Context of ประเทศไอซ์แลนด์

ไอซ์แลนด์ (อังกฤษ: Iceland; ไอซ์แลนด์: Ísland [ˈistlant] อิสตลันต์) เป็นประเทศนอร์ดิกในยุโรปเหนือ ตั้งอยู่บนเกาะในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ระหว่างกรีนแลนด์ นอร์เวย์ และสหราชอาณาจักร มีเมืองหลวงคือเรคยาวิก

ไอซ์แลนด์มีประชากรประมาณสามแสนห้าหมื่นกว่าคน มีพื้นที่ประเทศรวม 102,775 ตารางกิโลเมตร นับว่ามีประชากรเบาบาง จากดัชนีการพัฒนามนุษย์ ปี พ.ศ. 2549 ของสหประชาชาติ ไอซ์แลนด์เป็นประเทศที่มีการพัฒนาสูงที่สุดในโลก ไอซ์แลนด์เป็นสมาชิกของนาโต เอฟตา อีอีเอ และโออีซีดี แต่ไม่มีกองกองทัพเป็นของตนเอง และไม่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป โดยในปี พ.ศ. 2557 ได้ถูกจัดให้เป็นประเทศที่สงบสุขที่สุดในโลก

คำว่า "ไอซ์แลนด์" ที่ใช้ในภาษาไทยนั้นทับศัพท์จากคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Iceland" ส่วนชื่อในภาษาไอซ์แลนด์คือ "Ísland" (อีสลันต์) คำว่า ís แปลว่าน้ำแข็ง และ land แปลว่าแผ่นดินหรือประเทศ

บริเวณเกาะทั้งหมดอยู่ภายใต้การบริหารของ รัฐสภาไอซ์แลนด์ (Althing) ซึ่งเป็นหนึ่งในสภานิติบัญญัติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่...อ่านต่อ

ไอซ์แลนด์ (อังกฤษ: Iceland; ไอซ์แลนด์: Ísland [ˈistlant] อิสตลันต์) เป็นประเทศนอร์ดิกในยุโรปเหนือ ตั้งอยู่บนเกาะในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ระหว่างกรีนแลนด์ นอร์เวย์ และสหราชอาณาจักร มีเมืองหลวงคือเรคยาวิก

ไอซ์แลนด์มีประชากรประมาณสามแสนห้าหมื่นกว่าคน มีพื้นที่ประเทศรวม 102,775 ตารางกิโลเมตร นับว่ามีประชากรเบาบาง จากดัชนีการพัฒนามนุษย์ ปี พ.ศ. 2549 ของสหประชาชาติ ไอซ์แลนด์เป็นประเทศที่มีการพัฒนาสูงที่สุดในโลก ไอซ์แลนด์เป็นสมาชิกของนาโต เอฟตา อีอีเอ และโออีซีดี แต่ไม่มีกองกองทัพเป็นของตนเอง และไม่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรป โดยในปี พ.ศ. 2557 ได้ถูกจัดให้เป็นประเทศที่สงบสุขที่สุดในโลก

คำว่า "ไอซ์แลนด์" ที่ใช้ในภาษาไทยนั้นทับศัพท์จากคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า "Iceland" ส่วนชื่อในภาษาไอซ์แลนด์คือ "Ísland" (อีสลันต์) คำว่า ís แปลว่าน้ำแข็ง และ land แปลว่าแผ่นดินหรือประเทศ

บริเวณเกาะทั้งหมดอยู่ภายใต้การบริหารของ รัฐสภาไอซ์แลนด์ (Althing) ซึ่งเป็นหนึ่งในสภานิติบัญญัติที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ยังดำเนินการอยู่ ไอซ์แลนด์เป็นส่วนหนึ่งของการปกครองของนอร์เวย์ในศตวรรษที่ 13 ซึ่งการก่อตั้งสหภาพคาลมาร์ในปี พ.ศ. 1940 ได้รวมราชอาณาจักรนอร์เวย์ เดนมาร์ก และสวีเดนเข้าด้วยกัน ไอซ์แลนด์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนอร์เวย์ในขณะนั้นจึงได้เข้าร่วมสหภาพ และอยู่ภายใต้การปกครองของราชอาณาจักรเดนมาร์กหลังจากสวีเดนแยกตัวออกจากสหภาพในปี พ.ศ. 2066

ภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสและสงครามนโปเลียน การต่อสู้เพื่อเอกราชของไอซ์แลนด์ได้เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงด้วยอิสรภาพในปี 2461 ตามมาด้วยการก่อตั้งสาธารณรัฐในปี พ.ศ. 2487 แม้ว่ารัฐสภาจะถูกระงับการดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2342 ถึง พ.ศ. 2388 ประชากรไอซ์แลนด์อาศัยการทำประมงและเกษตรกรรมเพื่อเลี้ยงชีพเป็นส่วนใหญ่จนถึงศตวรรษที่ 20 อุตสาหกรรมประมงและแผนมาร์แชลล์หลังสงครามโลกครั้งที่สองนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรือง และไอซ์แลนด์กลายเป็นหนึ่งในประเทศที่ร่ำรวยที่สุดและพัฒนามากที่สุดในโลก และเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเขตเศรษฐกิจยุโรปในปี 2537 ทำให้เศรษฐกิจของประเทศพัฒนามากขึ้นในภาคส่วนต่าง ๆ เช่น การเงิน เทคโนโลยีชีวภาพ และการผลิต

ไอซ์แลนด์มีการเก็บภาษีที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศ OECD อื่น ๆ และเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพแรงงาน รัฐบาลรักษาระบบสวัสดิการสังคมตามตัวแบบนอร์ดิกที่ให้การดูแลสุขภาพและการศึกษาแก่ประชากรอย่างถ้วนหน้า ไอซ์แลนด์เป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ประชาธิปไตย และสังคมสูง รวมถึงความเท่าเทียมกันในสังคม โดยอยู่ในอันดับสามของโลกโดยพิจารณาจากความมั่งคั่งเฉลี่ยต่อคน ในปี พ.ศ. 2563 ไอซ์แลนด์ได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วมากที่สุดเป็นอันดับสี่ของโลกโดยดัชนีการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาติ และอยู่ในอันดับต้น ๆ ในดัชนีสันติภาพโลก และเป็นประเทศที่มีการใช้พลังงานหมุนเวียนเกือบทั้งประเทศ

วัฒนธรรมไอซ์แลนด์ได้รับอิทธิพลจากกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย ชาวไอซ์แลนด์ส่วนใหญ่เป็นลูกหลานของผู้ตั้งถิ่นฐานชาวนอร์สสืบเชื้อสายมาจากชาวนอร์สโบราณทางตะวันตก และมีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับภาษาแฟโร มรดกทางวัฒนธรรมของประเทศรวมถึงอาหารแบบดั้งเดิม วรรณกรรม และเรื่องราวเกี่ยวกับเทพนิยายในยุคกลาง ไอซ์แลนด์เป็นประเทศที่มีประชากรน้อยที่สุดในบรรดาสมาชิกของเนโท และเป็นประเทศเดียวที่ไม่มีกองทัพประจำการ โดยมีเพียงหน่วยยามฝั่งติดอาวุธ

More about ประเทศไอซ์แลนด์

Basic information
  • Calling code +354
  • Internet domain .is
  • Speed limit 90
  • Mains voltage 230V/50Hz
  • Democracy index 9.37
Population, Area & Driving side
  • Population 376248
  • Area 103004
  • Driving side right
ประวัติ
  • ชนกลุ่มแรกที่เข้ามาอาศัยอยู่ในไอซ์แลนด์เชื่อกันว่าเป็นนักบวชชาวไอริช ซึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานในไอซ์แลนด์ในพุทธศตวรรษที่ 14 และย้ายออกไปก่อนชาวไวกิงเข้ามา พวกไวกิงเริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานในไอซ์แลนด์ในปี พ.ศ. 1417 การตั้งถิ่นฐานในไอซ์แลนด์ถูกบันทึกในหนังสือการตั้งถิ่นฐาน (Landnámabók) จากหนังสือนี้ โดยระบุว่า Ingólfur Arnarson เป็นผู้ตั้งถิ่นฐานคนแรก และตามมาด้วยชาวไวกิงอีกจำนวนหนึ่งในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 1417 ถึง 1473[1] ชื่อส่วนหนึ่งในหนังสือเล่มนี้เป็นชื่อชาวเคลต์ และได้กล่าวถึงการนำทาสชาวเคลต์เข้ามาด้วย ภายในปี พ.ศ. 1473 ไอซ์แลนด์ได้เขียนรัฐธรรมนูญ และก่อตั้งอัลทิงกิ (Alþingi) ซึ่งเป็นรัฐสภาขึ้น ใช้อำนาจนิติบัญญัติและตุลาการ เป็นศูนย์กลางของรัฐอิสระไอซ์แลนด์ ไอซ์แลนด์รับคริสต์ศาสนาในปี พ.ศ. 1543[2]

    ไอซ์แลนด์เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในช่วง พ.ศ. 1763 ถึง 1805 ส่งผลทำให้ไอซ์แลนด์ถูกผนวกไปอยู่ใต้การปกครองของกษัตริย์นอร์เวย์ในปี พ.ศ. 1805 และต่อมา กษัตริย์เดนมาร์ก หลังจากที่นอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์กรวมกันภายใต้สหภาพคาลมาร์ กษัตริย์เดนมาร์กประกาศคริสต์ศาสนานิกายลูเทอรันเป็นศาสนาของอาณาจักรประมาณปี พ.ศ. 2093 ส่งผลมาถึงการยึดทรัพย์ของโบสถ์โรมันคาทอลิกในไอซ์แลนด์ และบิชอปคาทอลิกคนสุดท้ายถูกประหารโดยการตัดหัว[2]

    เดนมาร์กควบคุมการค้าในไอซ์แลนด์ในปี พ.ศ. 2145 ระหว่าง พ.ศ. 2250 ถึง พ.ศ. 2252 เกิดโรคฝีดาษระบาด ทำให้ประชากรลดลงจาก 50 000 เหลือเพียงราว 35 000 คน ในปี พ.ศ. 2326 ถึง พ.ศ. 2328 เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายอย่างมากอีก จากเหตุภูเขาไฟระเบิดและภาวะขาดแคลนอาหาร

    ...อ่านต่อ

    ชนกลุ่มแรกที่เข้ามาอาศัยอยู่ในไอซ์แลนด์เชื่อกันว่าเป็นนักบวชชาวไอริช ซึ่งเข้ามาตั้งถิ่นฐานในไอซ์แลนด์ในพุทธศตวรรษที่ 14 และย้ายออกไปก่อนชาวไวกิงเข้ามา พวกไวกิงเริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานในไอซ์แลนด์ในปี พ.ศ. 1417 การตั้งถิ่นฐานในไอซ์แลนด์ถูกบันทึกในหนังสือการตั้งถิ่นฐาน (Landnámabók) จากหนังสือนี้ โดยระบุว่า Ingólfur Arnarson เป็นผู้ตั้งถิ่นฐานคนแรก และตามมาด้วยชาวไวกิงอีกจำนวนหนึ่งในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 1417 ถึง 1473[1] ชื่อส่วนหนึ่งในหนังสือเล่มนี้เป็นชื่อชาวเคลต์ และได้กล่าวถึงการนำทาสชาวเคลต์เข้ามาด้วย ภายในปี พ.ศ. 1473 ไอซ์แลนด์ได้เขียนรัฐธรรมนูญ และก่อตั้งอัลทิงกิ (Alþingi) ซึ่งเป็นรัฐสภาขึ้น ใช้อำนาจนิติบัญญัติและตุลาการ เป็นศูนย์กลางของรัฐอิสระไอซ์แลนด์ ไอซ์แลนด์รับคริสต์ศาสนาในปี พ.ศ. 1543[2]

    ไอซ์แลนด์เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในช่วง พ.ศ. 1763 ถึง 1805 ส่งผลทำให้ไอซ์แลนด์ถูกผนวกไปอยู่ใต้การปกครองของกษัตริย์นอร์เวย์ในปี พ.ศ. 1805 และต่อมา กษัตริย์เดนมาร์ก หลังจากที่นอร์เวย์ สวีเดน และเดนมาร์กรวมกันภายใต้สหภาพคาลมาร์ กษัตริย์เดนมาร์กประกาศคริสต์ศาสนานิกายลูเทอรันเป็นศาสนาของอาณาจักรประมาณปี พ.ศ. 2093 ส่งผลมาถึงการยึดทรัพย์ของโบสถ์โรมันคาทอลิกในไอซ์แลนด์ และบิชอปคาทอลิกคนสุดท้ายถูกประหารโดยการตัดหัว[2]

    เดนมาร์กควบคุมการค้าในไอซ์แลนด์ในปี พ.ศ. 2145 ระหว่าง พ.ศ. 2250 ถึง พ.ศ. 2252 เกิดโรคฝีดาษระบาด ทำให้ประชากรลดลงจาก 50 000 เหลือเพียงราว 35 000 คน ในปี พ.ศ. 2326 ถึง พ.ศ. 2328 เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความเสียหายอย่างมากอีก จากเหตุภูเขาไฟระเบิดและภาวะขาดแคลนอาหาร

    ไอซ์แลนด์อยู่ภายใต้การปกครองของเดนมาร์กหลังการแยกตัวของสหภาพเดนมาร์ก-นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ได้รัฐธรรมนูญใหม่ในปี พ.ศ. 2417 ปีที่เฉลิมฉลองหนึ่งสหัสวรรษการตั้งถิ่นฐานในไอซ์แลนด์ รัฐธรรมนูญใหม่นี้ให้ไอซ์แลนด์มีอำนาจในกิจการภายใน มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญอีกครั้งในปี พ.ศ. 2447 ซึ่งให้อำนาจปกครองตัวเองกับไอซ์แลนด์ ไอซ์แลนด์ได้เป็นรัฐเอกราชในปี พ.ศ. 2461 โดยมีพระมหากษัตริย์แห่งเดนมาร์กเป็นประมุข โดยไอซ์แลนด์ยังให้เดนมาร์กจัดการกิจการต่างประเทศและการป้องกันประเทศให้ หลังจากเยอรมนียึดครองเดนมาร์กในปี พ.ศ. 2483 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อัลทิงกิจึงตัดสินใจบริหารการต่างประเทศเองและประกาศนโยบายเป็นกลาง แต่ก็ถูกฝ่ายสัมพันธมิตรยึดครองในเวลาต่อมา โดยเริ่มต้นเป็นกองทัพสหราชอาณาจักร และต่อมาเป็นกองทัพสหรัฐอเมริกา ฝ่ายสัมพันธมิตรคงกองกำลังในไอซ์แลนด์จนกระทั่งจบสงคราม ไอซ์แลนด์ประกาศเป็น สาธารณรัฐในปี พ.ศ. 2487 มี สเวน ปีเยิร์นสซอน (Sveinn Björnsson) เป็นประธาธิบดีคนแรก ไอซ์แลนด์เป็นสมาชิกรุ่นก่อตั้งขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจยุโรป (ปัจจุบันคือองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา) และนาโต ไอซ์แลนด์ทำข้อตกลงทางกองทัพกับสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2494 โดยให้สหรัฐตั้งฐานทัพในไอซ์แลนด์ ซึ่งคงอยู่จนถึงปี พ.ศ. 2549 ไอซ์แลนด์เกิดความขัดแย้งหลายครั้งกับสหราชอาณาจักรในเรื่องการขยายน่านน้ำประมงของไอซ์แลนด์ในช่วงปี พ.ศ. 2501, 2515 และ 2521 รู้จักกันในชื่อสงครามปลาคอด (Þorskastríðin; Cod War) ไอซ์แลนด์เข้าร่วมสมาคมการค้าเสรียุโรปและเป็นสมาชิกก่อตั้งของเขตเศรษฐกิจยุโรป

    History of Iceland TravelNet.is ↑ 2.0 2.1 Iceland History
    Read less

Where can you sleep near ประเทศไอซ์แลนด์ ?

Booking.com
486.711 visits in total, 9.181 Points of interest, 404 Destinations, 21 visits today.