความวิตก และรู้สึกได้ถึงเสียงกรีดร้องที่ดังมาจากสภาพแวดล้อมนั้น

มีการระบุว่าสถานที่ในภาพคือเนินเขาเอเกอบาร์ที่มองลงไปเห็นกรุงออสโลและฟยอร์ดออสโล ซึ่งในช่วงเวลาที่มุงก์วาดภาพนี้ เขามาเยี่ยมน้องสาวที่ป่วยเป็นโรคอารมณ์สองขั้วที่โรงพยาบาลจิตเวชที่ตั้งอยู่ที่ตีนเขา ในปี ค.ศ. 1978 รอเบิร์ต โรเซนบลัม นักประวัติศาสตร์ศิลป์ชาวอเมริกันเสนอว่ามุงก์อาจได้รับแรงบันดาลใจในการวาดบุคคลที่แสดงสีหน้าหวาดกลัวมาจากมัมมี่เปรูที่มุงก์เห็นในงานนิทรรศการโลกที่กรุงปารีสในปี ค.ศ. 1889

มีความพยายามในการอธิบายถึงสีท้องฟ้าในภาพ ทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่ามาจากความทรงจำของมุงก์ที่เห็นท้องฟ้าที่ได้รับผลกระทบจากการปะทุของภูเขาไฟกรากะตัวเมื่อสิบปีก่อน ส่งผลให้ท้องฟ้ายามเย็นของซีกโลกตะวันตกมีสีแดงจัดนานหลายเดือน ในขณะที่อีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่าเป็นผลมาจากเมฆมุก (nacreous cloud หรือ polar stratospheric cloud) ซึ่งเป็นเมฆที่ก่อตัวที่ชั้นสตราโตสเฟียร์และเกิดการเลี้ยวเบนของแสงจนปรากฏเป็นสีรุ้ง

เสียงกรีดร้อง เป็นหนึ่งในผลงานที่เป็นที่รู้จักดีของมุงก์ และเป็นหนึ่งในผลงานที่ส่งผลให้เกิดกลุ่มลัทธิสำแดงพลังอารมณ์ ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สีหน้าที่แสดงถึงความหวาดวิตกและสภาพแวดล้อมที่บิดเบี้ยว ทำให้ภาพนี้มักถูกเชื่อมโยงกับความผิดปกติทางจิต นอกจากนี้ยังส่งอิทธิพลต่อผลงานอื่น ๆ ในยุคหลัง เช่น หน้ากากโกสต์เฟซในภาพยนตร์ หวีดสุดขีด, ตัวละครไซเลนซ์ในซีรีส์ ดอกเตอร์ฮู และงานล้อเลียนอีกจำนวนมาก

Photographies by:
Edvard Munch - Public domain
Statistics: Position
257
Statistics: Rank
263418

แสดงความเห็น

Esta pregunta es para comprobar si usted es un visitante humano y prevenir envíos de spam automatizado.

Security
659187243Click/tap this sequence: 4166

Google street view

Where can you sleep near เสียงกรีดร้อง ?

Booking.com
489.981 visits in total, 9.198 Points of interest, 404 Destinations, 30 visits today.