Россия

ประเทศรัสเซีย
Ninara from Helsinki, Finland - CC BY 2.0 JialiangGao www.peace-on-earth.org - CC BY-SA 3.0 Tamten at cs.wikipedia - Public domain Original uploader was Buzava at en.wikipedia - Public domain sanil - CC0 Sergey Ashmarin - CC BY-SA 3.0 Sorovas - CC BY-SA 3.0 Batintherain at English Wikipedia - Public domain Robert Nunn from London, UK - CC BY-SA 2.0 sanil - CC0 Vyacheslav Argenberg - CC BY 4.0 Florstein (Telegram:WikiPhoto.Space) - CC BY-SA 4.0 Минин. The original uploader was Egor Minin at Russian Wikipedia. - CC BY-SA 3.0 Florstein (Telegram:WikiPhoto.Space) - CC BY-SA 4.0 Shtelmochka - CC BY 4.0 Anthospace - CC BY-SA 3.0 Апарин Алексей (Заводской) - CC BY-SA 4.0 Ratigan at French Wikipedia - CC BY-SA 3.0 User:MatthiasKabel - CC BY-SA 3.0 CHK46 - CC BY-SA 4.0 sanil - CC0 A.Savin - CC BY-SA 3.0 w:en:User:Saaska - Copyrighted free use Станислав Шинкаренко - CC BY-SA 4.0 VasilyevaED - CC BY-SA 4.0 Butorin - CC BY-SA 4.0 Florstein (Telegram:WikiPhoto.Space) - CC BY-SA 4.0 Денис Пономарев - CC BY-SA 4.0 Отачкин А.Е - Public domain Sorovas - CC BY-SA 3.0 Nakh - Public domain zarmel http://www.geodiversite.net/auteur2 - CC BY-SA 3.0 Sorovas - CC BY-SA 3.0 Azmanova Natalia - CC BY-SA 4.0 sanil - CC0 kuhnmi - CC BY 2.0 Samantha Cristoforetti - CC BY 2.0 Butorin - CC BY-SA 4.0 Florstein (Telegram:WikiPhoto.Space) - CC BY-SA 4.0 Ministry of Defence of the Russian Federation - CC BY 4.0 Татьяна Лисицына - CC BY-SA 4.0 M.Dirgėla - CC BY-SA 3.0 Тимур Агиров - CC BY-SA 4.0 Sorovas - CC BY-SA 3.0 sanil - CC0 Slavyanochka - CC BY-SA 4.0 MAK - Public domain Ahsartag - Public domain Татьяна Лисицына - CC BY-SA 4.0 Денис Пономарев - CC BY-SA 4.0 kuhnmi - CC BY 2.0 Krytsyn Vlad - CC BY-SA 3.0 No images

Context of ประเทศรัสเซีย

รัสเซีย (อังกฤษ: Russia; รัสเซีย: Росси́я, อักษรโรมัน: Rossiya, ออกเสียง: [rɐˈsʲijə] ( ฟังเสียง)) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลกด้วยพื้นที่กว่า 17,098,246 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด ด้วยประชากรกว่า 146 ล้านคน รัสเซียจึงเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก และมากที่สุดในยุโรป รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 89 เขตการปกครอง อาณาเขตของรัสเซียแผ่ข้ามสิบเอ็ดเขตเวลา มีพรมแดนติดกับ 16 ประเทศ ถือเป็นประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศอื่นมากที่สุดในโลก โดยอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่เอเชียเหนือทั้งหมด และพื้นที่กว่า 40% ของยุโรป เมืองหลวงและเมืองขนาดใหญ่ที่สุดคือมอสโก โดยมีเซนต์ปีเตอส์เบิร์กเป็นศูนย์กลางทา...อ่านต่อ

รัสเซีย (อังกฤษ: Russia; รัสเซีย: Росси́я, อักษรโรมัน: Rossiya, ออกเสียง: [rɐˈsʲijə] ( ฟังเสียง)) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สหพันธรัฐรัสเซีย เป็นประเทศในยูเรเชียเหนือ และเป็นประเทศใหญ่ที่สุดในโลกด้วยพื้นที่กว่า 17,098,246 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถอยู่อาศัยของโลกถึงหนึ่งในแปด ด้วยประชากรกว่า 146 ล้านคน รัสเซียจึงเป็นชาติมีประชากรมากที่สุดอันดับที่ 9 ของโลก และมากที่สุดในยุโรป รัสเซียปกครองด้วยระบอบสหพันธ์สาธารณรัฐกึ่งประธานาธิบดี ประกอบด้วย 89 เขตการปกครอง อาณาเขตของรัสเซียแผ่ข้ามสิบเอ็ดเขตเวลา มีพรมแดนติดกับ 16 ประเทศ ถือเป็นประเทศที่มีพรมแดนติดกับประเทศอื่นมากที่สุดในโลก โดยอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่เอเชียเหนือทั้งหมด และพื้นที่กว่า 40% ของยุโรป เมืองหลวงและเมืองขนาดใหญ่ที่สุดคือมอสโก โดยมีเซนต์ปีเตอส์เบิร์กเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมและเป็นเมืองใหญ่อันดับสอง เมืองสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ โนโวซีบีสค์, เยคาเตรินบุร์ก, นิจนีนอฟโกรอด และ คาซัน

ประวัติศาสตร์ของชาติเริ่มขึ้นด้วยชาวสลาฟตะวันออก ผู้ถือกำเนิดขึ้นเป็นกลุ่มที่โดดเด่นได้ในยุโรประหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 3 ถึงที่ 8 รัฐรุสในสมัยกลาง ซึ่งก่อตั้งและปกครองโดยอภิชนนักรบวารันเจียนและผู้สืบเชื้อสาย เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 9 ใน พ.ศ. 1531 มีการรับศาสนาคริสต์นิกายออร์โธด็อกซ์จากจักรวรรดิไบแซนไทน์ เริ่มต้นการประสมวัฒนธรรมไบแซนไทน์และสลาฟซึ่งนิยามวัฒนธรรมรัสเซียเป็นเวลาอีกสหัสวรรษหน้า ท้ายที่สุด รุสล่มสลายเป็นรัฐขนาดเล็กหลายรัฐ พื้นที่ส่วนใหญ่ของรุสถูกพิชิตโดยการรุกรานของมองโกล และกลายเป็นรัฐบรรณาการของโกลเดนฮอร์ดเร่ร่อน อาณาจักรแกรนด์ดยุคแห่งมอสโกค่อย ๆ รวมราชรัฐรัสเซียในละแวก ได้รับเอกราชจากโกลเดนฮอร์ด และมาครอบงำมรดกทางวัฒนธรรมและการเมืองของเคียฟรุส จนคริสต์ศตวรรษที่ 18 รัสเซียได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางผ่านการพิชิตดินแดน การผนวก และการสำรวจเป็นของจักรวรรดิรัสเซีย นับเป็นจักรวรรดิใหญ่ที่สุดอันดับสามในประวัติศาสตร์ แผ่จากโปแลนด์ในยุโรปจรดอะแลสกาในอเมริกาเหนือ

หลังการปฏิวัติรัสเซีย รัสเซียกลายมาเป็นสาธารณรัฐใหญ่ที่สุดและผู้นำในสหภาพโซเวียต เป็นรัฐสังคมนิยมมีรัฐธรรมนูญแห่งแรกของโลกและอภิมหาอำนาจที่ได้การยอมรับ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่สอง สมัยโซเวียตได้ประสบความสำเร็จทางเทคโนโลยีที่สำคัญที่สุดของคริสต์ศตรวรรษที่ 20 รวมทั้งการส่งมนุษย์คนแรกขึ้นสู่อวกาศ และผลิตดาวเทียมดวงแรกของโลก และยังเป็นหนึ่งในอภิมหาอำนาจร่วมกับสหรัฐในช่วงสงครามเย็น สหพันธรัฐรัสเซียก่อตั้งขึ้นหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน พ.ศ. 2534 แต่ได้รับการยอมรับสถานะเป็นนิติบุคคลที่สืบทอดจากสหภาพโซเวียต รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ถูกนำมาใช้ภายหลังวิกฤตการณ์รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2536 วลาดีมีร์ ปูติน มีบทบาททางการเมืองอย่างสูงนับตั้งแต่การเลือกตั้งใน พ.ศ. 2543 ประเทศถูกครอบงำโดยลัทธิอำนาจนิยมเบ็ดเสร็จ ปัจจุบันรัสเซียถูกจัดอยู่ในอันดับต่ำในด้านเสรีภาพสื่อและสิทธิมนุษยชน และมีการรับรู้การฉ้อราษฎร์บังหลวงสูง

รัสเซียมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดอันดับที่ 9 ของโลกโดยจีดีพีมูลค่าตลาด หรือใหญ่ที่สุดอันดับที่ 6 โดยความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ โดยมีงบประมาณทางทหารมากที่สุดอันดับที่ 5 ของโลก รัสเซียเป็นหนึ่งในห้ารัฐอาวุธนิวเคลียร์ที่ได้รับการรับรองและครอบครองคลังแสงอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงใหญ่ที่สุดในโลก ถือเป็นมหาอำนาจและสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และยังเป็นสมาชิก กลุ่ม 20 สภายุโรป ความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก องค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้ สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย องค์การว่าด้วยความมั่นคงและความร่วมมือในยุโรป องค์การการค้าโลก องค์การสนธิสัญญาความมั่นคงร่วมกัน สหภาพเศรษฐกิจยูเรเชีย และเป็นสมาชิกผู้นำเครือจักรภพรัฐเอกราช อดีตสมาชิกกลุ่ม 7 และมีแหล่งมรดกโลกมากถึง 30 รายการ รัสเซียมีปริมาณทรัพยากรแร่ธาตุและพลังงานสำรองใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลก เช่นเดียวกับผู้ผลิตน้ำมันอันดับหนึ่งทั่วโลก มีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดในโลก และทะเลสาบในรัสเซียบรรจุน้ำจืดประมาณหนึ่งในสี่ของโลก

More about ประเทศรัสเซีย

Basic information
Population, Area & Driving side
  • Population 137550949
  • Area 17075400
  • Driving side right
ประวัติ
  • ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์รัสเซีย
    ยุคเริ่มแรก
     
    อาณาจักรเคียฟรุสในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11

    ชาวสลาฟตะวันออกเป็นชนชาติแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในรัสเซียบริเวณแม่น้ำนีเปอร์และแม่น้ำวอลกาทางตอนใต้ของประเทศ ส่วนทางตอนเหนือชนชาติสแกนดิเนเวียและไวกิ้งที่รู้จักกันในนามวารันเจียน ได้ตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น้ำเนวา และทะเลสาบลาโดกา ทำการติดต่อค้าขายกับชาวสลาฟ แต่แล้วใน ค.ศ. 880 กษัตริย์แห่งวาแรนเจียนนามรูลิค ก็เข้ามายึดเมืองเคียฟของชาวสลาฟและตั้งเคียฟเป็นเมืองหลวง โดยผนวกดินแดนทางเหนือกับใต้เข้าด้วยกันแล้วขนานนามว่า เคียฟรุส (Kievan Rus') และสถาปนาราชวงศ์รูริคขึ้น

    ...อ่านต่อ
    ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์รัสเซีย
    ยุคเริ่มแรก
     
    อาณาจักรเคียฟรุสในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11

    ชาวสลาฟตะวันออกเป็นชนชาติแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในรัสเซียบริเวณแม่น้ำนีเปอร์และแม่น้ำวอลกาทางตอนใต้ของประเทศ ส่วนทางตอนเหนือชนชาติสแกนดิเนเวียและไวกิ้งที่รู้จักกันในนามวารันเจียน ได้ตั้งถิ่นฐานบริเวณแม่น้ำเนวา และทะเลสาบลาโดกา ทำการติดต่อค้าขายกับชาวสลาฟ แต่แล้วใน ค.ศ. 880 กษัตริย์แห่งวาแรนเจียนนามรูลิค ก็เข้ามายึดเมืองเคียฟของชาวสลาฟและตั้งเคียฟเป็นเมืองหลวง โดยผนวกดินแดนทางเหนือกับใต้เข้าด้วยกันแล้วขนานนามว่า เคียฟรุส (Kievan Rus') และสถาปนาราชวงศ์รูริคขึ้น

    ใน ค.ศ. 978 เจ้าชายวลาดีมีร์ โมโนมัค ขึ้นครองราชย์และทรงนำศาสนาคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์แห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์เข้าสู่รัสเซีย ซึ่งต่อมามีบทบาทและอิทธิพลอย่างสูงต่อศิลปะ สถาปัตยกรรมและวัฒนธรรมของประเทศ ในช่วงศตวรรษที่ 11 เคียฟเป็นนครหลวง ศูนย์รวมของอำนาจกษัตริย์และเป็นศูนย์กลางของคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ ในขณะที่เมืองอื่น ๆ ก็มีประชากรก่อตั้งขึ้นมาเช่นกัน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้กล่าวอ้างถึงมอสโกครั้งแรกใน ค.ศ. 1147 ว่าเจ้าชายยูริ ดอลโกรูกี มกุฎราชกุมารแห่งนครเคียฟ มีรับสั่งให้สร้างป้อมปราการไม้หรือ "เครมลิน" (Kremlin) ขึ้นที่เนินเขาโบโรวิตสกายา ริมแม่น้ำมอสควา และตั้งชื่อเมืองว่า "มอสโก" (Moscow)

    อาณาจักรมัสโควี
    ดูบทความหลักที่: อาณาจักรมัสโควี

    ต่อมาในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 กองทัพมองโกลนำโดยบาตูข่านเข้ารุกรานรัสเซียและยึดเมืองเคียฟได้สำเร็จ หลังจากนั้นรัสเซียก็ถูกตัดขาดจากโลกภายนอก โดยถูกควบคุมทางการเมือง การปกครอง และยังต้องจ่ายภาษีให้กับชาวมองโกล กษัตริย์และพระราชาคณะจึงย้ายศูนย์กลางอำนาจขึ้นมาทางตอนเหนือ

    ในปี 1328 พระเจ้าอีวานที่ 1 ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์ พระองค์ทรงมีฉายาว่าอีวานถุงเงิน เนื่องจากทรงเก็บส่วยและเครื่องบรรณาการเพื่อส่งให้แก่ชาวมองโกล และในยุคนี้เองที่กษัตริย์ได้ย้ายที่ประทับมาที่มอสโก ต่อมาในยุคของพระเจ้าอีวานที่ 2 (ค.ศ. 1353-1359) ชาวมองโกลเริ่มเสื่อมอำนาจ เจ้าชายดมิตรี โอรสแห่งพระเจ้าอีวานที่ 2 ทรงขับไล่มองโกลได้สำเร็จในการรบที่คูลีโคโวบนฝั่งแม่น้ำดอน ต่อมาในปี 1380 พระองค์ทรงได้รับการสถาปนาเป็น ดมีตรี ดอนสกอย (ดมีตรีแห่งแม่น้ำดอน) ได้รวมเมืองวลาดิมีร์และซุลดัล อันเป็นเมืองสำคัญของอาณาจักรมัสโควี และยังได้บูรณะเครมลินเป็นกำแพงหินขาวแทนไม้โอ๊ก มอสโกจึงมีอีกชื่อเรียกว่า เมืองกำแพงหินขาว ในยุคนั้น แต่เพียงไม่นานพวกตาตาร์ก็กลับมาทำลายเครมลินจนพินาศ รัสเซียต้องเป็นเมืองขึ้นของตาตาร์อีกครั้งหนึ่งในปี 1382

    จนเข้าสู่สมัยของพระเจ้าอีวานที่ 3 หรือพระเจ้าอีวานมหาราช (ค.ศ. 1462-1505) พระองค์ทรงอภิเษกกับหลานสาวของจักรพรรดิองค์ก่อนแห่งไบแซนไทน์ในปี 1472 และรับอินทรีสองเศียรเป็นสัญลักษณ์ของรัสเซีย ในยุคของพระองค์ได้รวบรวมดินแดนให้กลับเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง ใน ค.ศ. 1480 ทรงขับไล่กองกำลังตาตาร์ออกจากรัสเซียจนหมดสิ้น ปิดฉากสองศตวรรษภายใต้การปกครองของมองโกล ทรงบูรณะเครมลินให้เป็นหอคอยสูงและโบสถ์งดงามไว้ภายในเครมลิน นับเป็นยุคแห่งความรุ่งเรืองของรัสเซีย

    ปี 1574 พระเจ้าอีวานที่ 4 (1533-1584) หลานของพระเจ้าอีวานมหาราช ได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าซาร์องค์แรก (ซาร์ มาจากคำว่า ซีซาร์ ผู้ครองอำนาจแห่งจักรวรรดิโรมันและไบแซนไทน์) [1] พระองค์ทรงปกครองอาณาจักรด้วยความเหี้ยมโหด ปราศจากความเมตตา ว่ากันว่ามีรับสั่งให้ควักลูกตาสถาปนิกผู้ออกแบบสร้างมหาวิหารเซนต์บาซิล เพื่อมิให้สร้างสิ่งก่อสร้างที่งดงามเช่นนี้ได้ที่ใดอีก ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงถูกขนานนามว่า อีวานผู้โหดเหี้ยม ต่อมาเมื่อหมดยุคของพระองค์ใน ค.ศ. 1584 มอสโกก็ประสบปัญหาทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างรุนแรง มีการแย่งชิงราชบัลลังก์ระหว่างราชวงศ์รูริค และโรมานอฟ ในที่สุดสมัชชาแห่งชาติและพระราชาคณะแห่งคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ก็มีมติเลือก มีฮาอิล โรมานอฟ ขึ้นเป็นซาร์พระองค์แรกแห่งราชวงศ์โรมานอฟ

    จักรวรรดิรัสเซีย
    ดูบทความหลักที่: จักรวรรดิรัสเซีย

    ค.ศ. 1613-1917 พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 มหาราช (ค.ศ. 1682-1725) ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์รัสเซีย พระองค์ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่พระชนมายุ 10 ชันษา พร้อมกับพระเจ้าอีวานที่ 5 (เป็นกษัตริย์บัลลังก์คู่) จนในปี 1696 เมื่อพระเจ้าอีวานที่ 5 สิ้นพระชนม์ พระเจ้าปีเตอร์ที่ 1 มหาราช จึงมีพระราชอำนาจโดยแท้จริง ในยุคของพระองค์ทรงขยายอาณาเขตรัสเซียออกไปทางตะวันออกถึงวลาดีวอสตอค และทรงใช้นโยบายสู้ตะวันตก ทรงนำรัสเซียเข้าสู่ยุคใหม่ โดยใน ค.ศ. 1712 ทรงย้ายเมืองหลวงจากมอสโกมาที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก และเป็นครั้งแรกที่มีการจัดตั้งกองทหารราชนาวีขึ้นในรัสเซีย ทั้งยังทรงนำช่างฝีมือจากฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี และสวิตเซอร์แลนด์ มาสร้างวิหารและพระราชวังที่งดงามอีกมากมาย และทรงนำพาจักรวรรดิรัสเซียให้เป็นที่รู้จักเกรียงไกรในสังคมโลก ถัดจากพระเจ้าปีเตอร์มหาราชยังมีซาร์และซารีนาอีกหลายพระองค์ที่สืบราชบัลลังก์ ทว่าผู้ที่สร้างความเจริญเฟื่องฟูให้กับรัสเซียสูงสุด ได้แก่ พระนางเจ้าแคทเธอรีนที่ 2 (ค.ศ. 1762-1796) พระนางได้รับการยกย่องให้เป็นราชินี ด้วยทรงเชี่ยวชาญด้านการปกครองอย่างมาก กระนั้นพระนางก็มีชื่อเสียงด้านลบด้วยพระนางมีคู่เสน่หามากมาย

    ผู้สืบราชวงศ์องค์ต่อมาคือ พระเจ้าพอลที่ 1 (ค.ศ. 1796-1801) พระราชโอรสของพระนางเจ้าแคทเทอรีน ทรงครองราชย์อยู่เพียงระยะสั้น จากนั้นพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 (1801- 1825) พระราชโอรสสืบพระราชบัลลังก์ต่อ ในปี 1812 ทรงทำศึกชนะจักรพรรดินโปเลียนแห่งฝรั่งเศส แต่แล้วในช่วงปลายรัชกาล เกิดกระแสการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบบรัฐสภา ปี 1825 เกิดกบฏต่อต้านราชวงศ์ขึ้นในเดือนธันวาคม เรียก กบฏธันวาคม (Decembrist Movement) แต่พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1 (ค.ศ. 1825-1855) ก็ทรงปราบกลุ่มผู้ต่อต้านไว้ได้ พอมาในสมัยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 2 (ค.ศ. 1855-1881) พระองค์ทรงมีฉายาว่า Tzar Liberator (ซาร์ผู้ปลดปล่อย) เนื่องจากพระองค์ทรงปลดปล่อยทาสติดที่ดิน (Serf) หลายล้านคนให้พ้นจากการเป็นทาส แต่พระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์ที่นครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กในปี 1881 ทิ้งไว้เพียงอนุสรณ์สถานที่สร้างอุทิศแด่พระองค์ ณ จุดที่ถูกลอบปลงพระชนม์ ซาร์องค์ต่อมาคือ อเล็กซานเดอร์ที่ 3 (ค.ศ. 1881-1894) จนถึงซาร์องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์โรมานอฟ พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 (1894-1917) ความเหลื่อมล้ำกันทางชนชั้น และความยากจน ก่อให้เกิดการปฏิวัติเป็นครั้งแรกโดยกรรมการชาวนาในวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 1905 [1] ซึ่งมีผู้ถูกยิงเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เรียกเหตุการณ์ครั้งนั้นว่า วันอาทิตย์เลือด Bloody Sunday และสุดท้ายคือการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 กระนั้นชนวนที่ทำให้ราชวงศ์โรมานอฟและระบอบซาร์ถึงกาลอวสานก็มีปัจจัยอื่นเช่นกัน

    สมัยสหภาพโซเวียต

    การตัดสินใจเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ของซาร์นิโคลัสที่ 2 นั้นนำมาซึ่งความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง ทั้งชีวิตของทหารและชาวรัสเซียนับล้านที่เมื่อรัสเซียเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ การจลาจลเกิดขึ้นทั่วเมือง ในที่สุดปี 1917 จึงเกิดการปฏิวัติล้มล้างระบบซาร์ พระเจ้านิโคลัสที่ 2 สละราชสมบัติ มีการจัดตั้งคณะรัฐบาลเฉพาะกิจเคอเรนสกีขึ้นบริหารประเทศ แต่พรรคบอลเชวิค (Bolshevik) นำโดยวลาดีมีร์ เลนินก็ทำการปฏิวัติยึดอำนาจการบริหารประเทศไว้ได้ โดยการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ พร้อมทั้งประกาศให้ประเทศเป็น สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (Union of Soviet Socialist Repubilcs หรือ USSR)

    ค.ศ. 1918 ย้ายเมืองหลวงและฐานอำนาจกลับสู่มอสโก กระนั้นก็ยังมีผู้ไม่พอใจกับสภาพแร้นแค้น การขาดสิทธิเสรีภาพ จึงทำให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นหลายต่อหลายครั้ง เลนินถึงแก่อสัญกรรมในปี 1924 โจเซฟ สตาลิน (1924-1953) ขึ้นบริหารประเทศแทนด้วยความเผด็จการ และกวาดล้างทุกคนผู้ที่มีความคิดต่อต้าน เขาเปิดการพัฒนาประเทศสู่อุตสาหกรรมสมัยใหม่ จนเทียบเคียงสหรัฐอเมริกา แต่ปัญหาความอดอยาก ที่เรื้อรังมานานก็ยากเกินเยียวยา และยิ่งเลวร้ายเมื่อฮิตเลอร์สั่งล้อมมอสโกไว้ โดยเฉพาะที่เซนต์ปีเตอร์สเบิร์กถูกปิดล้อมไว้นานถึง 900 วันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ชาวรัสเซียเรียกสงครามครั้งนั้นว่า มหาสงครามของผู้รักชาติ (The Great Patriotic War) กระนั้นสตาลินก็มีบทบาทในการพิชิตนาซีเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1941-1945) นี้ไว้ได้

    ค.ศ. 1955 นีกีตา ครุชชอฟ ขึ้นดำรงตำแหน่งผู้นำโดยมีแนวคิดในการบริหารประเทศที่เน้นการอยู่ร่วมกัน มีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ให้เป็นที่อยู่อาศัยของประชาชน ผ่อนคลายความเข้มงวดให้น้อยกว่าสมัยสตาลิน รวมถึงเปิดเครมลินเป็นพิพิธภัณฑ์ให้ประชาชนได้เข้าชมอีกด้วย ปี 1964 ครุชชอฟลาออกจากตำแหน่งเลขาธิการพรรคแทน เบรจเนฟแผ่อิทธิพลไปถึงจีน คิวบา และอัฟกานิสถาน เพิ่มความเครียดไปทั่วโลก เขาจึงนำนโยบายต่างประเทศที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางในชื่อ การผ่อนคลายความตึงเครียด มาใช้โดยปี 1980 มอสโกได้เป็นเจ้าภาพในการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 22

    ค.ศ. 1985 มิฮาอิล กอร์บาชอฟขึ้นดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมิวนิสต์ เขาเป็นผู้นำการปฏิรูปโครงสร้างการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่เรียกว่า เปเรสตรอยคา (Perestroyka) โดยนำพาประเทศเข้าสู่ระบบทุนนิยม มีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และพัฒนาฝีมือแรงงานรวมถึงเสนอนโยบายเปิดกว้างกลัสนอสต์ (Glasnost) คือให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณชน มีการติดต่อด้านการค้ากับตะวันตก รวมถึงถอนกำลังออกจากยุโรปตะวันออกและอัฟกานิสถานและยังได้เข้าร่วมกับองค์การนาโต หรือองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ ใน ค.ศ. 1990 กอร์บาชอฟได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ รวมถึงได้รับยกย่องจากนิตยสารไทม์เป็นบุรุษแห่งทศวรรษ (Man of the Decade) กระนั้นปัญหาขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภค และความล้าหลังทางการผลิตที่สั่งสมมานานก็ทำให้นโยบายเปเรสตรอยกาล้มเหลว ความนิยมในกอร์บาชอฟเริ่มตกลง ต่อมาเกิดรัฐประหารขึ้นในเดือนสิงหาคม 1991 โดยกลุ่มคอมมิวนิสต์หัวเก่าที่ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงสู่ตลาดเสรี แต่บอริส เยลต์ซิน ก็สามารถกู้สถานการณ์เอาไว้ได้ กอร์บาชอฟจึงสิ้นคะแนนนิยมอย่างแท้จริง เขาประกาศลาออกจากตำแหน่ง รวมถึงประกาศยกเลิกพรรคคอมมิวนิสต์ต่อหน้ามหาชน พร้อมด้วยการก้าวขึ้นเป็นผู้นำของเยลต์ชิน สหภาพโซเวียตจึงล่มสลาย สาธารณรัฐต่าง ๆ ทั้ง 15 สาธารณรัฐแยกตัวเป็นอิสระ รวมทั้งสาธารณรัฐรัสเซีย (Russian SFSR) ภายใต้ชื่อใหม่ว่า สหพันธรัฐรัสเซีย

    สหพันธรัฐรัสเซีย

    บอริส เยลต์ซินได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีรัสเซียเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2534 ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรงครั้งแรกในประวัติศาสตร์รัสเซีย ระหว่างและหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ได้มีการปฏิรูปอย่างกว้างขวาง รวมทั้งการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนการเปิดเสรีตลาดและการค้า[2] และยังมีการเปลี่ยนแปลงลึกซึ้งตามแนวทาง "ช็อกบำบัด" (shock therapy) ดังที่สหรัฐอเมริกาและกองทุนการเงินระหว่างประเทศแนะนำ[3] ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ส่งผลให้เกิดวิกฤตการณ์เศรษฐกิจครั้งใหญ่ ซึ่งรัสเซียมีจีดีพีและปริมาณการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงถึง 50% ระหว่าง พ.ศ. 2533-2538[4]

    การแปรรูปรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่ได้โอนการควบคุมวิสาหกิจจากหน่วยงานของรัฐ ไปเป็นของปัจเจกบุคคลซึ่งมีความเชื่อมโยงภายในในระบบรัฐบาล นักธุรกิจที่ร่ำรวยขึ้นมาใหม่หลายคนได้นำเงินสดและสินทรัพย์นับพัน ๆ ล้านออกนอกประเทศในการโยกย้ายทุนขนานใหญ่[5] ภาวะตกต่ำของรัฐและเศรษฐกิจนำไปสู่การล่มสลายของบริการสังคม อัตราการเกิดตกฮวบ ขณะที่อัตราการตายพุ่งทะยาน ประชาชนหลายล้านคนอยู่ในภาวะยากจน จากระดับความยากจน 1.5% ในปลายยุคโซเวียต เป็น 39-49% ราวกลาง พ.ศ. 2536[6] คริสต์ทศวรรษ 1990 ได้เกิดการฉ้อราษฎร์บังหลวงและความไม่มีกฎหมายสุดขีด การเพิ่มขึ้นของแก๊งอาชญากรและอาชญากรรมรุนแรง[7]

    คริสต์ทศวรรษ 1990 รัสเซียได้เผชิญกับความขัดแย้งด้วยอาวุธในคอเคซัสเหนือ ทั้งการสู้รบประรายด้านชาติพันธุ์ท้องถิ่นและการก่อการกบฏของกลุ่มอิสลามแบ่งแยกดินแดน นับตั้งแต่กลุ่มแบ่งแยกดินแดนเชเชนได้ประกาศเอกราชในต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 ก็ได้เกิดสงครามกองโจรขึ้นเป็นระยะ ๆ ระหว่างกลุ่มกบฏกับกองทัพรัสเซีย กลุ่มแบ่งแยกดินแดนได้โจมตีก่อการร้ายต่อพลเรือน ที่มีชื่อเสียงที่สุด คือ วิกฤตการณ์ตัวประกันโรงละครมอสโก และการล้อมโรงเรียนเบสลัน ซึ่งเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยศพและเรียกความสนใจจากทั่วโลก

    รัสเซียยอมรับความรับผิดชอบในการจัดการหนี้สินภายนอกของสหภาพโซเวียต แม้ประชากรรัสเซียจะมีเพียงครึ่งหนึ่งของประชากรสหภาพโซเวียตเมื่อสหภาพล่มสลายไปนั้น[8] การขาดดุลงบประมาณอย่างสูงเป็นเหตุของวิกฤตการณ์การเงินรัสเซีย พ.ศ. 2541[9] และยิ่งทำให้จีดีพีลดลงไปอีก[2]

    วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ประธานาธิบดีเยลต์ซินลาออก ส่งมอบตำแหน่งต่อให้กับนายกรัฐมนตรีที่เพิ่งแต่งตั้งใหม่ วลาดีมีร์ ปูติน ผู้ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี พ.ศ. 2543 ปูตินปราบปรามการก่อกบฏเชเชน แม้ความรุนแรงเป็นพัก ๆ ยังเกิดขึ้นทั่วคอเคซัสเหนือ ราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูงและการเริ่มต้นนโยบายเงินตราอ่อนค่า ตามมาด้วยอุปสงค์ภายในประเทศที่เพิ่มขึ้น การบริโภคและการลงทุนได้ช่วยทำให้เศรษฐกิจเติบโตในอัตราร้อยละ 7 ต่อปีระหว่างปี พ.ศ. 2541-2551 ซึ่งได้พัฒนาคุณภาพชีวิตและเพิ่มอิทธิพลของรัสเซียในเวทีโลก[10] แม้การปฏิรูปหลายอย่างที่ปูตินดำเนินการระหว่างดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี โดยทั่วไปมักถูกชาติตะวันตกวิจารณ์ว่าไม่เป็นประชาธิปไตย[11] แต่ความเป็นผู้นำของปูตินเหนือการฟื้นฟูความสงบเรียบร้อย เสถียรภาพและความก้าวหน้าได้ทำให้เขาเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในรัสเซีย[12]

    วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2551 ดมิทรี เมดเวเดฟได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีรัสเซีย ขณะที่ปูตินเป็นนายกรัฐมนตรี ปูตินกลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้งหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดี พ.ศ. 2555 และเมดเวเดฟได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี

    ในห้วงวิกฤตการณ์ไครเมีย พ.ศ. 2557 รัสเซียได้ผนวกสาธารณรัฐไครเมีย ซึ่งเกิดจากการรวมกันของสาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมียและนครเซวัสโตปอลตามการลงประชามติ หลังการปฏิวัติยูเครน รัสเซียได้ยึดครองคาบสมุทรไครเมียของประเทศเพื่อนบ้าน และกองทัพรัสเซียยังมีส่วนในการแทรกแซงสงครามในดอนบัส รัสเซียยกระดับในการก่อสงครามกับยูเครนอย่างต่อเนื่อง ก่อนจะทำการโจมตีอย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565[13] นับได้ว่าเป็นการก่อสงครามที่ใหญ่ที่สุดของยุโรปนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง และรัฐบาลถูกประนามจากผู้นำหลายประเทศ[14] ตามด้วยการคว่ำบาตรจากชาติมหาอำนาจ[15] เป็นผลให้รัสเซียถูกขับออกจากสภายุโรปในเดือนมีนาคม 2565[16] และถูกระงับการดำเนินกิจกรรมจากคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในเดือนเมษายน 2565[17] ในเดือนกันยายน 2565 ปูตินประกาศว่ารัสเซียได้ทำการผนวกดินแดนกว่า 15% ในภูมิภาคโดเนตสค์ เคอร์ซัน ลูฮันสก์ และซาโปริซเซีย ซึ่งเป็นการยึดครองดินแดนครั้งใหญ่ที่สุดในยุโรปนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง[18]

    ↑ 1.0 1.1 นริศรา พลายมาศ. จักรวรรดิรัสเซียก่อนล่มสลายสู่คอมมิวนิสต์. สำนักพิมพ์ก้าวแรก. ISBN 9786167446875. ↑ 2.0 2.1 "Russian Federation" (PDF). Organisation for Economic Co-operation and Development (OECD). สืบค้นเมื่อ 24 February 2008. Sciolino, E. (21 December 1993). "U.S. is abandoning 'shock therapy' for the Russians". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 20 January 2008. "Russia: Clawing Its Way Back to Life (international edition)". BusinessWeek. สืบค้นเมื่อ 27 December 2007. "Russia: Clawing Its Way Back to Life (international edition)". BusinessWeek. สืบค้นเมื่อ 27 December 2007. Branko Milanovic (1998). Income, Inequality, and Poverty During the Transformation from Planned to Market Economy. The World Bank. pp. 186–189. Jason Bush (19 October 2006). "What's Behind Russia's Crime Wave?". BusinessWeek Journal. "Russia pays off USSR's entire debt, sets to become crediting country". Pravda.ru. สืบค้นเมื่อ 27 December 2007. Aslund A. "Russia's Capitalist Revolution" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 28 March 2008. "The World Factbook". Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-03. สืบค้นเมื่อ 16 February 2019. Treisman, D. "Is Russia's Experiment with Democracy Over?". UCLA International Institute. สืบค้นเมื่อ 31 December 2007. Stone, N (4 December 2007). "No wonder they like Putin". The Times. UK. สืบค้นเมื่อ 31 December 2007. "Russian forces launch full-scale invasion of Ukraine". www.aljazeera.com (ภาษาอังกฤษ). "UN votes to condemn Russia's invasion of Ukraine and calls for withdrawal". the Guardian (ภาษาอังกฤษ). 2022-03-02. Walsh, Ben (2022-03-09). "The unprecedented American sanctions on Russia, explained". Vox (ภาษาอังกฤษ). "The Russian Federation is excluded from the Council of Europe". www.coe.int (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). "UN General Assembly votes to suspend Russia from the Human Rights Council". UN News (ภาษาอังกฤษ). 2022-04-07. Landay, Jonathan (2022-09-30). "Defiant Putin proclaims Ukrainian annexation as military setback looms". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-10-13.
    Read less

Phrasebook

สวัสดี
Привет
โลก
Мир
สวัสดีชาวโลก
Привет, мир
ขอขอบคุณ
Спасибо
ลาก่อน
До свидания
ใช่
Да
ไม่
Нет
คุณเป็นอย่างไรบ้าง
Как дела?
สบายดีขอบคุณ
Хорошо, спасибо
ราคาเท่าไหร่?
Сколько это стоит?
ศูนย์
Нуль
หนึ่ง
Один

Where can you sleep near ประเทศรัสเซีย ?

Booking.com
487.372 visits in total, 9.187 Points of interest, 404 Destinations, 5 visits today.