Context of ประเทศไต้หวัน

ไต้หวัน ชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (อังกฤษ: Republic of China) เป็นประเทศ ที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (จีน: 金門), ไต้หวัน, เผิงหู (จีน: 澎湖), หมาจู่ (จีน: 馬祖), และอูชิว (จีน: 烏坵) รวมทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง พื้นที่ทั้งหมดเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (จีน: 臺灣地區)

เกาะหลักของไต้หวันมีพื้นที่ 35,808 ตารางกิโลเมตร (13,826 ตารางไมล์) มีเทือกเขาที่ครอบคลุมพื้นที่สองในสามทางด้านตะวันออกและที่ราบทางตะวันตกของเกาะซึ่งมีประชากรอาศัยหนาแน่นในลักษณะเป็นสังคมเมือง ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ มีกรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เมืองใหญ่อื่น ๆ ได้แก่ เกาสฺยง ไถจง ไถหนาน และเถ...อ่านต่อ

ไต้หวัน ชื่อทางการว่า สาธารณรัฐจีน (อังกฤษ: Republic of China) เป็นประเทศ ที่เป็นหมู่เกาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ปัจจุบันประกอบด้วยเกาะใหญ่ 5 แห่ง คือ จินเหมิน (จีน: 金門), ไต้หวัน, เผิงหู (จีน: 澎湖), หมาจู่ (จีน: 馬祖), และอูชิว (จีน: 烏坵) รวมทั้งเกาะเล็กเกาะน้อยอีกจำนวนหนึ่ง พื้นที่ทั้งหมดเรียกรวมกันว่า "พื้นที่ไต้หวัน" (จีน: 臺灣地區)

เกาะหลักของไต้หวันมีพื้นที่ 35,808 ตารางกิโลเมตร (13,826 ตารางไมล์) มีเทือกเขาที่ครอบคลุมพื้นที่สองในสามทางด้านตะวันออกและที่ราบทางตะวันตกของเกาะซึ่งมีประชากรอาศัยหนาแน่นในลักษณะเป็นสังคมเมือง ไต้หวันด้านตะวันตกติดกับจีนแผ่นดินใหญ่ ด้านตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือติดกับญี่ปุ่น และด้านใต้ติดกับฟิลิปปินส์ มีกรุงไทเปเป็นเมืองหลวง ส่วนไทเปใหม่เป็นเขตปกครองที่จัดตั้งขึ้นใหม่ กินพื้นที่กรุงไทเป และเป็นเขตซึ่งประชากรหนาแน่นที่สุดในเวลานี้ เมืองใหญ่อื่น ๆ ได้แก่ เกาสฺยง ไถจง ไถหนาน และเถา-ยฺเหวียน ด้วยจำนวนประชากร 23.5 ล้านคน ไต้หวันเป็นหนึ่งในประเทศที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลก

เกาะไต้หวันนั้นเดิมเป็นที่อยู่ของชนพื้นเมือง และมีชาวจีนจากแผ่นดินใหญ่เข้ามาอาศัยร่วมด้วย จนกระทั่งชาววิลันดาและสเปนเดินทางเข้ามาในยุคสำรวจเมื่อศตวรรษที่ 17 และมาตั้งบ้านเรือนกลายเป็นนิคมใหญ่โต ต่อมาในปี 1662 ราชวงศ์หมิงในแผ่นดินใหญ่ถูกราชวงศ์ชิงแทนที่ เจิ้ง เฉิงกง (鄭成功) ขุนศึกหมิง รวมกำลังหนีมาถึงเกาะไต้หวัน และเข้ารุกไล่ฝรั่งออกไปได้อย่างราบคาบ เขาจึงตั้งราชอาณาจักรตงหนิง (東寧) ขึ้นบนเกาะเพื่อ "โค่นชิงฟื้นหมิง" (反清復明) แต่ในปี 1683 ราชวงศ์ชิงปราบปรามอาณาจักรตงหนิงและเข้าครอบครองไต้หวันเป็นผลสำเร็จ ไต้หวันจึงกลายเป็นมณฑลหนึ่งของจีน อย่างไรก็ดี ความบาดหมางระหว่างจีนกับญี่ปุ่นเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นได้ไต้หวันไปในปี 1895 ก่อนเสียไต้หวันคืนให้แก่จีนหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ช่วงนั้น มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน พรรคก๊กมินตั๋ง (國民黨) ได้เป็นใหญ่ แต่ไม่นานก็เสียทีให้แก่พรรคคอมมิวนิสต์จีน (共產黨) พรรคก๊กมินตั๋งจึงหนีมายังเกาะไต้หวันและสถาปนาสาธารณรัฐจีนขึ้นบนเกาะไต้หวันแยกต่างหาก ส่วนฝ่ายคอมมิวนิสต์จีนที่เป็นฝ่ายได้รับชัยชนะได้สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ดี จีนยังคงถือว่าไต้หวันเป็นมณฑลหนึ่งของตน และไต้หวันเองก็ยังมิได้รับการยอมรับจากนานาชาติว่าเป็นประเทศเอกราชมาจนบัดนี้

ในช่วงทศวรรษ 1980 ถึงต้นทศวรรษ 1990 การเมืองการปกครองไต้หวันได้เจริญรุ่งเรืองจนเป็นประชาธิปไตยที่มีพรรคการเมืองหลายพรรคและมีการเลือกตั้งทั่วหน้า อนึ่ง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เศรษฐกิจไต้หวันงอกงามอย่างรวดเร็วและมีการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เรียกว่าช่วงปาฏิหาริย์ของไต้หวัน ไต้หวันจึงกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่เสือแห่งเอเชีย มีอุตสาหกรรมล้ำหน้า โดยมีส่วนสำคัญจากการผลิตเหล็กกล้า เครื่องจักร อิเล็กทรอนิกส์ และเคมีภัณฑ์ และมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 19 ของโลก และเป็นอันดับ 15 ของโลกตามค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงของไต้หวันยังมีบทบาทสำคัญในเศรษฐกิจโลก เป็นเหตุให้ไต้หวันได้เป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก นอกจากนี้ เสรีภาพของสื่อมวลชน เสรีภาพทางเศรษฐกิจ การสาธารณสุข การศึกษา และดัชนีการพัฒนามนุษย์ในไต้หวันยังได้รับการจัดอยู่ในอันดับสูงด้วย

More about ประเทศไต้หวัน

Basic information
Population, Area & Driving side
  • Population 23593794
  • Area 36193
  • Driving side right
ประวัติ
  • ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์ไต้หวัน และ ประวัติศาสตร์สาธารณรัฐจีน
    ก่อนประวัติศาสตร์
    ดูบทความหลักที่: ไต้หวันยุคก่อนประวัติศาสตร์
    ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์ไต้หวัน และ ประวัติศาสตร์สาธารณรัฐจีน
    ก่อนประวัติศาสตร์
    ดูบทความหลักที่: ไต้หวันยุคก่อนประวัติศาสตร์
    ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
    อาณานิคมในศตวรรษที่ 17
    ดูบทความหลักที่: ดัชต์ฟอร์โมซา, สเปนฟอร์โมซา และ ราชอาณาจักรตงหนิง

    บริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ได้เข้ามาจัดตั้งสถานีการค้าขึ้นที่หมู่เกาะเผิงหูในปี พ.ศ. 2165 (ค.ศ. 1622) แต่ในภายหลังเนเธอร์แลนด์ได้แพ้สงครามกับจีนและถูกขับไล่ออกไปโดยราชวงศ์หมิง[1]

    ในปี พ.ศ. 2167 (ค.ศ. 1624) บริษัทได้สร้างฐานที่มั่นซึ่งมีชื่อว่าป้อมซีแลนเดียบนเกาะชายฝั่งเถา-ยฺเหวียน ซึ่งปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ของเขตอานผิง เมืองไถหนัน และบริษัทได้เริ่มนำเข้าแรงงานมาจากมณฑลฝูเจี้ยนและเผิงหู

    ในปี พ.ศ. 2169 (ค.ศ. 1626) ชาวสเปนเดินทางมาถึงและได้เข้ายึดครองบริเวณทางตอนเหนือของไต้หวัน ที่ท่าเรือของนครจีหลงและบริเวณชายฝั่งของนครซินเป่ย์ในปัจจุบัน เพื่อเป็นฐานในการขยายการค้า กลายเป็นยุคอาณานิคมของสเปนอยู่ 16 ปีจนกระทั่ง พ.ศ. 2185 (ค.ศ. 1642) เมื่อป้อมปราการสุดท้ายของสเปนถูกกองทัพเนเธอร์แลนด์เข้าตีได้สำเร็จ

    ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
    ราชวงศ์ชิง
    ดูบทความหลักที่: ไต้หวันในความปกครองของราชวงศ์ชิง
     ภาพวาดชาวพื้นเมืองไต้หวันกำลังล่ากวาง สมัยราชวงศ์ชิง ปี ค.ศ 1796

    ในปี ค.ศ. 1638 หลังการพ่ายแพ้ของหลานชายของเจิ้ง เฉิงกง จากการบุกโจมตีทางทัพเรือของราชวงศ์ชิงแมนจูที่นำทัพโดยชื่อ หลางจากทางตอนใต้ของมณฑลฝูเจี้ยน ทำให้ราชวงศ์ชิงผนวกยึดเกาะไต้หวันมาเป็นส่วนหนึ่งได้สำเร็จ และวางไว้ภายใต้เขตอำนาจของมณฑลฝูเจี้ยน ราชสำนักของราชวงศ์ชิงพยายามลดการละเมิดลิขสิทธิ์และความไม่ลงรอยกันในพื้นที่โดยออกกฎหมายเพื่อจัดการตรวจคนเข้าเมืองและเคารพสิทธิในที่ดินของชนพื้นเมืองไต้หวัน ผู้อพยพจากฝูเจี้ยนทางใต้ส่วนใหญ่ยังคงเดินทางไปไต้หวัน เขตแดนระหว่างดินแดนที่เสียภาษีและสิ่งที่ถูกพิจารณาว่าเป็นดินแดน "เขตอันตราย" เปลี่ยนไปทางทิศตะวันออกโดยชาวพื้นเมืองบางคนเข้ารีตรับวัฒนธรรมแบบจีน ในขณะที่คนอื่น ๆ ถอยกลับเข้าไปในภูเขา ในช่วงเวลานี้มีความขัดแย้งจำนวนมากระหว่างกลุ่มชาวจีนฮั่นด้วยกันเองจากภูมิภาคต่าง ๆ ของฝูเจี้ยนทางใต้โดยเฉพาะอย่างยิ่งระหว่างเฉวียนโจวกับฉางโจว และระหว่างฝูเจี้ยนตอนใต้และชาวพื้นเมืองไต้หวัน

    จักรวรรดิญี่ปุ่น
    ดูบทความหลักที่: สาธารณรัฐฟอร์โมซา และ ไต้หวันในความปกครองของญี่ปุ่น
    ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้
    หลังสงครามโลกครั้งที่ 2
    ดูบทความหลักที่: ไต้หวันภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
     เส้นทางการอพยพหนีภัยของรัฐบาลจีนคณะชาติ (พรรคก๊กมินตั๋ง) ไปยังเมืองไทเป เกาะไต้หวัน แผนที่หลังสงครามกลางเมืองจีนยุติ
    *สาธารณรัฐประชาชนจีน จีนแผ่นดินใหญ่ที่พรรคคอมมิวนิสต์จีนยึดครอง   (สีแดง)
    *สาธารณรัฐจีนที่รัฐบาลจีนคณะชาติลี้ภัยมาที่เกาะไต้หวัน   (สีน้ำเงิน)

    พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) การก่อการกำเริบอู่ชางในประเทศจีน เป็นจุดเริ่มต้นการล่มสลายของราชวงศ์ชิง เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้ามามีอำนาจในจีนแผ่นดินใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) พรรคก๊กมินตั๋ง พรรคการเมืองเมืองชาตินิยมของจีนที่เป็นฝ่ายแพ้ก็พาผู้คนอพยพหนีออกจากแผ่นดินใหญ่มาตั้งหลักที่ไต้หวัน เพื่อวางแผนกลับไปครองอำนาจในจีนต่อไป

    ชาวจีนมากกว่า 1 ล้าน 5 แสนคน อพยพตามมาอยู่ที่เกาะไต้หวันในยุคที่ เหมา เจ๋อตง มีอำนาจเต็มที่ในจีนแผ่นดินใหญ่ ผู้นำของประเทศทั้งสองจีน คือผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์กับผู้นำสาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวัน แย่งกันเป็นกระบอกเสียงของประชาชนจีนในเวทีโลก แต่เสียงของนานาประเทศส่วนใหญ่เกรงอิทธิพลของจีนแผ่นดินใหญ่ จึงให้การยอมรับจีนแผ่นดินใหญ่มากกว่า

    พรรคก๊กมินตั๋งเรืองอำนาจ
    ดูบทความหลักที่: สงครามกลางเมืองจีน และ การปฏิวัติคอมมิวนิสต์จีน

    ในปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) ก่อนที่นายพล เจียง ไคเช็ก (General Chiang Kaishek) (ภาษาจีน:蔣介石/蔣中正) จะถึงอสัญกรรมไม่กี่ปี สาธารณรัฐจีนซึ่งเป็นประเทศที่ร่วมก่อตั้งองค์การสหประชาชาติได้สูญเสียสมาชิกภาพในฐานะตัวแทนชาวจีนให้กับสาธารณรัฐประชาชนจีน ในปี พ.ศ. 2521 (ค.ศ. 1978) สหประชาชาติก็ประกาศรับรองจีนเดียวคือจีนแผ่นดินใหญ่และตัดสัมพันธ์ทางการเมืองกับสาธารณรัฐจีน ทั้งสหรัฐก็ได้ถอนการรับรองว่าสาธารณรัฐจีนมีฐานะเป็นรัฐ ไต้หวันจึงกลายเป็นเพียงดินแดนที่จีนอ้างว่าเป็นส่วนหนึ่งของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    เมื่อเจียง ไคเช็ก ถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) ลูกชายที่ชื่อ เจียง จิ่งกั๊วะ (Chiang Chingkuo) ได้เป็นผู้สืบทอดการปกครองไต้หวันต่อและเริ่มกระบวนการ วางรากฐานไปสู่ประชาธิปไตย

    ปฏิรูปประชาธิปไตย
    ดูบทความหลักที่: การปฏิรูปประชาธิปไตยไต้หวัน และ การเลือกตั้งในไต้หวัน
     ในปี ค.ศ. 1988 หลี่ เติงฮุย ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีที่เป็นชาวพื้นเมืองไต้หวันคนแรกของสาธารณรัฐจีนและได้รับการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยในปี ค.ศ. 1996

    หลังจากที่ประธานาธิบดี เจียง จิ่งกั๊วะ เสียชีวิต ไต้หวันจึงได้เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ ประธานาธิบดีคนใหม่ ซึ่งเกิดในไต้หวัน ชื่อ หลี่ เติงฮุย (Lee Tenghui) ขึ้นบริหารประเทศ โดยการสนับสนุนของเจียง จิ่งกั๊วะ (Chiang Chingkuo) ทั้งที่ หลี่ เติงฮุย (Lee Tenghui) นั้นเคลื่อนไหวสนับสนุนเอกราชไต้หวัน นาย รัฐบาลจีนที่ปักกิ่งได้ตั้งฉายาประธานาธิบดีไต้หวันคนใหม่ว่า "จิ้งจกปากหวาน" (A sweet-Talking Chameleon) ช่วงเวลาที่นายหลี่ เติงฮุย เป็นประธานาธิบดี การเมืองของไต้หวันเกิดการแตกแยกออกเป็น 3 ฝ่ายคือ 1) พวกก๊กมินตั๋ง ที่ต้องการกลับไปรวมประเทศกับจีนแผ่นดินใหญ่ (รวมจีนแผ่นดินใหญ่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐจีน) 2) พวกที่ต้องการให้ไต้หวันเป็นประเทศอิสระไม่เกี่ยวข้องกับจีนแผ่นดินใหญ่ และ 3) พวกที่ต้องการดำรงฐานะของประเทศไว้ดังเดิมต่อไป

    ไต้หวันกับจีนแผ่นดินใหญ่นัดเจรจาหาทางออกของข้อขัดแย้งทางการเมืองครั้งแรกที่สิงคโปร์เมื่อปี พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) แต่ปรากฏว่าจีนแผ่นดินใหญ่ประวิงเวลาการลงนามในสัญญาหลายฉบับที่เป็นข้อตกลงร่วมกัน ทำให้ผลของการเจรจาคราวนั้นไม่ก้าวหน้าไปถึงไหน ความสัมพันธ์ระหว่างสองจีนเลวร้ายลงทุกที เมื่อประธานาธิบดี หลี่ เติงฮุย เดินทางไปเยือนสหรัฐและได้รับการยอมรับอย่างเอิกเกริก ทำให้จีนแผ่นดินใหญ่ไม่พอใจเป็นอย่างมาก จึงกระทำการข่มขวัญไต้หวันกับประเทศที่ให้การสนับสนุนไต้หวัน ด้วยการทำการซ้อมรบขึ้นใกล้ ๆ เกาะไต้หวัน สหรัฐออกมาแสดงอาการปกป้องคุ้มครองไต้หวันด้วยการส่งกำลังกองเรือรบของสหรัฐฯ มาป้วนเปี้ยนอยู่ในน่านน้ำที่จีนซ้อมรบ

    ขณะที่โลกกำลังล่อแหลมกับสถานการณ์ที่ตึงเครียดในน่านน้ำจีนมากขึ้นทุกทีนั้น ไต้หวันก็จัดให้มีการเลือกตั้งครั้งใหม่ และในการเลือกตั้งครั้งใหม่นั้นเอง ไต้หวันก็ได้นายหลี่ เติงฮุย เป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง

    ไต้หวันเข้าสู่สภาวะวิกฤต เมื่อเกิดแผ่นดินไหวครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) ทำให้ประชากรส่วนมากที่เป็นชาวพื้นเมืองเสียชีวิตไป 2,000 คน ทั้งเมืองมีแต่เศษซากสิ่งปรักหักพังที่เกิดจากภัยธรรมชาติ และช่วงนี้ไต้หวันต้องเผชิญความยากลำบากจากภัยธรรมชาติร้ายแรง จีนแผ่นดินใหญ่ก็เพิ่มความกดดันไม่ให้นานาชาติเข้ามายุ่งเกี่ยวกับไต้หวันแม้ในยามคับขันเช่นนี้ โดยออกมาประกาศว่า หากมีประเทศใดจะเข้าไปให้ความช่วยเหลือไต้หวัน จะต้องได้รับอนุญาตจากจีนก่อน ซึ่งคำประกาศของจีนแผ่นดินใหญ่สวนทางกับเมตตาธรรมของประเทศทั่วโลกที่ต้องการให้ความช่วยเหลือไต้หวัน

    เดือนมีนาคม พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) มีการเลือกตั้งใหม่ในไต้หวัน ชาวไต้หวันเลือกผู้แทนจากพรรคประชาธิปไตยก้าวหน้า คือ นายเฉิน สุยเปี่ยน (Chen Shui-bian) เป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของไต้หวัน ผู้ประกาศนโยบายการเมืองแข็งกร้าวว่าไต้หวันต้องการแยกตัวเป็นอิสระจากจีนแผ่นดินใหญ่ ยุติยุคของพรรคชาตินิยมที่ยังฝักใฝ่แผ่นดินใหญ่อยู่ จีนแผ่นดินใหญ่จึงถือว่าเป็นกบฏต่อการปกครองของจีน เพราะแต่ไหนแต่ไรมา ไต้หวันไม่เคยประกาศอย่างเป็นทางการว่าไต้หวันเป็นประเทศอิสระแยกจากจีน และจีนพูดอยู่เสมอว่าไต้หวันเป็นเด็กในปกครองที่ค่อนข้างจะหัวดื้อและเกเร หากไต้หวันประกาศว่าเป็นอิสระจากจีนเมื่อใด จีนก็จะยกกำลังจัดการกับไต้หวันทันที

    ในขณะที่ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างสองจีนในสายตาชาวโลกเลวร้ายลง จีนทั้งสองกลับมีการติดต่อทางการค้ากันมากขึ้น มีการผ่อนปรนอนุญาตให้ชาวไต้หวันเดินทางไปจีนแผ่นดินใหญ่เพื่อเยี่ยมญาติได้ เกิดปรากฏการสำคัญคือนักธุรกิจไต้หวันหอบเงินทุนมากกว่า 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไปลงทุนดำเนินธุรกิจทางตอนใต้ของจีนแผ่นดินใหญ่ จนกระทั่งขณะนี้ชาวไต้หวันกลายเป็นนักลงทุนรายใหญ่เป็นลำดับ 2 ของจีน

    วันที่ 24 พฤษภาคม 2560 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากฎหมายสมรสปัจจุบันในเวลานั้นละเมิดรัฐธรรมนูญโดยปฏิเสธสิทธิสมรสของคู่รักเพศเดียวกันชาวไต้หวัน ศาลวินิจฉัยว่าหากสภานิติบัญญัติไม่ผ่านการแก้ไขกฎหมายที่เพียงพอต่อกฎหมายสมรสของไต้หวันภายในสองปี การสมรสเพศเดียวกันจะชอบด้วยกฎหมายโดยอัตโนมัติในไต้หวัน[2] วันที่ 17 พฤษภาคม 2562 สภานิติบัญญัติไต้หวันอนุมัติร่างกฎหมายทำให้การสมรสเพศเดียวกันชอบด้วยกฎหมาย ทำให้เป็นประเทศแรกในทวีปเอเชียที่ผ่านกฎหมายดังกล่าว[3][4]

    Wills, John E., Jr. (2006). "The Seventeenth-century Transformation: Taiwan under the Dutch and the Cheng Regime". ใน Rubinstein, Murray A. (บ.ก.). Taiwan: A New History. M.E. Sharpe. pp. 84–106. ISBN 978-0-7656-1495-7. Wu, J. R. (24 May 2017). "Taiwan court rules in favor of same-sex marriage, first in Asia". Reuters. สืบค้นเมื่อ 11 October 2017. "Taiwan gay marriage: Parliament legalises same-sex unions". bbc.com (ภาษาอังกฤษ). 2019-05-17. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-17. สืบค้นเมื่อ 2019-05-17. "Taiwan legalizes same-sex marriage in historic first for Asia". edition.cnn.com (ภาษาอังกฤษ). 2019-05-17. สืบค้นเมื่อ 2019-05-17.
    Read less

Phrasebook

สวัสดี
你好
โลก
世界
สวัสดีชาวโลก
你好世界
ขอขอบคุณ
谢谢
ลาก่อน
再见
ใช่
是的
ไม่
คุณเป็นอย่างไรบ้าง
你好吗?
สบายดีขอบคุณ
好的,谢谢
ราคาเท่าไหร่?
多少钱?
ศูนย์
หนึ่ง

Where can you sleep near ประเทศไต้หวัน ?

Booking.com
490.020 visits in total, 9.198 Points of interest, 404 Destinations, 69 visits today.