Context of ประเทศโครเอเชีย

โครเอเชีย (อังกฤษ: Croatia; โครเอเชีย: Hrvatska, ออกเสียง: [xř̩ʋaːtskaː]) หรือชื่อทางการว่า สาธารณรัฐโครเอเชีย (อังกฤษ: Republic of Croatia; โครเอเชีย: Republika Hrvatska, เสียงอ่านภาษาโครเอเชีย: [ˈrepǔblika ˈxř̩ʋaːtskaː]) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนทางแยกกลางระหว่างยุโรปกลาง และตะวันออกเฉียงใต้ มีแนวชายฝั่งทางทะเลเอเดรียติก มีชายแดนติดกับสโลวีเนียทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ฮังการีทางตะวันออกเฉียงเหนือ เซอร์เบียทางตะวันออก บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และมอนเตเนโกร ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงมีขอบเขตทางทะเลติดต่อกับอิตาลีทางทิศตะวันตก และตะวันตกเฉียงใต้ โครเอเชียมีเมืองหลวง และเมืองใหญ่ที่สุดคือซาเกร็บ เป็นหนึ่งในเขตการปกครองหลักของประเทศ โดยมี 20 เทศมณฑล ประเทศมีขนาดพื้นที่ 56,594 ตารางกิโลเมตร (21,851 ตารางไมล์) มีประชากรอยู่อาศัยราว 3.9 ล้านคน

More about ประเทศโครเอเชีย

Basic information
  • Native name Hrvatska
  • Calling code +385
  • Internet domain .hr
  • Mains voltage 230V/50Hz
  • Democracy index 6.5
Population, Area & Driving side
  • Population 4784265
  • Area 56594
  • Driving side right
ประวัติ
  • ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์โครเอเชีย
    ยุคก่อนประวัติศาสตร์

    พื้นที่ที่รู้จักกันในปัจจุบันในนามโครเอเชียได้ดำรงอยู่ตลอดตั้งแต่ช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ ฟอสซิลของมนุษย์ยุคหินในยุคพาเลโอลิธิคถูกขุดค้นพบในที่ตั้งเมืองที่โด่งดังและเป็นที่ถูกนำเสนอมากที่สุดอยู่ที่เมืองคราปินาในทางตอนเหนือของประเทศโครเอเชีย เศษซากของวัฒนธรรมนีโอลิธิคและคัลโคลิธิคมากมายถูกค้นพบในทุกบริเวณของประเทศ สัดส่วนที่ใหญ่สุดของที่เมืองคราปินาคือหุบเขาแม่น้ำของทางตอนเหนือของประเทศโครเอเชีย และวัฒนธรรมสำคัญที่ถูกค้นพบในบริเวณนั้น ได้แก่ วัฒนธรรมสตาร์เชโว วูเชดอล และบาเดน ต่อมาช่วงยุคเหล็กได้เหลือร่องรอยวัฒนธรรมฮัลชตัตต์อิลลิเรียและวัฒนธรรมเซลติกลาเทน

    ยุคกรีก และ โรมัน

    หลังจากนั้น ชาวอิลลิเรียและชาวลิบูร์เนียได้ตั้งรกรากในบริเวณนี้ ในขณะที่อาณานิคมกรีกแห่งแรกถูกก่อตั้งขึ้นในเกาะฮวาร์ เกาะคอร์ชูลา และเกาะวิส ในคริสต์ศักราชที่ 9 อาณาเขตของประเทศโครเอเชียในปัจจุบันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน จักรพรรดิดีโอเคลเตียนมีปราสาทใหญ่ที่สร้างขึ้นในเมืองสปลิต ซึ่งพระองค์ได้ถอนตัวหลังจากสละราชสมบัติในคริสต์ศักราชที่ 309

    ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 จักรพรรดิจูเลียส เนโปสปกครองดินแดนเล็กๆ จากปราสาท หลังจากอพยพจากประเทศอิตาลี เนื่องจากการถูกเนรเทศในปี 475 ภายหลังได้ถูกลอบปลงพระชนม์ในปีค.ศ. 480 ในช่วงยุคนี้ได้จบลงที่ชาวอวาร์และชาวโครแอตได้บุกรุกในครึ่งปีแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 7 และการล่มสลายของเมืองโรมัน ชาวโรมันที่รอดชีวิตได้หนีไปยังในที่ที่เหมาะสม อย่างในชายฝั่ง เกาะ และภูเขา เมืองดูบรอฟนิกถูกตั้งขึ้นโดยผู้รอดชีวิตจากเอปิดาอูรุม (Epidaurum)

    ...อ่านต่อ
    ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์โครเอเชีย
    ยุคก่อนประวัติศาสตร์

    พื้นที่ที่รู้จักกันในปัจจุบันในนามโครเอเชียได้ดำรงอยู่ตลอดตั้งแต่ช่วงยุคก่อนประวัติศาสตร์ ฟอสซิลของมนุษย์ยุคหินในยุคพาเลโอลิธิคถูกขุดค้นพบในที่ตั้งเมืองที่โด่งดังและเป็นที่ถูกนำเสนอมากที่สุดอยู่ที่เมืองคราปินาในทางตอนเหนือของประเทศโครเอเชีย เศษซากของวัฒนธรรมนีโอลิธิคและคัลโคลิธิคมากมายถูกค้นพบในทุกบริเวณของประเทศ สัดส่วนที่ใหญ่สุดของที่เมืองคราปินาคือหุบเขาแม่น้ำของทางตอนเหนือของประเทศโครเอเชีย และวัฒนธรรมสำคัญที่ถูกค้นพบในบริเวณนั้น ได้แก่ วัฒนธรรมสตาร์เชโว วูเชดอล และบาเดน ต่อมาช่วงยุคเหล็กได้เหลือร่องรอยวัฒนธรรมฮัลชตัตต์อิลลิเรียและวัฒนธรรมเซลติกลาเทน

    ยุคกรีก และ โรมัน

    หลังจากนั้น ชาวอิลลิเรียและชาวลิบูร์เนียได้ตั้งรกรากในบริเวณนี้ ในขณะที่อาณานิคมกรีกแห่งแรกถูกก่อตั้งขึ้นในเกาะฮวาร์ เกาะคอร์ชูลา และเกาะวิส ในคริสต์ศักราชที่ 9 อาณาเขตของประเทศโครเอเชียในปัจจุบันได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมัน จักรพรรดิดีโอเคลเตียนมีปราสาทใหญ่ที่สร้างขึ้นในเมืองสปลิต ซึ่งพระองค์ได้ถอนตัวหลังจากสละราชสมบัติในคริสต์ศักราชที่ 309

    ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5 จักรพรรดิจูเลียส เนโปสปกครองดินแดนเล็กๆ จากปราสาท หลังจากอพยพจากประเทศอิตาลี เนื่องจากการถูกเนรเทศในปี 475 ภายหลังได้ถูกลอบปลงพระชนม์ในปีค.ศ. 480 ในช่วงยุคนี้ได้จบลงที่ชาวอวาร์และชาวโครแอตได้บุกรุกในครึ่งปีแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 7 และการล่มสลายของเมืองโรมัน ชาวโรมันที่รอดชีวิตได้หนีไปยังในที่ที่เหมาะสม อย่างในชายฝั่ง เกาะ และภูเขา เมืองดูบรอฟนิกถูกตั้งขึ้นโดยผู้รอดชีวิตจากเอปิดาอูรุม (Epidaurum)

    แหล่งกำเนิดชนกลุ่มชาวโครแอตยังไม่แน่นอน และมีหลากหลายทฤษฎีที่โต้เถียงกัน ชนชาติสลาฟและอิเรเนียนเป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงบ่อยที่สุด ทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางคือทฤษฎีชาวสลาฟ เสนอการอพยพของชาวไวต์โครแอตจากอาณาเขตของไวต์โครเอเชียระหว่างในยุคการอพยพ โดยทางตรงกันข้าม ทฤษฎีชาวอิเรเนียน เสนอที่มาของชาวอิเรเนียน โดยมีพื้นฐานจากแผ่นจารึกทานาย ซึ่งมีข้อความที่จารึกชื่อเป็นภาษากรีก Χορούαθ[ος], Χοροάθος, and Χορόαθος (Khoroúathos, Khoroáthos, and Khoróathos) และตีความได้เป็นชื่อของชาวโครเอเชีย

    ราชวงศ์ฮับส์บูร์ก และ ออสเตรีย-ฮังการี (ค.ศ. 1538–1918)
    ดูบทความหลักที่: ราชอาณาจักรโครเอเชีย (ฮับส์บูร์ก), สงครามเอเชีย-ออตโตมัน และ จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

    หลังจากชัยชนะที่เด็ดขาดของออตโตมัน โครเอเชียได้แยกเป็นอาณาเขตพลเมืองและอาณาเขตทางทหาร ซึ่งแบ่งแยกในปีค.ศ. 1538 อาณาเขตทางทหารกลายเป็นที่รู้จักกันใน "แนวหน้ากองทหารโครเอเชีย" (Croatian Military Frontier) และอยู่ภายใต้การควบคุมของจักรวรรดิโดยตรง ออตโตมันได้รุดหน้าไปในอาณาเขตของโครเอเชียต่อไปจนถึงปีค.ศ. 1593 ศึกของซีซีค เป็นการพ่ายแพ้ของชาวออตโตมันครั้งแรก และการรักษาเสถียรภาพของเขตแดน ในระหว่างสงครามเติร์กครั้งยิ่งใหญ่ (ปีค.ศ. 1683-1698) เขตสลาโวเนียได้ถูกยึดคืนมา แต่ทางตะวันตกของบอสเนีย ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของโครเอเชียมาตลอด ก่อนที่ออตโตมันจะพิชิตได้ ยังคงอยู่นอกการปกครองของโครเอเชีย เขตแดนในปัจจุบันระหว่างสองประเทศนี้เป็นเศษซากของผลการพิชิตนี้ ดัลมาเชีย ชายแดนทางตอนใต้ของประเทศถูกนิยามใกล้เคียงกัน โดยสงครามออตโตมัน-เวเนเชียนครั้งที่ห้าและครั้งที่เจ็ด

    สงครามออตโตมันกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงทางประชาการอย่างมาก ชาวโครแอตอพยพไปยังออสเตรีย และรัฐเบอร์เกนแลนด์ในปัจจุบัน ซึ่งชาวโครแอตเป็นลูกหลานโดยตรงของผู้ที่ไปอาศัยเหล่านั้น เพื่อแทนที่การอพยพของประชากร ราชวงศ์ฮับส์บูร์กโน้มน้าวประชาชนชาวคริสเตียนของบอสเนียและเซอร์เบียเข้าร่วมรับราชการทางทหารในแนวหน้าทางทหารของโครเอเชีย การอพยพของชาวเซิร์บไปยังแถบนี้ถึงขั้นขีดสุดในระหว่างช่วงการอพยพของชาวเซิร์บครั้งยิ่งใหญ่ในปีค.ศ. 1690 และ ปีค.ศ. 1737-1739

    รัฐสภาของโครเอเชียสนับสนุนกฎการสืบราชบัลลังก์ของพระเจ้าชาร์ลที่ 3 และเซ็นสัญญากฎการสืบราชบังลังก์ของพวกเขาในปีค.ศ. 1712 ต่อมาจักรพรรดิปฏิญาณที่จะพิจารณาสิทธิพิเศษและสิทธิทางการเมืองของราชอาณาจักรโครเอเชีย และพระราชินีมาเรีย เทเรซา สร้างคุณูปการที่สำคัญในเรื่องของโครเอเชีย

    ระหว่างในปีค.ศ. 1797 และ ปีค.ศ. 1809 จักรวรรดิฝรั่งเศสแห่งแรกค่อยๆ ยึดครองทางตะวันออกของชายฝั่งเอเดรียติกทั้งหมด และส่วนใหญ่ของพื้นที่ชนบท สิ้นสุดที่บริเวณสาธารณรัฐเวเนเชียนและสาธารณรัฐรากูซัน และก่อตั้งมลรัฐอิลลิเรีย เพื่อตอบสนองราชนาวีที่เริ่มการปิดล้อมทะเลเอเดรียติก นำไปสู่ศึกวิส (Battle of Vis) ในปี 1811 มลรัฐอิลลิเรียถูกยึดครองโดยชาวออสเตรียในปี 1813 และถูกรวมโดยจักรวรรดิออสเตรีย ตามด้วยรัฐสภาของเวียนนาในปี 1815 การถูกรวมนี้นำไปสู่การก่อตั้งอาณาจักรดัลมาเชียและการบูรณะบบบริเวณชายฝั่งของโครเอเชียให้แก่ราชอาณาจักรโครเอเชีย ในตอนนี้ทั้งสองได้อยู่ภายใต้ราชวงศ์เดียวกัน ในช่วงปี 1830 และช่วงปี 1840 มีลัทธิรักชาติแบบโรแมนติกกระตุ้นการฟื้นฟูโครเอเชียระดับชาติ การรณรงค์ทางการเมืองและทางวัฒนธรรมสนับสนุนการเป็นหนึ่งเดียวของชาวสลาฟใต้ในจักรวรรดิ จุดสนใจพื้นฐานของทางจักรวรรดิคือ การกำหนดภาษามาตรฐาน รวมไปถึงการส่งเสริมวรรณกรรมโครเอเชียและวัฒนธรรมโครเอเชีย ในระหว่างการปฏิวัติฮังการี ในปีค.ศ. 1848 โครเอเชียได้อยู่ฝ่ายออสเตรีย ยอซิป เยลาชิช ช่วยในการต่อสู้รบกับกองกำลังฮังการีในปีค.ศ. 1849 และนำไปสู่ยุคนโยบายการทำให้เป็นเยอรมัน (Germanization) ในเวลาต่อไปมา

    ในปีค.ศ. 1860 ความล้มเหลวของนโยบายเริ่มชัดเจนขึ้น นำไปสู่การประนีประนอมของออสโตร-ฮังการีของปีค.ศ. 1867 และการสร้างการรวมตัวระหว่างบุคคลระหว่างจุดสูงสุดของจักรวรรดิออสเตรียและราชอาณาจักรฮังการี สนธิสัญญาทิ้งสถานะของโครเอเชียให้กับฮังการี และสถานะเปลี่ยนโดยข้อยุติโครเอเชีย-ฮังการี ในปีค.ศ. 1868 เมื่อราชอาณาจักรโครเอเชียและสลาโวเนียได้รวมเป็นหนึ่งเดียว ราชอาณาจักรดัลมาเชียยังคงเป็นอยู่ในการปกครองของออสเตรียทางพฤตินัย ขณะที่รีเยกา (Rijeka) ได้รับสถานะเมืองแยกตัว (Corpus separatum) ในปีค.ศ. 1779

    หลังจากออสเตรีย-ฮังการียึดครองบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา จากสนธิสัญญาเบอร์ลิน 1878 (1878 Trety of Berlin) แนวหน้าทางทหารโครเอเชียถูกโค่นล้ม และอาณาเขตได้กลับคืนเป็นของโครเอเชียในปีค.ศ. 1881 ตามบทบัญญัติข้อยุติของโครเอเชีย-ฮังการี ความพยายามในการรื้อฟื้นออสเตรีย-ฮังการีที่นำมาซึ่งไปสู่การรวมโครเอเชียในฐานะหน่วยสหพันธรัฐ หยุดโดยการเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 1

    ยูโกลสลาเวีย (ค.ศ. 1918–1991)
    ดูบทความหลักที่: Creation of Yugoslavia, ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย, มลฑลโครเอเชีย, รัฐเอกราชโครเอเชีย, Yugoslav Front และ สาธารณรัฐสังคมนิยมโครเอเชีย

    วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1918 รัฐสภาโครเอเชีย (Sabor) ประกาศเอกราชและตัดสินใจที่จะเข้าร่วมรัฐสโลวีน โครแอตและเซิร์บที่เพิ่งก่อตั้งใหม่ ซึ่งภายหลังได้รวมเป็นหนึ่งเดียวกับราชอาณาจักรเซอร์เบียในวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ.1918 จึงได้ชื่อใหม่ว่า ราชอาณาจักรเซิร์บ โครแอต และสโลวีน ทางสภาโครเอเชียไม่เคยยื่นข้อเสนอในการรวมกับเซอร์เบียและมอนเตเนโกร รัฐธรรมนูญปี ค.ศ. 1921 กำหนดให้ประเทศเป็นรัฐเดี่ยว แล้วยกเลิกระบบสภาของโครเอเชียและเขตการปกครองทางประวัติศาสตร์ ส่งผลให้การปกครองตนเองของโครเอเชียได้สิ้นสุดไป

    รัฐธรรมนูญใหม่ขัดแย้งกับพรรคการเมืองแห่งชาติที่มีการสนับสนุนโดยกว้าง คือพรรค Croatian Peasant Party (HSS) นำโดย สเตปาน ราดิช

    สถานการณ์ทางการเมืองย่ำแย่ลงเมื่อราดิชถูกลอบสังหารในสมัชชาแห่งชาติในปีค.ศ. 1928 นำไปสู่ยุคเผด็จการของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ในปีค.ศ. 1929 ต่อมายุคเผด็จการได้สิ้นสุดลงอย่างทางการในปีค.ศ. 1931 เมื่อพระเจ้าอเล็กซานเดอร์กำหนดรัฐธรรมนูญที่รวมศูนย์กลางไว้แห่งเดียว และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นประเทศยูโกสลาเวีย พรรค Croatian Peasant (HSS) สนับสนุนการรวมสหพันธรัฐยูโกสลาเวีย ทำให้เป็นผลของข้อตกลง Cvetković–Maček ของเดือนสิงหาคม ปี 1939 และการก่อตั้งเขตการปกครองตนเองบาโนวีนา (Banovina) ในโครเอเชีย รัฐบาลยูโกสลาเวียยังคงควบคุมการป้องกันตัวเอง สวัสดิการภายใน การค้า และการขนส่ง ขณะที่ปัญหาอื่นๆ เหลือให้ทางสภาโครเอเชียจัดการ

    ในเดือนเมษายน ปีค.ศ. 1941 ยูโกสลาเวียอยู่ภายใต้การควบคุมของประเทศเยอรมนีและประเทศอิตาลี ตามด้วยการบุกรุกอาณาเขตของประเทศโครเอเชีย ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา และพื้นที่ Syrmia ถูกผนวกรวมเป็นรัฐเอกราชโครเอเชีย (Independent State of Croatia – NDH) ซึ่งเป็นรัฐหุ่นเชิดของนาซีเยอรมนี พื้นที่ฝั่งดัลมาเชียถูกผนวกรวมกับประเทศอิตาลี และพื้นที่บารันยา (Baranja) และเมจิมูเรีย (Međimurje) ในทางตอนเหนือของโครเอเชีย ได้ถูกผนวกรวมเข้ากับประเทศฮังการี รัฐเอกราชโครเอเชียปกครองโดย อันเต ปาเลวิช (Ante Pavelić) และกลุ่มคลั่งชาติอุสตาเช่ (Ustaše)

    ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
    ร่วมสมัย
    ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
    Read less

Phrasebook

สวัสดี
zdravo
โลก
Svijet
สวัสดีชาวโลก
Pozdrav svijete
ขอขอบคุณ
Hvala vam
ลาก่อน
Doviđenja
ใช่
Da
ไม่
Ne
คุณเป็นอย่างไรบ้าง
Kako si?
สบายดีขอบคุณ
Dobro hvala
ราคาเท่าไหร่?
Koliko je to?
ศูนย์
Nula
หนึ่ง
Jedan

Where can you sleep near ประเทศโครเอเชีย ?

Booking.com
489.888 visits in total, 9.197 Points of interest, 404 Destinations, 53 visits today.