United States

สหรัฐ
Palacemusic - CC BY-SA 3.0 John Fowler from Placitas, NM, USA - CC BY 2.0 Roger469 - Public domain Larry D. Moore - CC BY-SA 4.0 DougW at English Wikipedia - Public domain Frank Kovalchek from Anchorage, Alaska, USA - CC BY 2.0 Lucas·G - CC BY-SA 4.0 Brocken Inaglory - CC BY-SA 4.0 Carol M. Highsmith - Public domain Scott Catron - CC BY-SA 2.0 GB11111 - CC BY-SA 4.0 Betty Wills (Atsme) - CC BY-SA 4.0 Bob Wick; Bureau of Land Management - Public domain Daniel Schwen - CC BY-SA 4.0 Alek Leckszas - CC BY-SA 4.0 Agreene12 - CC BY 3.0 Frank Kovalchek - CC BY 2.0 Arashnikkhah - CC BY-SA 3.0 Acroterion - CC BY-SA 3.0 justinsomnia.org - Public domain Ray Dumas from Warren, USA - CC BY-SA 2.0 upload by Adrian Michael - CC BY-SA 3.0 KimonBerlin - CC BY-SA 2.0 MasterDoggo - CC BY-SA 4.0 Elizabeth George - CC BY-SA 3.0 Daniel Schwen - CC BY-SA 2.5 Bureau of Land Management - Public domain Steve Wilson - CC BY 2.0 Ray Redstone - CC BY-SA 4.0 sanil - CC0 Bernard Spragg. NZ - CC0 Bureau of Land Management - Public domain Jon Sullivan - Public domain John Fowler - CC BY 2.0 Elena.laps - CC BY-SA 4.0 Elena.laps - CC BY-SA 4.0 Brian W. Schaller - FAL Tom Kredatus, Photographer - Public domain National Park Service - Public domain Sam valadi - CC BY 2.0 Chris Rand - CC BY-SA 4.0 Kimson Doan yaykimmyd - CC0 John Fowler - CC BY 2.0 Ken Lund from Las Vegas, Nevada, USA - CC BY-SA 2.0 MadeYourReadThis - CC BY-SA 4.0 Shari Garland - CC BY-SA 4.0 Palacemusic - CC BY-SA 3.0 Frank Schulenburg - CC BY-SA 4.0 Hike395 (talk · contribs) - CC BY 3.0 Swampyank at en.wikipedia - CC BY-SA 3.0 Alec Perkins from Hoboken, USA - CC BY 2.0 No images

Context of สหรัฐ

สหรัฐอเมริกา (อังกฤษ: United States of America; ย่อเป็น: U.S.A. หรือ USA) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States; ย่อเป็น: U.S. หรือ US) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐซึ่งตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ หนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ รวมทั้งเขตสงวนอินเดียน 326 แห่ง และเกาะรอบนอกประเทศอีก 9 แห่ง สหรัฐมีพรมแดนทางทิศเหนือติดประเทศแคนาดา และทางทิศใต้ติดเม็กซิโก และยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับหลายประเทศ เช่น บาฮามาส คิวบา และ รัสเซีย ด้วยพื้นที่กว่า 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร และประชากรราว 331 ล้านคน ทำให้สหรัฐมีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เมืองหลวงของประเทศคือ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และนครใหญ่สุดคือ นครนิวยอร์ก ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศ

อินเดียนดึกดำบรรพ์จากยูเรเชียย้ายถิ่นมาแผ่นดินใหญ่ทวีปอเมริกาเหนือเมื่อ 15,000 ปีก่อน การยึดเป็นอาณานิคมของยุโรปเริ่มในคริสต์ศตวรรษ...อ่านต่อ

สหรัฐอเมริกา (อังกฤษ: United States of America; ย่อเป็น: U.S.A. หรือ USA) โดยทั่วไปเรียก สหรัฐ (United States; ย่อเป็น: U.S. หรือ US) หรือ อเมริกา (America) เป็นสหพันธ์สาธารณรัฐซึ่งตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ ประกอบด้วยรัฐ 50 รัฐ หนึ่งเขตปกครองกลาง ห้าดินแดนปกครองตนเองสำคัญ รวมทั้งเขตสงวนอินเดียน 326 แห่ง และเกาะรอบนอกประเทศอีก 9 แห่ง สหรัฐมีพรมแดนทางทิศเหนือติดประเทศแคนาดา และทางทิศใต้ติดเม็กซิโก และยังมีพรมแดนทางทะเลติดกับหลายประเทศ เช่น บาฮามาส คิวบา และ รัสเซีย ด้วยพื้นที่กว่า 9.8 ล้านตารางกิโลเมตร และประชากรราว 331 ล้านคน ทำให้สหรัฐมีพื้นที่ขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของโลก และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก เมืองหลวงของประเทศคือ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และนครใหญ่สุดคือ นครนิวยอร์ก ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศ

อินเดียนดึกดำบรรพ์จากยูเรเชียย้ายถิ่นมาแผ่นดินใหญ่ทวีปอเมริกาเหนือเมื่อ 15,000 ปีก่อน การยึดเป็นอาณานิคมของยุโรปเริ่มในคริสต์ศตวรรษที่ 16 สหรัฐกำเนิดจาก 13 อาณานิคมของบริเตนตามชายฝั่งตะวันออก ข้อพิพาทหลายครั้งระหว่างบริเตนใหญ่และอาณานิคมหลังสงครามเจ็ดปีนำสู่การปฏิวัติอเมริกาซึ่งเริ่มในปี 1775 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 1776 ผู้แทนจาก 13 อาณาเขตลงมติรับคำประกาศอิสรภาพเป็นเอกฉันท์ ขณะที่อาณานิคมกำลังต่อสู้กับบริเตนใหญ่ในสงครามปฏิวัติอเมริกา สงครามยุติในปี 1783 โดยราชอาณาจักรบริเตนใหญ่รับรองเอกราชของสหรัฐ และเป็นสงครามประกาศอิสรภาพต่อจักรวรรดิอาณานิคมยุโรปที่ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรกด้วย มีการลงมติรับรัฐธรรมนูญของประเทศในปี 1788 หลังบทบัญญัติสมาพันธรัฐ (Articles of Confederation) ซึ่งมีการลงมติรับในปี 1781 รู้สึกว่าให้อำนาจแก่สหพันธรัฐไม่เพียงพอ ในปี 1791 มีการให้สัตยาบันการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสิบครั้งแรก ซึ่งเรียกรวมว่า รัฐบัญญัติสิทธิ ซึ่งออกแบบมาเพื่อประกันเสรีภาพพลเมืองพื้นฐานหลายข้อ

สหรัฐเริ่มขยายดินแดนอย่างแข็งขันทั่วทวีปอเมริกาเหนือตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 19 ขับไล่เผ่าอเมริกันพื้นเมือง ซื้อดินแดนใหม่ และค่อย ๆ รับรัฐใหม่จนขยายทั่วทวีปในปี 1848 ระหว่างครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 สงครามกลางเมืองอเมริกานำให้ยุติความเป็นทาสตามกฎหมายในประเทศ เมื่อถึงสิ้นศตวรรษนั้น สหรัฐขยายเข้ามหาสมุทรแปซิฟิก และเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่เริ่มเติบโตอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นชาติที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกในปี 1900 สงครามสเปน–อเมริกาและสงครามโลกครั้งที่หนึ่งยืนยันสถานภาพมหาอำนาจทางทหารโลกของสหรัฐ การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์โดยจักรวรรดิญี่ปุ่นนำสหรัฐเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สองโดยร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร ภายหลังสงครามยุติ สหรัฐและสหภาพโซเวียตได้สถาปนาตนเองขึ้นเป็นสองอภิมหาอำนาจโลกนำไปสู่ช่วงเวลาแห่งความขัดแย้ง เป็นผลให้เกิดสงครามเย็นซึ่งกินเวลาหลายทศวรรษ ทว่าไม่มีการสู้รบกันโดยตรง ทั้งสองชาติยังมีส่วนร่วมในการแข่งขันอวกาศนำไปสู่ต้นกำเนิดของอะพอลโล 11 ซึ่งนำมนุษย์เดินทางสู่ดวงจันทร์เป็นครั้งแรก ขบวนการเรียกร้องสิทธิพลเมืองซึ่งเริ่มต้นในทศวรรษ 1950 นำไปสู่การออกกฎหมายเพื่อล้มล้างกฎหมายของรัฐ และกฎหมายท้องถิ่นโดย จิม โครว์ รวมถึงขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติต่อชาวแอฟริกันอเมริกัน การสิ้นสุดลงของสงครามเย็นและการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 ส่งผลให้สหรัฐกลายเป็นรัฐอภิมหาอำนาจเดี่ยวของโลก เหตุการณ์วินาศกรรม 11 กันยายน นำประเทศเข้าสู่สงครามต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งรวมถึงสงครามอัฟกานิสถาน และสงครามอิรัก

สหรัฐเป็นสหพันธ์สาธารณรัฐ ใช้ระบบสองสภาพร้อมด้วยระบอบประชาธิปไตยเสรีนิยมและใช้ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด มีตัวชี้วัดสิทธิมนุษยชน คุณภาพชีวิต รายได้และความมั่งคั่ง ความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจ และการศึกษาสูง มีการรับรู้การฉ้อราษฎร์บังหลวงต่ำ แต่มีระดับการกักขังและความเหลื่อมล้ำสูง สหรัฐเป็นประเทศเบ้าหลอมวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่เกิดจากการอพยพเข้าเมืองหลายศตวรรษ ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ และสัตว์ป่าของประเทศยังมีความหลากหลายอย่างยิ่ง โดยเป็นหนึ่งในสิบเจ็ดประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก

สหรัฐถือเป็นประเทศพัฒนาสูง มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกตามอัตราจีดีพี โดยคิดเป็นอัตราส่วนถึงหนึ่งในสี่ของจีดีพีโลก สหรัฐประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับสองของโลก และแม้มีประชากรรวมเพียง 4.2% ของโลก ทว่าสหรัฐมีความมั่งคั่งโดยรวมคิดเป็นกว่า 30% ของโลก และมีค่าใช้จ่ายทางการทหารมากถึงหนึ่งในสามของโลก ทำให้เป็นชาติเศรษฐกิจและการทหารแนวหน้า สหรัฐเป็นประเทศการเมืองและวัฒนธรรมโดดเด่น และผู้นำทางวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมเทคโนโลยี และยังเป็นผู้ก่อตั้งสหประชาชาติ, ธนาคารโลก, กองทุนการเงินระหว่างประเทศ, องค์การนานารัฐอเมริกา, เนโท รวมทั้งเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

More about สหรัฐ

Basic information
Population, Area & Driving side
  • Population 331449281
  • Area 9826675
  • Driving side right
ประวัติ
  • ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์สหรัฐ
    ชนพื้นเมืองและประวัติศาสตร์ยุคก่อนโคลัมบัส
     
    การสร้างใหม่ของศิลปินซึ่งแหล่งคินเคดจากวัฒนธรรมมิสซิสซิปปีก่อนประวัติศาสตร์ ตามที่อาจปรากฏ[1]

    ผู้อยู่อาศัยในทวีปอเมริกาเหนือคนแรก ๆ ย้ายถิ่นจากไซบีเรียโดยทางสะพานบกเบริงและมาถึงอย่างน้อย 15,000 ปีมาแล้ว แม้มีหลักฐานเพิ่มขึ้นที่เสนอว่าอาจมาถึงก่อนหน้านั้นอีก[2] หลังข้ามสะพานบกแล้ว...อ่านต่อ

    ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์สหรัฐ
    ชนพื้นเมืองและประวัติศาสตร์ยุคก่อนโคลัมบัส
     
    การสร้างใหม่ของศิลปินซึ่งแหล่งคินเคดจากวัฒนธรรมมิสซิสซิปปีก่อนประวัติศาสตร์ ตามที่อาจปรากฏ[1]

    ผู้อยู่อาศัยในทวีปอเมริกาเหนือคนแรก ๆ ย้ายถิ่นจากไซบีเรียโดยทางสะพานบกเบริงและมาถึงอย่างน้อย 15,000 ปีมาแล้ว แม้มีหลักฐานเพิ่มขึ้นที่เสนอว่าอาจมาถึงก่อนหน้านั้นอีก[2] หลังข้ามสะพานบกแล้ว ชาวอเมริกันกลุ่มแรกย้ายลงใต้ โดยอาจตามชายฝั่งแปซิฟิก[3][4] หรือผ่านหิ้งปลอดน้ำแข็งในแผ่นดินระหว่างหิ้งน้ำแข็งคอร์ดิลเลอร์แรน (Cordilleran) และลอเรนไทด์ (Laurentide)[5] วัฒนธรรมโคลวิสปรากฏประมาณ 11,000 ปีก่อน และถือว่าเป็นบรรพบุรุษของวัฒนธรรมพื้นเมืองสมัยหลังของทวีปอเมริกาส่วนใหญ่[6] แม้คิดกันตลอดปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 ว่าวัฒนธรรมโคลวิสเป็นตัวแทนของการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งแรกในทวีปอเมริกา[7] แต่ในช่วงปีหลัง ๆ ได้เปลี่ยนมาตระหนักถึงวัฒนธรรมก่อนโคลวิส[8]

    ต่อมา วัฒนธรรมพื้นเมืองในทวีปอเมริกาเหนือเริ่มมีความซับซ้อนมากขึ้น และบางวัฒนธรรมเช่น วัฒนธรรมมิสซิสซิปปีสมัยก่อนโคลัมบัสในทางตะวันออกเฉียงใต้ พัฒนาการกสิกรรมก้าวหน้า สถาปัตยกรรมใหญ่ และสังคมระดับรัฐ[9] ตั้งแต่ประมาณปี 800 ถึง 1600[10] วัฒนธรรมมิสซิสซิปปีเฟื่องฟู และนครใหญ่สุด คะโฮเคีย (Cahokia) ถือเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนโคลัมบัสที่ใหญ่และซับซ้อนที่สุดในสหรัฐปัจจุบัน[11] ในภูมิภาคเกรตเลกส์ทางใต้ มีการก่อตั้งสมาพันธรัฐอิระควอยในบางช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12[12] ถึง 15[13] และอยู่มาจนสิ้นสงครามปฏิวัติ[14]

    การตั้งถิ่นฐานหมู่เกาะฮาวายครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อใดนั้นยังเป็นหัวข้อการถกเถียงที่ยังดำเนินอยู่[15] หลักฐานโบราณคดีดูเหมือนบ่งชี้ว่ามีนิคมตั้งแต่ปี 124[16] ระหว่างการเดินเรือครั้งที่สามและครั้งสุดท้าย กัปตันเจมส์ คุกเป็นชาวยุโรปคนแรกที่เริ่มการติดต่อกับฮาวายอยางเป็นทางการ[17] หลังการขึ้นฝั่งครั้งแรกในเดือนมกราคม 1778 ที่ท่าไวเมีย เกาะคาไว คุกตั้งชื่อกลุ่มเกาะนี้วา "หมู่เกาะแซนด์วิช" ตามเอิร์ลที่ 4 แห่งแซนด์วิช รักษาราชการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทหารเรือของราชนาวีบริติช[18]

    นิคมยุโรป
    ดูเพิ่มเติมที่: การทำให้เป็นอาณานิคมของยุโรปในทวีปอเมริกา และ สิบสามอาณานิคม
     
    นักสำรวจชาวอิตาลี คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส มาถึงทวีปอเมริกาและเข้าควบคุมกัวนาฮานิ

    หลังสเปนส่งโคลัมบัสในการล่องเรือเที่ยวแรกของเขาสู่โลกใหม่ ในปี 1492 ก็มีนักสำรวจอื่นตามมา ชาวยุโรปกลุ่มแรกที่มาถึงดินแดนของสหรัฐสมัยใหม่เป็นกองกิสตาดอร์สเปนอย่างควน ปอนเซ เด เลออน ซึ่งเดินทางถึงฟลอริดาครั้งแรกในปี 1513 ทว่า หากคิดดินแดนที่ไม่รวมเข้าด้วยกันของสหรัฐด้วยแล้ว ความชอบจะเป็นของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัสซึ่งขึ้นฝั่งที่ปวยร์โตรีโกในการเดินทางปี 1493 ชาวสเปนตั้งนิคมแห่งแรกในฟลอริดาและนิวเม็กซิโกอย่างเซนต์ออกัสตีน[19] และแซนตาเฟ ชาวฝรั่งเศสตั้งอาณานิคมของตนเช่นกันตามแม่น้ำมิสซิสซิปปี การตั้งถิ่นฐานของชาวอังกฤษที่สำเร็จตามชายฝั่งตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือเริ่มด้วยอาณานิคมเวอร์จิเนียในปี 1607 ที่เจมส์ทาวน์ และอาณานิคมพลีมัทของพิลกริมในปี 1620 ผู้ตั้งถิ่นฐานจำนวนมากเป็นกลุ่มคริสต์ศาสนิกชนขัดแย้งที่มาแสวงเสรีภาพทางศาสนา มีการสร้างสภาเบอร์จัสซิส (House of Burgesses) แห่งเวอร์จิเนีย ซึ่งเป็นสภานิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้งแห่งแรกของทวีป ในปี 1619 และข้อตกลงร่วมกันเมย์ฟลาวเออร์ (Mayflower Compact) ซึ่งพิลกริมลงนามก่อนขึ้นฝั่ง และภาคีมูลฐานแห่งคอนเนกติคัด สถาปนาแบบอย่างสำหรับรูปแบบการปกครองตนเองแบบมีผู้แทนและระบอบรัฐธรรมนูญซึ่งจะพัฒนาทั่วอาณานิคมอเมริกา[20][21]

    ผู้ตั้งถิ่นฐานส่วนมากในทุกอาณานิคมเป็นเกษตรกรรายย่อย แต่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นในไม่กี่ทศวรรษแตกต่างกันตามนิคม พืชเศรษฐกิจมียาสูบ ข้าวเจ้าและข้าวสาลี อุตสาหกรรมการสกัดเติบโตขึ้นในหนังสัตว์ การประมงและการทำไม้ ผู้ผลิตผลิตรัมและเรือ และเมื่อถึงสมัยอาณานิคมตอนปลาย ชาวอเมริกันก็ผลิตหนึ่งในเจ็ดของอุปสงค์เหล็กโลก[22] สุดท้ายนครต่าง ๆ ผุดขึ้นตามชายฝั่งเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจท้องถิ่นและใช้เป็นศูนย์กลางการค้า ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอังกฤษมีระลอกชาวสกอต-ไอริชและกลุ่มอื่นเข้ามาเสริม เมื่อที่ดินชายฝั่งมีราคาแพงขึ้นทำให้แรงงานสัญญา (indentured servant) ที่เป็นอิสระถูกผลักไปทางทิศตะวันตก[23]

    การค้าทาสขนานใหญ่กับไพรวะเทียร์อังกฤษเริ่มต้น[24] การคาดหมายคงชีพของทาสในทวีปอเมริกาเหนือสูงกว่าทางใต้มาก เนื่องจากมีโรคน้อยกว่าและมีอาหารและการปฏิบัติที่ดีกว่า นำให้มีการเพิ่มจำนวนของทาสอย่างรวดเร็ว[25][26] สังคมอาณานิคมส่วนใหญ่แบ่งแยกกันระหว่างการส่อความทางศาสนาและศีลธรรมของความเป็นทาส และอาณานิคมผ่านรัฐบัญญัติทั้งสนับสนุนและคัดค้านทาส[27][28] แต่เมื่อย่างเข้าคริสต์ศตวรรษที่ 18 ทาสแอฟริกาก็เป็นแรงงานพืชเศรษฐกิจแทนที่แรงงานสัญญา โดยเฉพาะในภาคใต้[29]

    ด้วยการทำให้จอร์เจียเป็นอาณานิคมของบริติชในปี 1732 จึงมีการสถาปนาสิบสามอาณานิคมที่จะกลายเป็นสหรัฐในเวลาต่อมา[30] ทุกอาณานิคมมีรัฐบาลท้องถิ่นและการเลือกตั้งที่เปิดแก่ชายไททุกคน โดยมีการฝักใฝ่สิทธิชนอังกฤษโบราณและสำนึกการปกครองตนเองที่กระตุ้นการสนับสนุนสาธารณรัฐนิยม[31] ด้วยอัตราการเกิดที่สูงมาก อัตราการตายที่ต่ำมากและการตั้งถิ่นฐานอย่างต่อเนื่อง ประชากรอาณานิคมจึงเติบโตอย่างรวดเร็ว ประชากรอเมริกันพื้นเมืองค่อนข้างน้อยถูกบดบัง[32] ขบวนการฟื้นฟูคริสต์ศาสนิกชน (Christian revivalist) คริสต์ทศวรรษ 1730 และ 1740 ที่เรียก การตื่นใหญ่ (Great Awakening) ช่วยเร่งความสนใจทั้งศาสนาและเสรีภาพในการนับถือศาสนา[33]

    ระหว่างสงครามเจ็ดปี (หรือเรียก สงครามฝรั่งเศสและอินเดียน) กำลังบริติชยึดแคนาดาจากฝรั่งเศส แต่ประชากรที่พูดภาษาฝรั่งเศสยังโดดเดี่ยวทางการเมืองจากอาณานิคมทางใต้ 13 อาณานิคมเหล่านี้มีประชากรกว่า 2.1 ล้านคนหรือประมาณหนึ่งในสามของบริเตนในปี 1770 หากไม่นับอเมริกันพื้นเมืองซึ่งถูกพิชิตและขับไล่ แม้มีการเข้ามาใหม่อย่างต่อเนื่อง แต่อัตราการเพิ่มตามธรรมชาติสูงจนเมื่อถึงคริสต์ทศวรรษ 1770 มีชาวอเมริกันน้อยมากที่เกิดโพ้นทะเล[34] ระยะห่างของอาณานิคมจากบริเตนทำให้มีการพัฒนาการปกครองตนเอง แต่ความสำเร็จของพวกเขาบันดาลให้พระมหากษัตริย์มุ่งย้ำพระราชอำนาจอยู่เป็นระยะ[35]

    ในปี 1774 เรือกองทัพเรือสเปน ซานเตียโก ภายใต้ควน เปเรซเข้าและทอดสมอในทางเข้าที่นูตคาซาวน์ (Nootka Sound) แม้ชาวสเปนมิได้ขึ้นฝั่ง แต่ชนพื้นเมืองพายเรือมายังเรือสเปนเพื่อค้าหนังสัตว์แลกกับเปลือกแอบะโลนีจากแคลิฟอร์เนีย[36] ในเวลานั้น สเปนสามารถผูกขาดการค้าระหว่างทวีปเอเชียและอเมริกาเหนือได้โดยให้ใบอนุญาตจำกัดแก่โปรตุเกส เมื่อชาวรัสเซียเริ่มสถาปนาระบบการค้าหนังสัตว์ที่เติบโตขึ้นในอะแลสกา ชาวสเปนเริ่มคัดค้านรัสเซีย โดยการเดินเรือของเปเรซเป็นครั้งแรก ๆ ที่ไปแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ[37][a]

    หลังมาถึงหมู่เกาะฮาวายในปี 1778 กัปตันคุกแล่นเรือขึ้นเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อสำรวจฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาเหนือซึ่งอยู่เหนือกว่านิคมสเปนในอัลตาแคลิฟอร์เนีย เขาขึ้นบกที่ฝั่งออริกอนที่ประมาณละติจูด 44°30′ เหนือ โดยตั้งชื่อจุดขึ้นบกนั้นว่า เคปเฟาล์เวเทอร์ ลมฟ้าอากาศเลวบังคับให้เรือของเขาลงใต้ไปประมาณ 43° เหนือก่อนสามารถเริ่มการสำรวจชายฝั่งไปทางเหนือ[39] ในเดือนมีนาคม 1778 คุกขึ้นบกที่เกาะไบล และตั้งชื่อทางเข้าว่า "คิงจอจส์ซาวด์" เขาบันทึกว่าชื่อชนพื้นเมือง คือ นุตคาหรือนูตคา[40]

    ผลต่อและอันตรกิริยากับประชากรพื้นเมือง

    ด้วยความคืบหน้าของการทำให้เป็นอาณานิคมของยุโรปในดินแดนสหรัฐร่วมสมัย อเมริกันพื้นเมืองมักถูกพิชิตและย้ายถิ่น[41] ประชากรพื้นเมืองของอเมริกาเสื่อมลงหลังชาวยุโรปมาถึง และด้วยหลายสาเหตุ จากโรคอย่างโรคฝีดาษและโรคหัดเป็นหลัก ความรุนแรงมิใช่ปัจจัยสำคัญในการเสื่อมลงโดยรวมในหมู่อเมริกันพื้นเมือง แม้มีความขัดแย้งระหว่างกันเองและกับชาวยุโรปมีผลต่อบางเผ่าและนิคมอาณานิคมต่าง ๆ[42][43][44][45][46][47]

    ในช่วงแรกของการทำให้เป็นอาณานิคม ผู้ตั้งถิ่นฐานยุโรปจำนวนมากประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร โรคและการโจมตีจากอเมริกันพื้นเมือง อเมริกันพื้นเมืองยังมักก่อสงครามกับเผ่าใกล้เคียงและเป็นพันธมิตรกับชาวยุโรปในสงครามอาณานิคมของตนเอง ทว่า ในเวลาเดียวกัน ชนพื้นเมืองและผู้ตั้งถิ่นฐานจำนวนมากพึ่งพาอาศัยกัน ผู้ตั้งถิ่นฐานแลกเปลี่ยนเอาอาหารและหนังสัตว์ ส่วนชนพื้นเมืองแลกเอาปืน เครื่องกระสุนและสินค้ายุโรปอื่น[48] ชนพื้นเมืองสอนผู้ตั้งถิ่นฐานจำนวนมากว่าจะเพาะปลูกข้าวโพด ถั่วและน้ำเต้าที่ไหน เมื่อใดและอย่างไร มิชชันนารียุโรปและอื่น ๆ รู้สึกว่าเป็นสิ่งสำคัญจะ "ทำให้เจริญ" ซึ่งอเมริกันพื้นเมืองและกระตุ้นให้พวกเขารับเทคนิคเกษตรกรรมและวิถีชีวิตของยุโรป[49][50]

    การเดินเรือเที่ยวสุดท้ายของกัปตันเจมส์ คุกรวมถึงการแล่นตามชายฝั่งทวีปอเมริกาเหนือและอะแลสกาเพื่อแสวงช่องทางตะวันออกเฉียงเหนือเป็นเวลาประมาณเก้าเดือน เขากลับฮาวายเพื่อเติมกำลังบำรุง เดิมสำรวจชายฝั่งเมาวีและเกาะใหญ่ ค้าขายกับคนท้องถิ่นแล้วทอดสมอที่อ่าวเกียลาเคกัวในเดือนมกราคม 1779 เมื่อเรือและพวกของเขาออกจากเกาะ เสาเรือหักในลมฟ้าอากาศเลว บังคับให้พวกเขาหวนคืนในกลางเดือนกุมภาพันธ์ คุกถูกฆ่าในอีกหลายวันต่อมา[51]

    เอกราชและการขยายอาณาเขต
    ดูเพิ่มเติมที่: การปฏิวัติอเมริกา, สงครามปฏิวัติอเมริกา, และ เทพลิขิต
     
    คำประกาศอิสรภาพ โดย จอห์น ทรัมบูล

    สงครามปฏิวัติอเมริกาเป็นสงครามประกาศอิสรภาพอาณานิคมที่สำเร็จครั้งแรกต่อชาติยุโรป ชาวอเมริกันพัฒนาอุดมการณ์ "สาธารณรัฐนิยม" โดยยืนยันว่ารัฐบาลจะต้องมาจากเจตจำนงของประชาชนโดยแสดงออกผ่านสภานิติบัญญัติท้องถิ่น พวกเขาเรียกร้องสิทธิเป็นชาวอังกฤษและ "ห้ามจัดเก็บภาษีหากไม่มีผู้แทน" ฝ่ายบริติชยืนยันการบริหารจักรวรรดิผ่านรัฐสภา และความขัดแย้งบานปลายเป็นสงคราม[52]

    หลังการผ่านข้อมติลีเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 1776 ซึ่งเป็นการออกเสียงลงมติเอกราชที่แท้จริง สภาทวีปที่สองลงมติรับคำประกาศอิสรภาพในวันที่ 4 กรกฎาคม ซึ่งประกาศในคำปรารภยาวว่า มนุษยชาติถูกสร้างขึ้นมาเท่าเทียมกันในสิทธิที่ไม่อาจโอนกันได้และบริเตนใหญ่ไม่คุ้มครองสิทธิเหล่านี้ และประกาศในคำของข้อมติว่าสิบสามอาณานิคมเป็นรัฐเอกราชและไม่สวามิภักดิ์กับพระมหากษัตริย์บริติชในสหรัฐ มีการเฉลิมฉลองวันที่ 4 กรกฎาคมทุกปีเป็นวันประกาศอิสรภาพ[53] ในปี 1777 บทบัญญัติสมาพันธรัฐ (Articles of Confederation) สถาปนารัฐบาลอ่อนที่ดำเนินการจนปี 1789[53]

    บริเตนรับรองเอกราชของสหรัฐหลังปราชัยที่ยอร์กทาวน์ในปี 1781[54] ในสนธิสัญญาสันติภาพปี 1783 เอกราชของสหรัฐได้รับการรับรองจากชายฝั่งแอตแลนติกไปทางตะวันตกถึงแม่น้ำมิสซิสซิปปี นักชาตินิยมนำการประชุมฟิลาเดลเฟียปี 1787 ในการเขียนรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐ ให้สัตยาบันในการประชุมรัฐในปี 1788 มีการจัดระเบียบรัฐบาลกลางใหม่เป็นสามอำนาจ โดยหลักการสร้างการตรวจสอบและถ่วงดุลที่มีประโยชน์ ในปี 1789 จอร์จ วอชิงตันซึ่งนำกองทัพปฏิวัติคว้าชัย เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่ ในปี 1791 มีการลงมติรับบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมืองซึ่งห้ามการจำกัดเสรีภาพส่วนบุคคลของรัฐบาลกลางและรับประกันการคุ้มครองทางกฎหมายต่าง ๆ[55]

    แม้รัฐบาลกลางทำให้การค้าทาสระหว่างประเทศเป็นความผิดในปี 1808 แต่หลังปี 1820 การใช้ทาสเพาะปลูกผลผลิตฝ้ายที่ได้กำไรสูงปะทุในดีปเซาท์ พร้อมกับจำนวนประชากรทาสด้วย[56][57][58] การตื่นใหญ่ที่สอง (Second Great Awakening) โดยเฉพาะอย่างยิ่งปี 1800–1840 เข้ารีตคนหลายล้านคนสู่โปรเตสแตนท์อีแวนเจลิคัล (evangelical) ในทิศเหนือ เหตุนี้ทำให้เกิดขบวนการปฏิรูปสังคมหลายขบวนการซึ่งรวมการเลิกทาส[59] ในภาคใต้ มีการชวนเข้ารีตเมทอดิสต์ (Methodist) และแบปทิสต์ในหมู่ประชากรทาส[60]

     
    ดินแดนซึ่งสหรัฐเข้าถือสิทธิ์แบ่งตามเวลา

    ความกระตือรือร้นของสหรัฐในการขยายดินแดนไปทางทิศตะวันตกทำให้เกิดสงครามอเมริกันอินเดียนยืดเยื้อ[61] การซื้อลุยเซียนาซึ่งดินแดนที่ฝรั่งเศสอ้างในปี 1803 ทำให้ประเทศมีพื้นที่เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว[62] สงครามปี 1812 ซึ่งประกาศต่อบริเตน กับความเดือดร้อนต่าง ๆ และการต่อสู้เพื่อดึงดูดและเสริมชาตินิยมสหรัฐ[63] ชุดการบุกเข้าทางทหารสู่ฟลอริดานำให้สเปนยกดินแดนดังกล่าวและดินแดนฝั่งอ่าว (Gulf Coast) ในปี 1819[64] การขยายดินแดนได้รับการช่วยเหลือจากเครื่องจักรไอน้ำ เมื่อเรือจักรไอน้ำเริ่มล่องตามระบบธารน้ำขนาดใหญ่ของอเมริกาซึ่งเชื่อมด้วยคลองสร้างใหม่ เช่น อีรีและไอแอนด์เอ็ม แล้วกระทั่งรางรถไฟที่เร็วกว่าเริ่มลากข้ามดินแดนของประเทศ[65]

    ตั้งแต่ปี 1820 ถึง 1850 ประชาธิปไตยแบบแจ็กสันเริ่มชุดการปฏิรูปซึ่งรวมสิทธิออกเสียงเลือกตั้งของชายผิวขาวในวงกว้างขึ้น นำสู่ความเจริญของระบบพรรคที่สองประชาธิปไตยและวิกเป็นพรรคการเมืองหลังตั้งแต่ปี 1828 ถึง 1854 เส้นทางธารน้ำตาในคริสต์ทศวรรษ 1830 เป็นตัวอย่างของนโยบายกำจัดอินเดียนซึ่งตั้งถิ่นฐานอินเดียนใหม่ทางตะวันตกในเขตสงวนอินเดียน สหรัฐผนวกสาธารณรัฐเท็กซัสในปี 1845 ระหว่างสมัยเทพลิขิตซึ่งมีลักษณะขยายดินแดน[66] สนธิสัญญาออริกอนปี 1846 กับบริเตนนำให้สหรัฐควบคุมภาคตะวันตกเฉียงเหนือปัจจุบัน[67] ชัยในสงครามเม็กซิโก–อเมริกาลงเอยด้วยการยกแคลิฟอร์เนียของเม็กซิโกและพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคตะวันตกเฉียงใต้ปัจจุบัน[68]

    การตื่นทองที่แคลิฟอร์เนียปี 1848–1849 กระตุ้นการย้ายถิ่นไปทางตะวันตกและการสถาปนารัฐทางตะวันตกเพิ่ม[69] หลังสงครามกลางเมืองอเมริกา ระบบรางข้ามทวีปใหม่ทำให้การย้ายถิ่นง่ายขึ้นสำหรับผู้ตั้งถิ่นฐาน การค้าภายในขยายตัวและความขัดแย้งกับอเมริกันพื้นเมืองเพิ่มขึ้น[70] กว่าครึ่งศตวรรษ การสูญเสียอเมริกันไบซันมีผลกระทบต่อการดำรงอยู่ต่อวัฒนธรรมอินเดียนที่ราบหลายวัฒนธรรม[71] ในปี 1869 นโยบายสันติภาพใหม่มุ่งคุ้มครองอเมริกันพื้นเมืองจากการละเมิด เลี่ยงสงครามเพิ่ม และประกันความเป็นพลเมืองสหรัฐในที่สุด แม้ความขัดแย้งซึ่งรวมสงครามอินเดียนครั้งใหญ่สุดหลายครั้งยังดำเนินต่อไปทั่วตะวันตกจนล่วงเข้าคริสต์ทศวรรษ 1900[72]

    สงครามกลางเมืองและสมัยการบูรณะ
    ดูบทความหลักที่: สงครามกลางเมืองอเมริกา และ สมัยการบูรณะ
     
    ยุทธการที่เกตตีสเบิร์ก รัฐเพนซิลเวเนียระหว่างสงครามกลางเมือง โดย Thure de Thulstrup

    ข้อแตกต่างของความเห็นและระเบียบสังคมระหว่างรัฐภาคเหนือและภาคใต้ในสังคมสหรัฐช่วงแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวข้องกับทาสผิวดำ จนสุดท้ายนำสู่สงครามกลางเมืองอเมริกา[73] เดิมทีรัฐเข้าสู่สหภาพสลับกันระหว่างรัฐทาสและรัฐเสรีเพื่อรักษาสมดุลภาคในวุฒิสภา ขณะที่รัฐเสรีมีประชากรมากกว่ารัฐทาสและมีผู้แทนในสภาผู้แทนราษฎรมากกว่า แต่ด้วยมีดินแดนตะวันตกและรัฐเสรีเพิ่มขึ้น ความตึงเครียดระหว่างรัฐทาสและรัฐเสรีสูงขึ้นด้วยการถกเถียงเกี่ยวกับระบอบสหพันธรัฐ การโอนการครอบครองดินแดน ควรขยายหรือจำกัดความเป็นทาสหรือไม่และอย่างไร[74]

    อับราฮัม ลินคอล์น ผู้ชนะการเลือกตั้ง ในปี 1860 ประธานาธิบดีคนแรกจากพรรครีพับลิกันซึ่งส่วนใหญ่ต่อต้านความเป็นทาส สุดท้ายการประชุมในสิบสามรัฐทาสประกาศแยกตัวออกและตั้งสมาพันธรัฐอเมริกา ขณะที่รัฐบาลกลางยืนยันว่าการแยกตัวออกไม่ชอบด้วยกฎหมาย[74] สงครามที่เกิดขึ้นให้หลังนั้นทีแรกเป็นสงครามเพื่อรักษาสหภาพ และหลังจากปี 1863 เมื่อกำลังพลสูญเสียเพิ่มขึ้นและลินคอล์นออกประกาศปลดปล่อยให้เป็นอิสระ (Emancipation Proclamation) เป้าหมายสงครามที่สองกลายเป็นการเลิกทาส สงครามนี้เป็นความขัดแย้งทางทหารที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐ ทำให้มีทหารเสียชีวิตประมาณ 618,000 คนและพลเรือนอีกเป็นอันมาก[75]

    หลังฝ่ายสหภาพมีชัยในปี 1865 มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญสหรัฐสามครั้ง การแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 13 ห้ามความเป็นทาส การแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 14 มอบความเป็นพลเมืองแก่แอฟริกันอเมริกันที่เคยเป็นทาสเกือบสี่ล้านคน[76] และการแก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 15 รับประกันว่าพวกเขามีสิทธิออกเสียงลงคะแนน สงครามและผลลัพธ์นำสู่การเพิ่มอำนาจของรัฐบาลกลางอย่างมากโดยมีเป้าหมายเพื่อบูรณาการและสร้างใหม่ซึ่งรัฐภาคใต้ขณะที่รับประกันสิทธิของทาสที่เพิ่งเป็นไท สงครามและผลนำสู่การเพิ่มอำนาจรัฐบาลกลางอย่างสำคัญ[77] โดยมีเป้าหมายเพื่อบูรณาการใหม่และสร้างใหม่ซึ่งรัฐภาคใต้พร้อมกับรับประกันสิทธิของทาสที่เพิ่งเป็นไท

    นักอนุรักษนิยมผิวขาวภาคใต้ซึ่งเรียกตนว่า "ผู้ไถ่" (Redeemer) เข้าควบคุมหลังสิ้นสุดการบูรณะ เมื่อถึงช่วงปี 1890–1910 กฎหมายจิม โครว์พรากสิทธิออกเสียงลงคะแนนคนผิวดำส่วนใหญ่และคนขาวยากจนบางส่วน คนดำเผชิญการแบ่งแยกทางเชื้อชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคใต้[78] ชนกลุ่มน้อยเชื้อชาติบางครั้งเผชิญการลงประชาทัณฑ์[79]

    การปรับให้เป็นอุตสาหกรรม
     
    เกาะเอลลิสในนครนิวยอร์กเป็นประตูสำคัญสำหรับการเข้าเมืองของชาวยุโรป[80]

    ในภาคเหนือ การขยายตัวของเมืองและการหลั่งไหลของคนเข้าเมืองจากยุโรปใต้และยุโรปตะวันออกอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ทำให้มีแรงงานเหลือเฟือสำหรับการปรับประเทศให้เป็นอุตสาหกรรมและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม[81] โครงสร้างพื้นฐานของประเทศซึ่งมีโทรเลขและทางรถไฟข้ามทวีปกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและการตั้งถิ่นฐานยิ่งใหญ่ขึ้นและการพัฒนาโอลด์เวสต์อเมริกา การประดิษฐ์หลอดไฟฟ้าและโทรศัพท์ ต่อมายังมีผลต่อการคมนาคมและชีวิตคนเมือง[82]

    การสิ้นสุดของสงครามอินเดียนยิ่งขยายพื้นที่ภายใต้การเพาะปลูกโดยใช้เครื่องจักร เพิ่มส่วนเกินสำหรับตลาดระหว่างประเทศ[83] การขยายดินแดนแผ่นดินใหญ่สำเร็จด้วยการซื้ออะแลสกาจากจักรวรรดิรัสเซียในปี 1867[84] ในปี 1893 ส่วนนิยมอเมริกาในฮาวายล้มราชาธิปไตยและตั้งสาธารณรัฐฮาวาย ซึ่งสหรัฐผนวกในปี 1898 สเปนยกปวยร์โตรีโก กวมและฟิลิปปินส์ให้สหรัฐในปีเดียวกันหลังสงครามสเปน–อเมริกา[85]

    การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ช่วยให้นักอุตสาหกรรมโดดเด่นจำนวนมากเฟื่องฟูขึ้น นักธุรกิจใหญ่อย่างคอร์เนเลียส แวนเดอร์บิลท์, จอห์น ดี. ร็อกเกอะเฟลเลอร์และแอนดรูว์ คาร์เนกีนำความก้าวหน้าของชาติในอุตสาหกรรมรางรถไฟ ปิโตรเลียมและเหล็กกล้า การธนาคารกลายเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจ โดยเจ. พี. มอร์แกนมีบทบาทเด่น ทอมัส เอดิสันและนิโคลา เทสลาทำให้ไฟฟ้ากระจายแพร่หลายสู่อุตสาหกรรม บ้านเรือนและสำหรับการให้แสงสว่างตามถนน เฮนรี ฟอร์ดปฏิวัติอุตสาหกรรมยานยนต์ เศรษฐกิจอเมริกาเฟื่องฟูและกลายเป็นเศรษฐกิจใหญ่สุดของโลก และสหรัฐได้สถานภาพมหาอำนาจ[86] การเปลี่ยนแปลงรวดเร็วนี้กอปรกับความไม่สงบทางสังคมและความเจริญของขบวนการประชานิยม สังคมนิยมและอนาธิปไตย[87] สุดท้ายสมัยนี้สิ้นสุดลงด้วยการมาของสมัยก้าวหน้า (Progressive Era) ซึ่งมีการปฏิรูปสำคัญในสังคมหลายด้าน ซึ่งรวมทั้งสิทธิออกเสียงเลือกตั้งของสตรี การห้ามแอลกอฮอล์ การกำกับสินค้าบริโภค มาตรการป้องกันการผูกขาดที่มากขึ้นเพื่อประกันการแข่งขันและความใส่ใจความเป็นอยู่ของแรงงาน[88][89][90]

    สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ และสงครามโลกครั้งที่สอง
     
    ฝูงชนชุมนุมกันที่วอลล์สตรีทหลังเหตุหลักทรัพย์ตกปี 1929

    สหรัฐวางตนเป็นกลางตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งปะทุในปี 1914 จนถึงปี 1917 เมื่อเข้าร่วมสงครามเป็น "ชาติสมทบ" ร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งอย่างเป็นทางการ โดยช่วยเปลี่ยนทิศทางของสงครามต่อฝ่ายมหาอำนาจกลาง ในปี 1919 ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสันรับบทบาทการทูตนำ ณ การประชุมสันติภาพปารีสและสนับสนุนอย่างแข็งขันให้สหรัฐเข้าร่วมสันนิบาตชาติ ทว่า วุฒิสภาปฏิเสธไม่อนุมัติและไม่ให้สัตยาบันสนธิสัญญาแวร์ซายซึ่งสถาปนาสันนิบาตชาติ[91]

    ในปี 1920 ขบวนการสิทธิสตรีชนะการผ่านการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญซึ่งให้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งของสตรี[92] คริสต์ทศวรรษ 1920 และ 1930 มีความเจริญเติบโตของสื่อสารมวลชนประเภทวิทยุและมีการประดิษฐ์โทรทัศน์ขึ้นในยุคแรก[93] ความเฟื่องฟูของทเวนตีร้องคำราม (Roaring Twenties) สิ้นสุดด้วยเหตุการณ์วอลล์สตรีทตกปี 1929 และการเริ่มต้นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ หลังแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในปี 1932 เขาสนองด้วยข้อตกลงใหม่ (New Deal) ซึ่งรวมการสถาปนาระบบหลักประกันสังคม[94] การย้ายถิ่นใหญ่ของแอฟริกันอเมริกันหลายล้านคนจากภาคใต้ของสหรัฐเริ่มก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและกินเวลาจนถึงคริสต์ทศวรรษ 1960[95] ขณะที่ชามฝุ่น (Dust Bowl) กลางคริสต์ทศวรรษ 1930 ทำให้ชุมชนกสิกรรมจำนวนมากยากจนและทำให้เกิดการย้ายถิ่นทางตะวันตกระลอกใหม่[96]

    ทีแรกสหรัฐวางตนเป็นกลางระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างที่เยอรมนีพิชิตทวีปยุโรปส่วนใหญ่ สหรัฐเริ่มจัดหาปัจจัยแก่ฝ่ายสัมพันธมิตรในเดือนมีนาคม 1941 ผ่านโครงการให้ยืม-เช่า วันที่ 7 ธันวาคม 1941 จักรวรรดิญี่ปุ่นเปิดฉากโจมตีอย่างจู่โจมต่อเพิร์ลฮาร์เบอร์ ทำให้สหรัฐเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรสู้รบกับฝ่ายอักษะ[97] ระหว่างสงคราม สหรัฐถูกเรียกว่าเป็นหนึ่งใน "สี่ตำรวจ"[98] แห่งฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ประชุมกันวางแผนโลกหลังสงคราม ร่วมกับบริเตน สหภาพโซเวียตและจีน[99] แม้สหรัฐเสียทหารกว่า 400,000 นาย[100] แต่แทบไม่ได้รับความเสียหายจากสงครามและยิ่งมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจและทางทหารมากยิ่งขึ้นอีก[101]

    สหรัฐมีบทบาทนำในการประชุมเบรตตันวูดส์และยัลตากับสหราชอาณาจักร สหภาพโซเวียตและฝ่ายสัมพันธมิตรอื่นซึ่งลงนามความตกลงว่าด้วยสถาบันการเงินระหว่างประเทศใหม่และการจัดระเบียบใหม่หลังสงครามของทวีปยุโรป เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรชนะในทวีปยุโรปแล้ว การประชุมระหว่างประเทศในซานฟรานซิสโกในปี 1945 ได้ออกกฎบัตรสหประชาชาติซึ่งมีผลใช้บังคับหลังสงคราม[102] สหรัฐพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ครั้งแรกและใช้มันกับญี่ปุ่นในนครฮิโระชิมะและนะงะซะกิ ญี่ปุ่นยอมจำนนในวันที่ 2 กันยายน ยุติสงครามโลกครั้งที่สอง[103][104]

    สงครามเย็นและยุคสิทธิมนุษยชน
    ดูเพิ่มเติมที่: ประวัติศาสตร์สหรัฐ (ค.ศ. 1945–1964), ประวัติศาสตร์สหรัฐ (ค.ศ. 1964–1980), และ ประวัติศาสตร์สหรัฐ (ค.ศ. 1980–1991)
     
    ประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกนแห่งสหรัฐ (ซ้าย) และเลขาธิการมีฮาอิล กอร์บาชอฟแห่งสหภาพโซเวียต ในการประชุมที่เจนีวาในปี 1985

    หลังสงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐและสหภาพโซเวียตประชันชิงอำนาจระหว่างสมัยสงครามเย็น ขับเคลื่อนด้วยการแบ่งแยกอุดมการณ์ระหว่างทุนนิยมและคอมมิวนิสต์ ทั้งสองครอบงำกิจการทหารของทวีปยุโรป โดยมีสหรัฐและพันธมิตรนาโต้ฝ่ายหนึ่งและสหภาพโซเวียตและพันธมิตรสนธิสัญญาวอร์ซออีกฝ่ายหนึ่ง สหรัฐพัฒนานโยบายการจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาต่อการขยายอิทธิพลตอมมิวนิสต์ ขณะที่สหรัฐและสหภาพโซเวียตต่อสู้ในสงครามตัวแทนและพัฒนาคลังอาวุธนิวเคลียร์ทรงพลัง และสองประเทศเลี่ยงความขัดแย้งทางทหารโดยตรง

    สหรัฐมักคัดค้านขบวนการโลกที่สามซึ่งมองว่าโซเวียตสนับสนุน ทหารอเมริกันต่อสู้กำลังคอมมิวนิสต์จีนและเกาหลีเหนือในสงครามเกาหลีปี 1950–1953 การปล่อยดาวเทียมดวงแรกของสหภาพโซเวียตปี 1957 และการปล่อยเที่ยวบินอวกาศที่มีมนุษย์โดยสารครั้งแรกในปี 1961 เริ่ม "การแข่งขันอวกาศ" ซึ่งสหรัฐเป็นชาติแรกที่นำมนุษย์ลงจอดดวงจันทร์ในปี 1969[105] สงครามตัวแทนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สุดท้ายกลายเป็นการเข้าไปมีส่วนพัวพันเต็มตัวของอเมริกา เช่น สงครามเวียดนาม

    ในประเทศ สหรัฐมีการขยายทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและการเติบโตของประชากรและชนชั้นกลางอย่างรวดเร็ว การก่อสร้างระบบทางหลวงระหว่างรัฐแปรสภาพโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในเวลาหลายทศวรรษถัดมา คนหลายล้านคนผละไร่นาและนครชั้นใน (inner city) สู่การพัฒนาเคหะชานเมืองขนาดใหญ่[106][107] ในปี 1959 ฮาวายกลายเป็นรัฐที่ 50 และรัฐล่าสุดของสหรัฐที่เพิ่มเข้าประเทศ[108] ขบวนการสิทธิพลเมืองที่เติบโตขึ้นใช้สันติวิธีเผชิญกับการแบ่งแยกและการเลือกปฏิบัติ โดยมีมาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์เป็นผู้นำคนสำคัญและหัวโขน คำวินิจฉัยของศาลและกฎหมายประกอบกันลงเอยด้วยรัฐบัญญัติสิทธิพลเมืองปี 1968 ซึ่งมุ่งยุติการเลือกปฏิบัติทางเพศ[109][110][111] ขณะเดียวกัน ขบวนการวัฒนธรรมต่อต้านเติบโตขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจากการค้านสงครามเวียดนาม ชาตินิยมผิวดำและการปฏิวัติทางเพศ

    การเปิดฉาก "สงครามต่อความยากจน" โดยประธานาธิบดี ลินดอน บี. จอห์นสัน ขยายการให้สิทธิ์และการใช้จ่ายด้านสวัสดิการ ซึ่งรวมการสร้างเมดิแคร์และเมดิเคด สองโครงการซึ่งให้ความคุ้มครองด้านสุขภาพต่อผู้สูงอายุและผู้ยากไร้ตามลำดับ และโครงการสแตมป์อาหาร (Food Stamp Program) และช่วยเหลือครอบครัวที่มีเด็กพึ่งพิง (Aid to Families with Dependent Children)[112]

    คริสต์ทศวรรษ 1970 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 เริ่มมีการชะงักทางเศรษฐกิจ หลังประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกนได้รับเลือกตั้งในปี 1980 เขาตอบโต้ด้วยการปฏิรูปเน้นตลาดเสรี หลังการล่มสลายของการผ่อนคลายความตึงเครียด เขาเลิก "การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนา" และริเริ่มยุทธศาสตร์ "ม้วนกลับ" ที่ก้าวร้าวขึ้นต่อสหภาพโซเวียต[113][114][115][116][117] หลังมีการเพิ่มขึ้นของแรงงานสตรีในทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้ในปี 1985 สตรีที่มีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไปส่วนใหญ่มีงานทำ[118]

    ปลายคริสต์ทศวรรษ 1980 มีการ "ผ่อนคลาย" ความสัมพันธ์กับสหภาพโซเวียต และการล่มลายในปี 1991 ยุติสงครามเย็นในที่สุด เหตุนี้นำมาซึ่งภาวะขั้วเดียว[119] โดยสหรัฐเป็นอภิมหาอำนาจครอบงำของโลกโดยไร้ผู้ต่อกร มโนทัศน์สันติภาพอเมริกา (Pax Americana) ซึ่งปรากฏในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นคำเรียกระเบียบโลกใหม่ยุคหลังสงครามเย็นที่ได้รับความนิยมกว้างขวาง

    ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย
     
    เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในโลวเออร์แมนฮัตตันระหว่างวินาศกรรม 11 กันยายน ปี 2001
     
    วันเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ที่ถูกสร้างแทนที่

    หลังสงครามเย็น ความขัดแย้งในตะวันออกกลางจุดชนวนวิกฤตการณ์ในปี 1990 เมื่อประเทศอิรักภายใต้ซัดดัม ฮุสเซนบุกครองและพยายามผนวกประเทศคูเวต กับพันธมิตรของสหรัฐ ด้วยเกรงว่าความไร้เสถียรภาพจากลามไปภูมิภาคอื่น ประธานาธิบดีจอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุชจึงเปิดฉากปฏิบัติการโล่ทะเลทราย การส่งกำลังป้องกันในประเทศซาอุดีอาระเบีย และปฏิบัติการพายุทะเลทรายในขั้นที่เรียก สงครามอ่าว โดยมีกำลังผสมจาก 34 ประเทศนำโดยสหรัฐต่อประเทศอิรัก ยุติด้วยการขับกำลังอิรักออกจากประเทศคูเวตได้สำเร็จ ฟื้นฟูราชาธิปไตยคูเวต[120]

    อินเทอร์เน็ตซึ่งกำเนิดในเครือข่ายกลาโหมสหรัฐลามไปเครือข่ายวิชาการระหว่างประเทศ และสู่สาธารณะในปี 1990 มีผลใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมโลก[121]

    เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่ดอตคอม นโยบายการเงินแบบเสถียรภาพภายใต้แอลัน กรีนสแพนและการลดรายจ่ายสวัสดิการสังคม คริสต์ทศวรรษ 1990 มีการขยายทางเศรษฐกิจใหญ่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐสมัยใหม่ซึ่งสิ้นสุดในปี 2001[122] เริ่มตั้งแต่ปี 1994 สหรัฐเข้าสู่ความตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) เชื่อมประชากร 450 ล้านคนซึ่งผลิตสินค้าและบริการมูลค่า 17 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ เป้าหมายของความตกลงคือเพื่อกำจัดอุปสรรคการค้าและการลงทุนในสหรัฐ ประเทศแคนาดาและเม็กซิโกในวันที่ 1 มกราคม 2008 การค้าในหมู่ไตรภาคีเพิ่มขึ้นมากตั้งแต่ NAFTA มีผลใช้บังคับ[123]

    วันที่ 11 กันยายน 2001 ผู้ก่อการร้ายอัลกออิดะฮ์โจมตีเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนครนิวยอร์กและอาคารเพนตากอนใกล้กับกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ทำให้มีผู้เสียชีวิตเกือบ 3,000 คน[124] สหรัฐตอบโต้ด้วยการเปิดฉากสงครามต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งรวมสงครามในอัฟกานิสถานและสงครามอิรักปี 2003–2011[125][126] ในปี 2007 รัฐบาลบุชสั่งเพิ่มกำลังทหารครั้งใหญ่ในสงครามอิรัก[127] ซึ่งลดความรุนแรงและนำสู่เสถียรภาพเพิ่มขึ้นในภูมิภาคอย่างเป็นผล[128][129]

    นโยบายของรัฐบาลซึ่งออกแบบเพื่อส่งเสริมการเคหะที่มีราคาไม่แพง[130] ความล้มเหลวกว้างขวางของบรรษัทภิบาลและธรรมาภิบาลในการกำกับดูแล (regulatory governance)[131] และอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ของระบบธนาคารกลาง[132] นำสู่ฟองสบู่การเคหะกลางคริสต์ทศวรรษ 2000 จนลงเอยด้วยวิกฤตการณ์การเงินปี 2008 เป็นการหดตัวทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศนับแต่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่[133] บารัก โอบามา ประธานาธิบดีแอฟริกันอเมริกันและหลายเชื้อชาติคนแรก ได้รับเลือกตั้งในปี 2008 ท่ามกลางวิกฤต[134] และต่อมาผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและรัฐบัญญัติการปฏิรูปวอลล์สตรีตและคุ้มครองผู้บริโภคด็อดด์-แฟรงก์เพื่อพยายามบรรเทาผลร้าย มาตรการกระตุ้นดังกล่าวอำนวยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน[135] และการว่างงานลดลงโดยสัมพัทธ์[136] ด็อดด์-แฟรงก์พัฒนาเสถียรภาพทางการเงินและการคุ้มครองผู้บริโภค[137] แต่มีผลลบต่อการลงทุนธุรกิจและธนาคารขนาดเล็ก[138]

    ในปี 2010 รัฐบาลโอบามาผ่านรัฐบัญญัติการบริบาลที่เสียได้ ซึ่งเป็นการปฏิรูปครั้งที่ครอบคลุมที่สุดต่อระบบสาธารณสุขของประเทศในเกือบห้าทศวรรษ ซึ่งรวมการมอบอำนาจ เงินอุดหนุนและการแลกเปลี่ยนประกัน กฎหมายนี้ทำให้ลดจำนวนและร้อยละของผู้ไม่มีประกันสุขภาพลงอย่างสำคัญ โดยมี 24 ล้านคนครอบคลุมระหว่างปี 2016[139] กระนั้น กฎหมายนี้เป็นที่โต้เถียงเนื่องจากผลกระทบต่อราคาสาธารณสุข เบี้ยประกันภัยและสมรรถภาพทางเศรษฐกิจ[140] แม้ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำถึงจุดต่ำสุดในเดือนมิถุนายน 2009 แต่ผู้ออกเสียงลงคะแนนยังคับข้องใจกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ล่าช้า พรรครีพับลิกันซึ่งคัดค้านนโยบายของโอบามา ได้ควบคุมสภาผู้แทนราษฎรอย่างถล่มทลายในปี 2010 และควบคุมวุฒิสภาในปี 2014[141]

    มีการถอนกำลังอเมริกันในประเทศอิรักในปี 2009 และ ปี 2010 และมีการประกาศให้สงครามในภูมิภาคยุติลงอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม 2011[142] การถอนกำลังดังกล่าวทำให้การก่อการกำเริบนิกายนิยมบานปลาย[143] นำสู่ความเจริญของรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ ซึ่งเป็นผู้สืบทอดของอัลกออิดะฮ์ในภูมิภาค[144] ในปี 2014 โอบามาประกาศฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางทูตสมบูรณ์กับประเทศคิวบาเป็นครั้งแรกนับแต่ปี 1961[145] ปีต่อมา สหรัฐซึ่งเป็นสมาชิกประเทศพี5+1 ลงนามแผนปฏิบัติการเบ็ดเสร็จร่วม ซึ่งเป็นความตกลงที่มุ่งชะลอการพัฒนาโครงการนิวเคลียร์ของประเทศอิหร่าน[146]

    ดอนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีผู้มั่งมีที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐและประธานาธิบดีคนแรกที่ไม่มีประสบการณ์ทางการเมืองและการทหารก่อนเข้าดำรงตำแหน่ง ได้รับเลือกตั้งในการเลือกตั้งประธานาธิบดีปี 2016 ถือเป็นการเลือกตั้งที่มีผลลัพธ์ผิดคาดที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศ[147] เขาเป็นผู้นำประเทศในการระบาดระลอกแรกของไวรัสโคโรนา 2019 ต่อมา ในช่วงต้นทศวรรษ 2020 สหรัฐต้องเผชิญกับความขัดแย้งในประเทศที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่ง การเสียชีวิตของจอร์จ ฟลอยด์ ก่อให้เกิดการประท้วงครั้งใหญ่รวมถึงเสียงวิจารณ์ในวงกว้างต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ[148] ความขัดแย้งยังทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง จากการเสียชีวิตของประชาชนจากเหตุการณ์กราดยิงในหลายพื้นที่[149] นำไปสู่ประเด็นถกเถียงต่อความเหมาะสมของกฎหมายในการครอบครองและพกพาอาวุธปืน ใน ค.ศ 2022 ศาลสูงสุดหรือศาลฎีกา (Supreme Court) พิพากษายกเลิกคำตัดสินคดี Roe v Wade ที่เคยพิพากษาเมื่อปี 1973 ว่าการทำแท้งเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ นำไปสู่การประท้วงในหลายพื้นที่ อย่างไรก็ตาม ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสังคมเริ่มกลับมาอีกครั้ง ชาวอเมริกันส่วนมากแสดงการต่อต้านการรุกรานยูเครนของรัสเซียอย่างเปิดเผย รัฐบาลสหรัฐตอบโต้ด้วยการยุติกิจการบริษัทหลายแห่งในรัสเซียและเบลารุส รวมถึงมีการสนับสนุนจากนักการเมืองระดับสูงในการส่งมอบอาวุธช่วยเหลือยูเครน[150]

    Roshen Dalal (August 2011). The Illustrated Timeline of the History of the World. The Rosen Publishing Group. p. 50. ISBN 978-1-4488-4797-6. Maugh II, Thomas H. (July 12, 2012). "Who was first? New info on North America's earliest residents". Los Angeles Times. Los Angeles County, California: Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ February 25, 2015.
    "What is the earliest evidence of the peopling of North and South America?". Smithsonian Institution, National Museum of Natural History. June 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 28, 2007. สืบค้นเมื่อ June 19, 2007.
    Kudeba, Nicolas (February 28, 2014). "Chapter 1 – The First Big Steppe – Aboriginal Canadian History". The History of Canada Podcast. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 1, 2014.
    Guy Gugliotta (February 2013). "When Did Humans Come to the Americas?". Smithsonian Magazine. Washington, DC: Smithsonian Institution. สืบค้นเมื่อ June 25, 2015.
    Fladmark, K.R., (1979) (2017). "Routes: alternate migration corridors for early man in North America". American Antiquity. 44: 55–69. doi:10.2307/279189. JSTOR 279189.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) Katz, Brigit (April 5, 2017). "Found: One of the Oldest North American Settlements". Smithsonian. สืบค้นเมื่อ August 26, 2017. Pinsker, Lisa (February 2004). "The Ice-Free Corridor Revisited". Geotimes. Waters, Michael; และคณะ (2007). "Redefining the Age of Clovis: Implications for the Peopling of the Americas". Science (315): 1122–1126. doi:10.1126/Science.1127166 (inactive 2017-09-29).{{cite journal}}: CS1 maint: DOI inactive as of กันยายน 2017 (ลิงก์) Flannery, T. (2001). The Eternal Frontier: an ecological history of North America and its peoples. New York: Grove Press. pp. 173–185. ISBN 0-8021-3888-8. Waters, Michael; Stafford, Tom (2014-08-18). "The First Americans: A Review of the Evidence for the Late-Pleistocene Peopling of the Americas" (PDF). Paleoamerican Odyssey. Texas A&M University Press. ISBN 978-1-62349-192-5. สืบค้นเมื่อ 2015-11-21. Craig Lockard (2010). Societies, Networks, and Transitions, Volume B: From 600 to 1750. University of Wisconsin. p. 315. ISBN 978-1-111-79083-7. King, Adam (2002). "Mississippian Period: Overview". New Georgia Encyclopedia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-22. สืบค้นเมื่อ 2017-10-14. Hodges, Glenn (January 2011). "America's Forgotten City". National Geographic Magazine. สืบค้นเมื่อ August 26, 2017. Johansen, Bruce (1995). "Dating the Iroquois Confederacy". Akwesasne Notes New Series. 1 (3): 62–63. สืบค้นเมื่อ December 12, 2008. Dean R. Snow (1994). The Iroquois. Blackwell Publishers, Ltd. ISBN 978-1-55786-938-8. สืบค้นเมื่อ July 16, 2010. Richter, "Ordeals of the Longhouse", in Richter and Merrill, eds., Beyond the Covenant Chain, 11–12. Pearce, Charles E.M.; Pearce, F. M. (17 June 2010). Oceanic Migration: Paths, Sequence, Timing and Range of Prehistoric Migration in the Pacific and Indian Oceans. Springer Science & Business Media. p. 167. ISBN 978-90-481-3826-5. Whittaker, Elvi W. (January 1986). The Mainland Haole: The White Experience in Hawaii. Columbia University Press. p. 3. ISBN 978-0-231-05316-7. Fish, Shirley (2011). The Manila-Acapulco Galleons : The Treasure Ships of the Pacific: With An Annotated List of the Transpacific Galleons 1565–1815. AuthorHouse. pp. 360–. ISBN 978-1-4567-7543-8. Collingridge, Vanessa (2003). Captain Cook: The Life, Death and Legacy of History's Greatest Explorer. Ebury Press. p. 380. ISBN 0-09-188898-0. "St. Augustine Florida, The Nation's Oldest City". staugustine.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-12-05. สืบค้นเมื่อ 2017-10-14. Remini 2007, pp. 2–3 Johnson 1997, pp. 26–30 Walton, 2009, chapter 3 Lemon, 1987 Jackson, L. P. (1924). Elizabethan Seamen and the African Slave Trade. pp. 1–17. JSTOR 2713432. Tadman, 2000, p. 1534 Schneider, 2007, p. 484 Lien, 1913, p. 522 Davis, 1996, p. 7 Quirk, 2011, p. 195 Bilhartz, Terry D.; Elliott, Alan C. (2007). Currents in American History: A Brief History of the United States. M.E. Sharpe. ISBN 978-0-7656-1817-7. Wood, Gordon S. (1998). The Creation of the American Republic, 1776–1787. UNC Press Books. p. 263. ISBN 978-0-8078-4723-7. Walton, 2009, pp. 38–39 Foner, Eric. The Story of American Freedom, 1998 ISBN 0-393-04665-6 p.4-5. Walton, 2009, p. 35 Otis, James (1763). "The Rights of the British Colonies Asserted and Proved". Online Library of Liberty. สืบค้นเมื่อ January 10, 2015. Pethick, Derek (1980). The Nootka Connection: Europe and the Northwest Coast 1790–1795. Vancouver: Douglas & McIntyre. pp. 8–9. ISBN 0-88894-279-6. Pethick, Derek (1980). The Nootka Connection: Europe and the Northwest Coast 1790–1795. Vancouver: Douglas & McIntyre. pp. 7–8. ISBN 0-88894-279-6. Robert J. King, "'The long wish'd for object' — Opening the trade to Japan, 1785–1795", The Northern Mariner / le marin du nord, vol.XX, no.1, January 2010, pp.1–35. Hayes, Derek (1999). Historical Atlas of the Pacific Northwest: Maps of exploration and Discovery. Sasquatch Books. pp. 42–43. ISBN 1-57061-215-3. Alexander von Humboldt, Political Essay on the Kingdom of New Spain, translated by John Black, Vol. 2, London, Longman, 1822, translator’s note, p.322. Paul Joseph (11 October 2016). The SAGE Encyclopedia of War: Social Science Perspectives. SAGE Publications. p. 590. ISBN 978-1-4833-5988-5. "The Cambridge encyclopedia of human paleopathology เก็บถาวร กุมภาพันธ์ 8, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน". Arthur C. Aufderheide, Conrado Rodríguez-Martín, Odin Langsjoen (1998). Cambridge University Press. p. 205. ISBN 0-521-55203-6 Bianchine, Russo, 1992 pp. 225–232 Thornton 1987, p. 47 Kessel, 2005 pp. 142–143 Mercer Country Historical Society, 2005 Stannard, 1993 Ripper, 2008 p. 6 Ripper, 2008 p. 5 Calloway, 1998, p. 55 Jeff Campbell (15 September 2010). Hawaii. Lonely Planet. p. 38. ISBN 978-1-74220-344-7. Humphrey, Carol Sue (2003). The Revolutionary Era: Primary Documents on Events from 1776 To 1800. Greenwood Publishing. pp. 8–10. ISBN 978-0-313-32083-5. ↑ 53.0 53.1 Fabian Young, Alfred; Nash, Gary B.; Raphael, Ray (2011). Revolutionary Founders: Rebels, Radicals, and Reformers in the Making of the Nation. Random House Digital. pp. 4–7. ISBN 978-0-307-27110-5. Greene and Pole, A Companion to the American Revolution p 357. Jonathan R. Dull, A Diplomatic History of the American Revolution (1987) p. 161. Lawrence S. Kaplan, "The Treaty of Paris, 1783: A Historiographical Challenge", International History Review, Sept 1983, Vol. 5 Issue 3, pp 431–442 Boyer, 2007, pp. 192–193 Cogliano, Francis D. (2008). Thomas Jefferson: Reputation and Legacy. University of Virginia Press. p. 219. ISBN 978-0-8139-2733-6. Walton, 2009, p. 43 Gordon, 2004, pp. 27,29 Clark, Mary Ann (May 2012). Then We'll Sing a New Song: African Influences on America's Religious Landscape. Rowman & Littlefield. p. 47. ISBN 978-1-4422-0881-0. Heinemann, Ronald L., et al., Old Dominion, New Commonwealth: a history of Virginia 1607–2007, 2007 ISBN 978-0-8139-2609-4, p.197 Billington, Ray Allen; Ridge, Martin (2001). Westward Expansion: A History of the American Frontier. UNM Press. p. 22. ISBN 978-0-8263-1981-4. "Louisiana Purchase" (PDF). National Park Services. สืบค้นเมื่อ March 1, 2011. Wait, Eugene M. (1999). America and the War of 1812. Nova Publishers. p. 78. ISBN 978-1-56072-644-9. Klose, Nelson; Jones, Robert F. (1994). United States History to 1877. Barron's Educational Series. p. 150. ISBN 978-0-8120-1834-9. Winchester, pp. 198, 216, 251, 253 Morrison, Michael A. (1999). Slavery and the American West: The Eclipse of Manifest Destiny and the Coming of the Civil War. University of North Carolina Press. pp. 13–21. ISBN 978-0-8078-4796-1. Kemp, Roger L. (2010). Documents of American Democracy: A Collection of Essential Works. McFarland. p. 180. ISBN 978-0-7864-4210-2. สืบค้นเมื่อ October 25, 2015. McIlwraith, Thomas F.; Muller, Edward K. (2001). North America: The Historical Geography of a Changing Continent. Rowman & Littlefield. p. 61. ISBN 978-0-7425-0019-8. สืบค้นเมื่อ October 25, 2015. Rawls, James J. (1999). A Golden State: Mining and Economic Development in Gold Rush California. University of California Press. p. 20. ISBN 978-0-520-21771-3. Black, Jeremy (2011). Fighting for America: The Struggle for Mastery in North America, 1519–1871. Indiana University Press. p. 275. ISBN 978-0-253-35660-4. Wishart, David J. (2004). Encyclopedia of the Great Plains. University of Nebraska Press. p. 37. ISBN 978-0-8032-4787-1. Smith (2001), Grant, pp. 523–526 Stuart Murray (2004). Atlas of American Military History. Infobase Publishing. p. 76. ISBN 978-1-4381-3025-5. สืบค้นเมื่อ October 25, 2015.
    Harold T. Lewis (January 1, 2001). Christian Social Witness. Rowman & Littlefield. p. 53. ISBN 978-1-56101-188-9.
    ↑ 74.0 74.1 Patrick Karl O'Brien (2002). Atlas of World History. Oxford University Press. p. 184. ISBN 978-0-19-521921-0. สืบค้นเมื่อ October 25, 2015. Vinovskis, Maris (1990). Toward A Social History of the American Civil War: Exploratory Essays. Cambridge; New York: Cambridge University Press. p. 4. ISBN 0-521-39559-3. "1860 Census" (PDF). U.S. Census Bureau. สืบค้นเมื่อ June 10, 2007. Page 7 lists a total slave population of 3,953,760. De Rosa, Marshall L. (1997). The Politics of Dissolution: The Quest for a National Identity and the American Civil War. Edison, NJ: Transaction. p. 266. ISBN 1-56000-349-9. Shearer Davis Bowman (1993). Masters and Lords: Mid-19th-Century U.S. Planters and Prussian Junkers. Oxford UP. p. 221. Jason E. Pierce (2016). Making the White Man's West: Whiteness and the Creation of the American West. University Press of Colorado. p. 256. Marie Price; Lisa Benton-Short (2008). Migrants to the Metropolis: The Rise of Immigrant Gateway Cities. Syracuse University Press. p. 51. ISBN 978-0-8156-3186-6. John Powell (2009). Encyclopedia of North American Immigration. Infobase Publishing. p. 74. ISBN 978-1-4381-1012-7. สืบค้นเมื่อ October 25, 2015. Winchester, pp. 351, 385 "Toward a Market Economy". CliffsNotes. Houghton Mifflin Harcourt. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-22. สืบค้นเมื่อ December 23, 2014. "Purchase of Alaska, 1867". Office of the Historian. U.S. Department of State. สืบค้นเมื่อ December 23, 2014. "The Spanish-American War, 1898". Office of the Historian. U.S. Department of State. สืบค้นเมื่อ December 24, 2014. Kirkland, Edward. Industry Comes of Age: Business, Labor, and Public Policy (1961 ed.). pp. 400–405. Zinn, 2005 Paige Meltzer, "The Pulse and Conscience of America" The General Federation and Women's Citizenship, 1945–1960," Frontiers: A Journal of Women Studies (2009), Vol. 30 Issue 3, pp. 52–76. James Timberlake, Prohibition and the Progressive Movement, 1900–1920 (Harvard UP, 1963) George B. Tindall, "Business Progressivism: Southern Politics in the Twenties," South Atlantic Quarterly 62 (Winter 1963): 92–106. McDuffie, Jerome; Piggrem, Gary Wayne; Woodworth, Steven E. (2005). U.S. History Super Review. Piscataway, NJ: Research & Education Association. p. 418. ISBN 0-7386-0070-9. Voris, Jacqueline Van (1996). Carrie Chapman Catt: A Public Life. Women and Peace Series. New York City: Feminist Press at CUNY. p. vii. ISBN 1-55861-139-8. Carrie Chapmann Catt led an army of voteless women in 1919 to pressure Congress to pass the constitutional amendment giving them the right to vote and convinced state legislatures to ratify it in 1920. ... Catt was one of the best-known women in the United States in the first half of the twentieth century and was on all lists of famous American women. Winchester pp. 410–411 Axinn, June; Stern, Mark J. (2007). Social Welfare: A History of the American Response to Need (7th ed.). Boston: Allyn & Bacon. ISBN 978-0-205-52215-6. Lemann, Nicholas (1991). The Promised Land: The Great Black Migration and How It Changed America. New York: Alfred A. Knopf. p. 6. ISBN 0-394-56004-3. James Noble Gregory (1991). American Exodus: The Dust Bowl Migration and Okie Culture in California. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-507136-8. สืบค้นเมื่อ October 25, 2015.
    "Mass Exodus From the Plains". American Experience. WGBH Educational Foundation. 2013. สืบค้นเมื่อ October 5, 2014.
    Fanslow, Robin A. (April 6, 1998). "The Migrant Experience". American Folklore Center. Library of Congress. สืบค้นเมื่อ October 5, 2014.
    Walter J. Stein (1973). California and the Dust Bowl Migration. Greenwood Press. ISBN 978-0-8371-6267-6. สืบค้นเมื่อ October 25, 2015.
    Yamasaki, Mitch. "Pearl Harbor and America's Entry into World War II: A Documentary History" (PDF). World War II Internment in Hawaii. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ December 13, 2014. สืบค้นเมื่อ January 14, 2015. Kelly, Brian. "The Four Policemen and. Postwar Planning, 1943–1945: The Collision of Realist and. Idealist Perspectives". สืบค้นเมื่อ June 21, 2014. Hoopes & Brinkley 1997, p. 100. Leland, Anne; Oboroceanu, Mari–Jana (February 26, 2010). "American War and Military Operations Casualties: Lists and Statistics" (PDF). Congressional Research Service. สืบค้นเมื่อ February 18, 2011. p. 2. Kennedy, Paul (1989). The Rise and Fall of the Great Powers. New York: Vintage. p. 358. ISBN 0-679-72019-7 "The United States and the Founding of the United Nations, August 1941 – October 1945". U.S. Dept. of State, Bureau of Public Affairs, Office of the Historian. October 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 12, 2007. สืบค้นเมื่อ June 11, 2007. "Why did Japan surrender in World War II? | The Japan Times". The Japan Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ February 8, 2017. Pacific War Research Society (2006). Japan's Longest Day. New York: Oxford University Press. ISBN 4-7700-2887-3. Collins, Michael (1988). Liftoff: The Story of America's Adventure in Space. New York: Grove Press. Winchester, pp. 305–308 Blas, Elisheva. "The Dwight D. Eisenhower National System of Interstate and Defense Highways" (PDF). societyforhistoryeducation.org. Society for History Education. สืบค้นเมื่อ January 19, 2015. Richard Lightner (January 1, 2004). Hawaiian History: An Annotated Bibliography. Greenwood Publishing Group. p. 141. ISBN 978-0-313-28233-1. Dallek, Robert (2004). Lyndon B. Johnson: Portrait of a President. Oxford University Press. p. 169. ISBN 978-0-19-515920-2. "Our Documents – Civil Rights Act (1964)". United States Department of Justice. สืบค้นเมื่อ July 28, 2010. "Remarks at the Signing of the Immigration Bill, Liberty Island, New York". October 3, 1965. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-16. สืบค้นเมื่อ January 1, 2012. "Social Security". ssa.gov. สืบค้นเมื่อ October 25, 2015. Soss, 2010, p. 277 Fraser, 1989 Ferguson, 1986, pp. 43–53 Williams, pp. 325–331 Niskanen, William A. (1988). Reaganomics: an insider's account of the policies and the people. Oxford University Press. p. 363. ISBN 978-0-19-505394-4. สืบค้นเมื่อ October 25, 2015. "Women in the Labor Force: A Databook" (PDF). U.S. Bureau of Labor Statistics. 2013. p. 11. สืบค้นเมื่อ March 21, 2014. Charles Krauthammer, "The Unipolar Moment," Foreign Affairs, 70/1, (Winter 1990/1), 23–33. "Persian Gulf War". Encyclopædia Britannica. Encyclopædia Britannica, Inc. 2016. สืบค้นเมื่อ January 24, 2017. Winchester, pp. 420–423 Dale, Reginald (February 18, 2000). "Did Clinton Do It, or Was He Lucky?". The New York Times. สืบค้นเมื่อ March 6, 2013.
    Mankiw, N. Gregory (2008). Macroeconomics. Cengage Learning. p. 559. ISBN 978-0-324-58999-3. สืบค้นเมื่อ October 25, 2015.
    "North American Free Trade Agreement (NAFTA)" เก็บถาวร 2013-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Office of the United States Trade Representative. Retrieved January 11, 2015.
    Thakur; Manab Thakur Gene E Burton B N Srivastava (1997). International Management: Concepts and Cases. Tata McGraw-Hill Education. pp. 334–335. ISBN 978-0-07-463395-3. สืบค้นเมื่อ October 25, 2015.
    Akis Kalaitzidis; Gregory W. Streich (September 13, 2011). U.S. Foreign Policy: A Documentary and Reference Guide. ABC-CLIO. p. 201. ISBN 978-0-313-38376-2.
    Flashback 9/11: As It Happened. Fox News. September 9, 2011. สืบค้นเมื่อ March 6, 2013.
    "America remembers Sept. 11 attacks 11 years later". CBS News. Associated Press. September 11, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-17. สืบค้นเมื่อ March 6, 2013.
    "Day of Terror Video Archive". CNN. 2005. สืบค้นเมื่อ March 6, 2013.
    Walsh, Kenneth T. (December 9, 2008). "The 'War on Terror' Is Critical to President George W. Bush's Legacy". U.S. News & World Report. สืบค้นเมื่อ March 6, 2013.
    Atkins, Stephen E. (2011). The 9/11 Encyclopedia: Second Edition. ABC-CLIO. p. 872. ISBN 978-1-59884-921-9. สืบค้นเมื่อ October 25, 2015.
    Wong, Edward (February 15, 2008). "Overview: The Iraq War". The New York Times. สืบค้นเมื่อ March 7, 2013.
    Johnson, James Turner (2005). The War to Oust Saddam Hussein: Just War and the New Face of Conflict. Rowman & Littlefield. p. 159. ISBN 978-0-7425-4956-2. สืบค้นเมื่อ October 25, 2015.
    Durando, Jessica; Green, Shannon Rae (December 21, 2011). "Timeline: Key moments in the Iraq War". USA Today. Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-04. สืบค้นเมื่อ March 7, 2013.
    George W. Bush (January 10, 2007). "Fact Sheet: The New Way Forward in Iraq". Office of the Press Secretary. สืบค้นเมื่อ January 26, 2017. After talking to some Afghan leaders, it was said that the Iran's would be revolting if more troops were to be sent to Iran. Feaver, Peter (August 13, 2015). "Hillary Clinton and the Inconvenient Facts About the Rise of the Islamic State". Foreign Policy. [T]he Obama team itself, including Clinton, have repeatedly confirmed that they understand that the surge was successful. Clinton even conceded to former Defense Secretary Robert Gates: 'The surge worked.' "Iraqi surge exceeded expectations, Obama says". NBC News. Associated Press. September 4, 2008. Obama said the surge of U.S. troops has 'succeeded beyond our wildest dreams.' Wallison, Peter (2015). Hidden in Plain Sight: What Really Caused the World's Worst Financial Crisis and Why It Could Happen Again. Encounter Books. ISBN 978-1-59403-770-2. Financial Crisis Inquiry Commission (2011). Financial Crisis Inquiry Report (PDF). ISBN 978-1-60796-348-6. Taylor, John B. (January 2009). "The Financial Crisis and the Policy Responses: An Empirical Analysis of What Went Wrong" (PDF). Hoover Institution Economics Paper Series. National Bureau of Economic Research. สืบค้นเมื่อ January 21, 2017. Hilsenrath, Jon; Ng, Serena; Paletta, Damian (September 18, 2008). "Worst Crisis Since '30s, With No End Yet in Sight". The Wall Street Journal. Dow Jones & Company. สืบค้นเมื่อ January 21, 2017. Washington, Jesse; Rugaber, Chris (September 9, 2011). "African-American Economic Gains Reversed By Great Recession". Huffington Post. Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 16, 2013. สืบค้นเมื่อ March 7, 2013. "What the Stimulus Accomplished". The New York Times. The New York Times Company. February 22, 2014. สืบค้นเมื่อ January 21, 2017. "Economic Stimulus". IGM Polls. Initiative on Global Markets at the University of Chicago. February 15, 2012. สืบค้นเมื่อ January 21, 2017. "The Impact of the Dodd-Frank Act on Financial Stability and Economic Growth" (PDF). Brookings. October 24, 2014. สืบค้นเมื่อ August 31, 2017; Martin Neil Baily; Aaron Klein; Justin Schardin (January 2017). "The Impact of the Dodd-Frank Act on Financial Stability and Economic Growth". The Russell Sage Foundation Journal of the Social Sciences. 3 (1): 20. doi:10.7758/RSF.2017.3.1.02. Lux, Marshall; Robert, Greene (2015). "The State and Fate of Community Banking". Harvard Mossavar-Rahmani Center for Business and Government. สืบค้นเมื่อ January 21, 2017. "Federal Subsidies for Health Insurance Coverage for People Under Age 65: 2016 to 2026". Congressional Budget Office. สืบค้นเมื่อ January 21, 2017. Bradner, Eric (January 13, 2017). "Ryan: GOP will repeal, replace Obamacare at same time". CNN. สืบค้นเมื่อ January 21, 2017. Jacobson, Gary C. (March 2011). "The Republican Resurgence in 2010". Political Science Quarterly. 126 (1): 27–52. doi:10.1002/j.1538-165X.2011.tb00693.x. Shanker, Thom; Schmidt, Michael S.; Worth, Robert F. (December 15, 2011). "In Baghdad, Panetta Leads Uneasy Closure to Conflict". The New York Times. "The JRTN Movement and Iraq's Next Insurgency | Combating Terrorism Center at West Point". United States Military Academy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-26. สืบค้นเมื่อ January 26, 2017. "Al-Qaeda's Resurgence in Iraq: A Threat to U.S. Interests". U.S Department of State. January 26, 2017. สืบค้นเมื่อ November 26, 2010. Peter Baker (January 26, 2017). "U.S. to Restore Full Relations With Cuba, Erasing a Last Trace of Cold War Hostility". The New York Times. Gordon, Michael R.; Sanger, David E. (July 15, 2015). "Deal Reached on Iran Nuclear Program; Limits on Fuel Would Lessen With Time". The New York Times. The New York Times Company. สืบค้นเมื่อ January 26, 2017. https://www.washingtonpost.com/lifestyle/kidspost/donald-trump-is-elected-president-of-the-united-states/2016/11/09/58046db4-a684-11e6-ba59-a7d93165c6d4_story.html "A Timeline of the George Floyd Protests - The New York Times". web.archive.org. 2020-06-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-02. สืบค้นเมื่อ 2022-10-06.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) "How Mass Shootings Leave Emotional Scars on Society | Psychology Today". www.psychologytoday.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). "The Senate has approved roughly $40 billion in aid to Ukraine". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-10-06.


    อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน หรือไม่มีการปิด </ref>

    Read less

Phrasebook

สวัสดี
Hello
โลก
World
สวัสดีชาวโลก
Hello world
ขอขอบคุณ
Thank you
ลาก่อน
Goodbye
ใช่
Yes
ไม่
No
คุณเป็นอย่างไรบ้าง
How are you?
สบายดีขอบคุณ
Fine, thank you
ราคาเท่าไหร่?
How much is it?
ศูนย์
Zero
หนึ่ง
One

Where can you sleep near สหรัฐ ?

Booking.com
487.424 visits in total, 9.187 Points of interest, 404 Destinations, 50 visits today.