中华人民共和国

ประเทศจีน

Context of ประเทศจีน

สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนตัวย่อ: 中华人民共和国; จีนตัวเต็ม: 中華人民共和國; พินอิน: Zhōnghuá Rénmín Gònghéguó; อังกฤษ: People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,400 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน), 5 เขตปกครองตนเอง, 4 นครปกครองโดยตรง (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง), และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ฮ่องกงและมาเก๊า

ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่...อ่านต่อ

สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนตัวย่อ: 中华人民共和国; จีนตัวเต็ม: 中華人民共和國; พินอิน: Zhōnghuá Rénmín Gònghéguó; อังกฤษ: People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,400 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน), 5 เขตปกครองตนเอง, 4 นครปกครองโดยตรง (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง), และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ฮ่องกงและมาเก๊า

ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น

อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1912 ด้วยการสละราชสมบัติของจักรพรรดิผู่อี๋ พร้อมกันกับการสถาปนาสาธารณรัฐจีนโดยพรรคก๊กมินตั๋ง พรรคชาตินิยมจีน ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1912 ครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น เป็นยุคสมัยแห่งความแตกแยกและสงครามกลางเมืองซึ่งแบ่งประเทศออกเป็นค่ายการเมืองสองค่ายหลักคือ ก๊กมินตั๋งและคอมมิวนิสต์ ความเป็นปฏิปักษ์ส่วนใหญ่สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1949 เมื่อฝ่ายคอมมิวนิสต์ชนะสงครามกลางเมือง และสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้นในจีนแผ่นดินใหญ่ ส่วนสาธารณรัฐจีน ซึ่งอยู่ภายใต้การนำของก๊กมินตั๋งนั้น ได้ย้ายเมืองหลวงไปยังไทเปบนเกาะไต้หวัน นับแต่นั้นมา สาธารณรัฐประชาชนจีนได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในความขัดแย้งทางการเมือง กับสาธารณรัฐจีนเหนือปัญหาอธิปไตยและสถานะทางการเมืองของไต้หวัน

นับตั้งแต่การปฏิรูปเศรษฐกิจซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนตลาดเมื่อปี ค.ศ. 1978 ประเทศจีนได้กลายมาเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจสำคัญที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก โดยเป็นผู้ส่งออกสินค้ารายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้นำเข้าสินค้ารายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลก และเป็นเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลกทั้งในด้านผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศราคาตลาดและความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ ตลอดจนเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประเทศจีนได้รับการจัดให้เป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีกองทัพขนาดใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีค่าใช้จ่ายด้านกลาโหมมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก ประเทศจีนถูกจัดว่ามีศักยภาพที่จะก้าวขึ้นมาเป็นอภิมหาอำนาจของโลกโดยนักวิเคราะห์วิชาการ นักวิเคราะห์การทหาร ตลอดจนนักวิเคราะห์นโยบายสาธารณะและเศรษฐกิจ

More about ประเทศจีน

Basic information
Population, Area & Driving side
  • Population 1443497378
  • Area 9596961
  • Driving side right
ประวัติ
  • ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์จีน
    สาธารณรัฐจีน (2455-2492)
    ดูบทความหลักที่: สาธารณรัฐจีน (2455-2492) และ ประวัติศาสตร์สาธารณรัฐจีน
     
    ซุน ยัตเซ็นและเจียง ไคเชก

    การปฏิวัติซินไฮ่ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2454 (สิ้นสุดลงในปี พ.ศ 2455) ซึ่งเป็นการโค่นล้มอำนาจการปกครองของราชวงศ์ชิง โดยการนำของ ดร. ชุน ยัตเซน หัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋ง แม้ว่าหลังจากเริ่มก่อการ ซุนยัดเซ็นจะต้องลี้ภัยออกไปต่างประเทศ แต่ซุนยัดเซ็นก็เดินทางไปในหลายประเทศเพื่อขอระดมทุนสนับสนุนจากคนจีนโพ้นทะเลและนายทุนในต่างแดน โดยมี หวงซิง สหายร่วมอุดมการณ์ของซุนยัดเซ็น เป็นผู้นำทหารทหาร ออกปฏิบัติการอยู่ภายในประเทศอีกหลายครั้ง สุดท้ายแล้วการปฏิวัติซินไฮ่ก็ส่งผลสะเทือนใหญ่หลวงที่ทำให้ประเทศจีนได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยในที่สุด

    ...อ่านต่อ
    ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์จีน
    สาธารณรัฐจีน (2455-2492)
    ดูบทความหลักที่: สาธารณรัฐจีน (2455-2492) และ ประวัติศาสตร์สาธารณรัฐจีน
     
    ซุน ยัตเซ็นและเจียง ไคเชก

    การปฏิวัติซินไฮ่ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2454 (สิ้นสุดลงในปี พ.ศ 2455) ซึ่งเป็นการโค่นล้มอำนาจการปกครองของราชวงศ์ชิง โดยการนำของ ดร. ชุน ยัตเซน หัวหน้าพรรคก๊กมินตั๋ง แม้ว่าหลังจากเริ่มก่อการ ซุนยัดเซ็นจะต้องลี้ภัยออกไปต่างประเทศ แต่ซุนยัดเซ็นก็เดินทางไปในหลายประเทศเพื่อขอระดมทุนสนับสนุนจากคนจีนโพ้นทะเลและนายทุนในต่างแดน โดยมี หวงซิง สหายร่วมอุดมการณ์ของซุนยัดเซ็น เป็นผู้นำทหารทหาร ออกปฏิบัติการอยู่ภายในประเทศอีกหลายครั้ง สุดท้ายแล้วการปฏิวัติซินไฮ่ก็ส่งผลสะเทือนใหญ่หลวงที่ทำให้ประเทศจีนได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยในที่สุด

    โดยสาเหตุที่ก่อให้เกิดการโค่นล้มอำนาจครั้งนี้ หลายฝ่ายวิเคราะห์ว่าน่าจะมาจากความเสื่อมโทรมของสภาพสังคมจีนในเวลานั้น ขณะที่ผู้นำประเทศในเวลานั้นคือจักรพรรดิชาวแมนจูกลับไม่มีอำนาจและกำลังพอที่จะบริหารประเทศให้ดีขึ้นได้ แล้วยังถูกประชาชนมองว่าราชวงศ์ของชาวแมนจูได้แสวงหาประโยชน์จากคนจีน ซึ่งตลอดระยะเวลาปกครอง 268 ปี (พ.ศ. 2187 – 2455) มีการแย่งชิงอำนาจในกลุ่มเชื้อพระวงศ์และเหล่าขุนนาง เหล่าขุนศึก ด้วยเหตุนี้ราษฎรส่วนมากจึงตกอยู่ในสภาพยากจน ชาวไร่ชาวนาถูกขูดรีดภาษีอย่างหนัก ถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าของที่ดิน ชาวต่างชาติเข้ามากอบโกยผลประโยชน์ แผ่นดินจีนถูกคุกคามจากต่างชาติ โดยเฉพาะชาติมหาอำนาจตะวันตก และ ญี่ปุ่น จีนได้ทำสงครามต่อต้านการรุกรานของกองกำลังต่างชาติเป็นฝ่ายแพ้มาโดยตลอด ทำให้คณะปฏิวัติไม่พอใจต่อระบอบการปกครองของราชวงศ์ชิง[1]

    สาธารณรัฐประชาชนจีน
    ดูบทความหลักที่: ประวัติศาสตร์สาธารณรัฐประชาชนจีน

    การสู้รบส่วนใหญ่ในสงครามกลางเมืองจีนยุติลงในปี พ.ศ. 2492 โดยพรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้าปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ และพรรคก๊กมินตั๋งต้องล่าถอยไปยังเกาะไต้หวัน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2492 เหมาเจ๋อตงประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน[2] หรือที่เรียกว่า "จีนคอมมิวนิสต์" หรือ "จีนแดง"[3]

    แผนเศรษฐกิจและสังคมซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า นโยบายก้าวกระโดดครั้งใหญ่ ส่งผลทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 45 ล้านคน[4] ใน พ.ศ. 2509 เหมาและพันธมิตรทางการเมืองได้เริ่มการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ซึ่งกินเวลาจนกระทั่งเหมาถึงแก่อสัญกรรมในอีกหนึ่งทศวรรษถัดมา การปฏิวัติทางวัฒนธรรม ซึ่งได้รับการกระตุ้นจากการแย่งชิงอำนาจภายในพรรคและความกลัวสหภาพโซเวียต นำไปสู่ความวุ่นวายครั้งใหญ่ในสังคมจีน ใน พ.ศ. 2505 ช่วงที่ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียตเลวร้ายลงมากที่สุด เหมาและโจว เอินไหล พบกับริชาร์ด นิกสันในกรุงปักกิ่งเพื่อสถาปนาความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา ในปีเดียวกันนั้น สาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับการยอมรับให้เข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติแทนที่สาธารณรัฐจีน และเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

    การปฏิรูปและประวัติศาสตร์ร่วมสมัย

    หลังจากเหมาถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. 2519 และการจับกุมตัวแก๊งออฟโฟร์ ซึ่งถูกประณามว่าเป็นผู้ที่ใช้อำนาจหน้าที่เกินกว่าเหตุระหว่างการปฏิวัติทางวัฒนธรรม เติ้ง เสี่ยวผิงได้แย่งชิงอำนาจจากทายาททางการเมืองที่เหมาวางตัวไว้ หัว กั๋วเฟิง อย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าเขาจะไม่ได้เป็นประธานพรรคหรือประมุขแห่งรัฐ ในทางปฏิบัติแล้ว เติ้งเป็นผู้นำสูงสุดของจีนในเวลานั้น อิทธิพลของเขาภายในพรรคนำพาประเทศไปสู่การปฏิรูปทางเศรษฐกิจครั้งสำคัญ หลังจากนั้น พรรคคอมมิวนิสต์ได้ผ่อนปรนการควบคุมเหนือชีวิตประจำวันของพลเมืองและคอมมูนถูกยุบโดยชาวนาจำนวนมากได้รับที่ดินเช่า ซึ่งได้เป็นการเพิ่มสิ่งจูงใจและผลผลิตทางเกษตรกรรมอย่างกว้างขวาง เหตุการณ์ดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงจีนจากระบบเศรษฐกิจที่มีการวางแผนจากส่วนกลางมาเป็นเศรษฐกิจแบบผสม ซึ่งมีสภาพเป็นตลาดเปิดเพิ่มมากขึ้น หรือที่บางคนเรียกว่า "ตลาดสังคมนิยม"[5] และพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้เรียกมันอย่างเป็นทางการว่า "สังคมนิยมที่เป็นลักษณะเฉพาะของจีน" สาธารณรัฐประชาชนจีนใช้บังคับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2525

    ในปี พ.ศ. 2532 การเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ทางการผู้สนับสนุนการปฏิรูป หู ย่าวปัง เป็นการจุดชนวนการชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน พ.ศ. 2532 อย่างไรก็ตาม การชุมนุมดังกล่าวถูกปราบปรามลงเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก เหตุการณ์ดังกล่าวได้รับการรายงานอย่างกว้างขวางและนำไปสู่การประณามและการลงโทษทางเศรษฐกิจต่อรัฐบาลจีน[6][7]

    เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน ประธานาธิบดีเจียง เจ๋อหมิน และนายกรัฐมนตรีจู หรงจี สองอดีตนายกเทศมนตรีเซี่ยงไฮ้ เป็นผู้นำสาธารณรัฐประชาชนจีนภายหลังเหตุการณ์เทียนอันเหมินในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ภายใต้การบริหารงานเป็นระยะเวลาสิบปีของทั้งสอง สมรรถนะทางเศรษฐกิจของจีนได้ช่วยยกระดับฐานะของชาวนาประมาณ 150 ล้านคนขึ้นจากความยากจนและรักษาอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศไว้ที่ 11.2% ต่อปี[8][9] จีนเข้าร่วมกับองค์การการค้าโลกอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2544

    ถึงแม้ว่าสาธารณรัฐประชาชนจีนจะต้องการการเติบโตทางเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้นการพัฒนาประเทศ รัฐบาลจีนได้เริ่มวิตกกังวลว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วนี้จะมีผลกระทบในด้านลบต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของประเทศ อีกเรื่องหนึ่งที่สร้างความกังวลคือบางภาคส่วนของสังคมไม่ได้รับประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศอย่างเพียงพอ ตัวอย่างหนึ่งคือช่องว่างใหญ่ระหว่างพื้นที่เมืองและชนบท ดังนั้น ภายใต้เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนชุดปัจจุบัน ประธานาธิบดีหู จิ่นเทา และนายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า สาธารณรัฐประชาชนจีนจึงได้เริ่มดำเนินนโยบายเพื่อที่จะหยิบยกประเด็นปัญหาของการแจกจ่ายทรัพยากรอย่างเท่าเทียม แต่ผลที่ออกมานั้นยังสามารถพบเห็นได้[10] ชาวนามากกว่า 40 ล้านคนถูกบังคับให้ย้ายออกจากที่ดินของตน[11] ซึ่งเป็นเหตุปกติธรรมดาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการเดินขบวนประท้วงและการจลาจลกว่า 87,000 ครั้งในปี พ.ศ. 2548[12] สำหรับประชากรส่วนใหญ่ของจีนแล้ว มาตรฐานการดำเนินชีวิตมองเห็นได้ว่ามีการพัฒนาอย่างมาก และเริ่มมีเสรีภาพมากขึ้น แต่การควบคุมทางการเมืองยังคงดำเนินอยู่ต่อไป เช่นเดียวกับความยากจนในชนบท[13]

    เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน สี จิ้นผิงปกครองประเทศนับแต่ปี 2012 และมุ่งดำเนินการความพยายามขนานใหญ่เพื่อปฏิรูปเศรษฐกิจจีน[14][15] (ซึ่งประสบปัญหาจากความไม่มั่นคงทางโครงสร้างและความเติบโตที่ชะลอตัวลง)[16][17][18] และยังปฏิรูปนโยบายบุตรคนเดียวและระบบการลงโทษ[19] ตลอดจนการกวาดล้างการฉ้อราษฎร์บังหลวงครั้งใหญ่[20] ในปี 2013 ประเทศจีนเริ่มต้นข้อริเริ่มเข็มขัดและเส้นทาง ซึ่งเป็นโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระดับโลก[21]

    การระบาดทั่วของโควิด-19 ทั่วโลกมีต้นกำเนิดในอู่ฮั่นและมีการระบุครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2019[22] รัฐบาลจีนตอบสนองด้วยยุทธศาสตร์โควิดเป็นศูนย์ (zero-COVID) นับเป็นไม่กี่ประเทศในโลกที่ใช้แนวทางดังกล่าว[23] เศรษฐกิจจีนเริ่มฟื้นตัวกว้างขวางขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยระหว่างการระบาดทั่ว โดยมีการสร้างงานที่มั่นคงและการเติบโตของการค้าระหว่างประเทศเป็นประวัติการณ์ แต่การบริโภคค้าปลีกยังคงต่ำกว่าคาด[24][25]

    Esherick, Joseph W. (1976). Reform and revolution in China: the 1911 revolution in Hunan and Hubei. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03084-8. The Chinese people have stood up เก็บถาวร 2009-02-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. UCLA Center for East Asian Studies. Retrieved 16 April 2006. Smith, Joseph; and Davis, Simon. [2005] (2005). The A to Z of the Cold War. Issue 28 of Historical dictionaries of war, revolution, and civil unrest. Volume 8 of A to Z guides. Scarecrow Press publisher. ISBN 0-8108-5384-1, 9780810853843. Akbar, Arifa (17 September 2010). "Mao's Great Leap Forward 'killed 45 million in four years'". London: The Independent. สืบค้นเมื่อ October 30, 2010. Hart-Landsberg, Martin; and Burkett, Paul. "China and Socialism. Market Reforms and Class Struggle". Retrieved 30 October 2008. Youngs, R. The European Union and the Promotion of Democracy. Oxford University Press, 2002. ISBN 978-0-19-924979-4. Carroll, J. M. A Concise History of Hong Kong. Rowman & Littlefield, 2007. ISBN 978-0-7425-3422-3. Nation bucks trend of global poverty (11 July 2003). China Daily China's Average Economic Growth in 90s Ranked 1st in World (1 March 2000). People's Daily. China worried over pace of growth. BBC. Retrieved 16 April 2006. China: Migrants, Students, Taiwan. Migration News. January 2006. In Face of Rural Unrest, China Rolls Out Reforms. The Washington Post. 28 January 2006. "Frontline: The Tank Man transcript". Frontline. PBS. 11 April 2006. สืบค้นเมื่อ 12 July 2008. "China frees up bank lending rates". BBC News. 19 July 2013. สืบค้นเมื่อ 19 July 2013. Evans-Pritchard, Ambrose (23 July 2013). "China eyes fresh stimulus as economy stalls, sets 7pc growth floor". The Daily Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2022. สืบค้นเมื่อ 25 July 2013. Davies, Gavyn (25 November 2012). "The decade of Xi Jinping". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 27 November 2012. "China orders government debt audit". BBC News. 29 July 2013. สืบค้นเมื่อ 29 July 2013. Joong, Shik Kang; Wei, Liao (May 2016). "Chinese Imports: What's Behind the Slowdown?" (PDF). International Monetary Fund. สืบค้นเมื่อ 28 May 2018. Yglesias, Matthew (15 November 2013). "China ends one child policy". Slate. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 November 2013. สืบค้นเมื่อ 16 November 2013. "China's president boosts anti-corruption crackdown after nabbing 1.5M". NBC News. "Belt and Road Initiative". World Bank. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 February 2019. สืบค้นเมื่อ 10 March 2019. Sheikh, Knvul; Rabin, Roni Caryn (10 March 2020). "The Coronavirus: What Scientists Have Learned So Far". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 24 March 2020. Normile, Dennis (19 November 2021). "'Zero COVID' is getting harder—but China is sticking with it". Science. 374 (6570): 924. Bibcode:2021Sci...374..924N. doi:10.1126/science.acx9657. eISSN 1095-9203. ISSN 0036-8075. PMID 34793217. S2CID 244403712. "China's economy continues to bounce back from virus slump". BBC News. 19 October 2020. สืบค้นเมื่อ 9 January 2021. "China's economic recovery continues but signals mixed in October". Nikkei Asia. สืบค้นเมื่อ 9 January 2021.
    Read less

Phrasebook

สวัสดี
你好
โลก
世界
สวัสดีชาวโลก
你好世界
ขอขอบคุณ
谢谢
ลาก่อน
再见
ใช่
是的
ไม่
คุณเป็นอย่างไรบ้าง
你好吗?
สบายดีขอบคุณ
好的,谢谢
ราคาเท่าไหร่?
多少钱?
ศูนย์
หนึ่ง

Where can you sleep near ประเทศจีน ?

Booking.com
486.718 visits in total, 9.181 Points of interest, 404 Destinations, 28 visits today.