Amsterdam

( อัมสเตอร์ดัม )

อัมสเตอร์ดัม (ดัตช์: Amsterdam ออกเสียง: [ˌɑmstərˈdɑm]) เป็นเมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำอัมสเติล จังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์ ปัจจุบันเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเนเธอร์แลนด์ มีประชากรในเขตตัวเมืองประมาณ 872,680 คน แต่ถ้านับรวมประชากรในเขตเมืองโดยรอบทั้งหมด จะมีประมาณ 1,380,872 ล้านคน (ข้อมูลปี ค.ศ. 2019)

ชื่อของอัมสเตอร์ดัมมาจากคำว่า อัมสเติลเรอดัมเมอ (Amstelredamme) หมายถึงเมืองที่ตั้งอยู่ริมเขื่อนของแม่น้ำอัมสเติล มีประวัติศาสตร์เริ่มต้นจากการเป็นหมู่บ้านชาวประมงในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ก่อนจะกลายเป็นศูนย์กลางการค้า การเงิน และการเดินเรือที่สำคัญในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ซึ่งเป็นช่วงยุคทองของเนเธอร์แลนด์ และขยายตัวออกไปอีกในศตวรรษที่ 19 และ 20 แต่ระบบคลองที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 17 ยังได้รับการรักษาไว้เป็นอย่างดีจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับองค์การยูเนสโก

ปัจจุบัน อัมสเตอร์ดัมเป็นศูนย์การการค้าและการเงิน และเมืองหลวงทางวัฒนธรรมของของเนเธอร์แลนด์ แต่ศูนย์กลางของหน่วยง...อ่านต่อ

อัมสเตอร์ดัม (ดัตช์: Amsterdam ออกเสียง: [ˌɑmstərˈdɑm]) เป็นเมืองหลวงของประเทศเนเธอร์แลนด์ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำอัมสเติล จังหวัดนอร์ทฮอลแลนด์ ปัจจุบันเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของเนเธอร์แลนด์ มีประชากรในเขตตัวเมืองประมาณ 872,680 คน แต่ถ้านับรวมประชากรในเขตเมืองโดยรอบทั้งหมด จะมีประมาณ 1,380,872 ล้านคน (ข้อมูลปี ค.ศ. 2019)

ชื่อของอัมสเตอร์ดัมมาจากคำว่า อัมสเติลเรอดัมเมอ (Amstelredamme) หมายถึงเมืองที่ตั้งอยู่ริมเขื่อนของแม่น้ำอัมสเติล มีประวัติศาสตร์เริ่มต้นจากการเป็นหมู่บ้านชาวประมงในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ก่อนจะกลายเป็นศูนย์กลางการค้า การเงิน และการเดินเรือที่สำคัญในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 ซึ่งเป็นช่วงยุคทองของเนเธอร์แลนด์ และขยายตัวออกไปอีกในศตวรรษที่ 19 และ 20 แต่ระบบคลองที่สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 17 ยังได้รับการรักษาไว้เป็นอย่างดีจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนกับองค์การยูเนสโก

ปัจจุบัน อัมสเตอร์ดัมเป็นศูนย์การการค้าและการเงิน และเมืองหลวงทางวัฒนธรรมของของเนเธอร์แลนด์ แต่ศูนย์กลางของหน่วยงานรัฐบาลนั้นอยู่ที่เฮก บริษัทยักษ์ใหญ่ของเนเธอร์แลนด์มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่อัมสเตอร์ดัม เช่น ฟิลิปส์ อักโซโนเบิล โตมโตม และไอเอ็นจี ส่วนบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่หลายแห่งก็มีสำนักงานใหญ่สาขายุโรปอยู่ในอัมสเตอร์ดัมเช่นกัน เช่น อูเบอร์ เน็ตฟลิกซ์ และเทสลามอเตอร์ส

อัมสเตอร์ดัมเป็นที่ตั้งของท่าอากาศยานอัมสเตอร์ดัมสคิปโฮล ท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารมาเป็นอันดับ 3 ของยุโรป และที่ตั้งของสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ ได้แก่ ไรกส์มิวเซียม พิพิธภัณฑ์ฟันโคค พิพิธภัณฑ์สเตเดไลก์ และบ้านอันเนอ ฟรังค์ ทั้งยังเป็นบ้านของผู้มีชื่อเสียงหลายคน ทั้งแร็มบรันต์ ฟินเซนต์ ฟัน โคค บารุค สปิโนซา และอันเนอ ฟรังค์ จึงมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมกว่า 5 ล้านคนต่อปี

ยุคกลางและการปฏิวัติ  โบสถ์เก่า (เอาเดอแกร็ก) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1306

เมื่อเทียบกับเมืองเก่าแก่ในเนเธอร์แลนด์อย่างไนเมเคิน รอตเทอร์ดาม และยูเทรกต์แล้ว อัมสเตอร์ดัมถือเป็นเมืองที่อายุน้อยกว่ามาก นักประวัติศาสตร์ระบุว่าพื้นที่รอบๆอัมสเตอร์ดัมเกิดขึ้นราวๆปลายคริสต์ศตวรรษ 10 จากการผันน้ำทะเลออก ก่อเป็นพื้นที่เกษตรกรรม[1] จนเติบโตและยกระดับเป็นเมืองเมื่อราว ค.ศ. 1300 หรือ 1306[2] จากนั้น ในศตวรรษที่ 14 อัมสเตอร์ดัมเติบโตขึ้นมาจากความสำเร็จในค้าขายกับสันนิบาตฮันเซอ

ต่อมาในศตวรรษที่ 16 เนเธอร์แลนด์ก่อการปฏิวัติต่อต้านการปกครองของพระเจ้าเฟลิเปที่ 2 แห่งสเปน เนื่องจากระบบเก็บภาษีที่ไม่เป็นธรรมและการไต่สวนทางศาสนาต่อต้านนิกายโปรเตสแตนท์อย่างรุนแรง การปฏิวัตินำไปสู่สงคราม 80 ปีกับสเปนแและการจัดตั้งสาธารณรัฐดัตช์[3] เป็นเอกราชต่อการปกครองของสเปน มีเสรีภาพในการนับถือศาสนา ทำให้ชาวยิวจากคาบสมุทรไอบีเรีย ชาวอูว์เกอโนจากฝรั่งเศส พ่อค้า จิตรกร และผู้ลี้ภัยศาสนาจากฟลานเดอร์สทางตอนใต้ของกลุ่มประเทศแผ่นดินต่ำ อพยพเข้ามาอยู่ที่อัมสเตอร์ดัม การย้ายถิ่นครั้งใหญ่นี้ทำให้อัมสเตอร์ดัมเติบโตขึ้นมาเป็นศูนย์กลางการค้าของยุโรป ทั้งยังเปิดกว้างรับแนวคิดภูมิปัญญาที่หลากหลาย มีเสรีภาพทางสื่ออย่างสูง[4]

ศูนย์กลางของเนเธอร์แลนด์ในช่วงยุคทอง  ชาวเมืองอัมสเตอร์ดัมเฉลิมฉลองการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย รับรองเอกราชของเนเธอร์แลนด์อย่างเป็นทางการเมื่อ ค.ศ. 1648

ในช่วงศตวรรษที่ 17 เป็นช่วงที่เรียกว่ายุคทองของเนเธอร์แลนด์ จากการรุ่งเรืองของการค้าขายและการขยายอิทธิพลใหญ่ของจักรวรรดิดัตช์ไปจนถึงอินโดนีเซีย อินเดีย ศรีลังกา และอินเดีย(ในปัจจุบัน) อัมสเตอร์ดัมเป็นศูนย์กลางการระดมทุนของพ่อค้า[5]ผู้หวังจะทำกำไรจากบริษัทอินเดียตะวันออกและบริษัทอินเดียตะวันตกของเนเธอร์แลนด์[6] ผู้ผูกขาดการค้ากับชาวอาณานิคมในดินแดนโพ้นทะเล มีการก่อตั้งตลาดหลักทรัพย์ขึ้นเป็นครั้งแรกของโลกที่เปิดขายหุ้นต่อสาธารณชนเมื่อปี ค.ศ. 1602[7] และก่อตั้งธนาคารแห่งอัมสเตอร์ดัมเพื่อให้บริการเต็มรูปแบบแก่พ่อค้าชาวดัตช์ในปี ค.ศ. 1609 และเป็นแหล่งทุนสำรองของประเทศไปพร้อมๆกัน

การเสื่อมและยุคใหม่

ความรุ่งเรืองของอัมสเตอร์ดัมถึงคราวต้องสะดุดในศตวรรษที่ 18 และ 19 จากผลพวงของสงครามระหว่างสาธารณรัฐดัตช์กับอังกฤษและฝรั่งเศสหลายต่อหลายครั้ง จนมาถึงจุดตกต่ำที่สุดเมื่อเนเธอร์แลนด์ตกอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิฝรั่งเศสในสมัยของจักรพรรดินโปเลียน เมื่อฝรั่งเศสเสื่อมอำนาจลง ได้มีการสถาปนาสหราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ขึ้นในปี ค.ศ. 1815 อันเป็นจุดเปลี่ยนผันกลับอีกครั้ง

ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นจุดที่เป็นยุคทองยุคที่สองของอัมสเตอร์ดัมอีกครั้งเมื่อมีการพัฒนาเมืองอย่างรวดเร็ว[8] มีการสร้างพิพิธภัณฑ์ สถานีรถไฟ และโรงคอนเสิร์ตขึ้นใหม่หลายแห่ง และในขณะเดียวกันก็เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมพร้อมๆกันทั่วประเทศ มีการขุดคลองเชื่อมระหว่างอัมสเตอร์ดัมกับแม่น้ำไรน์และทะเลเหนือโดยตรง ทำให้การค้าของอัมสเตอร์ดัมกับต่างประเทศกลับมาคึกคักอีกครั้ง

คริสต์ศตวรรษที่ 20 และ 21

ช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เนเธอร์แลนด์มีนโยบายเป็นกลาง แม้อัมสเตอร์ดัมจะไม่ถูกโจมตีแต่ต้องเผชิญกับภาวะขาดแคลนอาหารและเชื้อเพลิงจนเกิดการจลาจลทั่วเมือง มีการบุกปล้นร้านค้าและโกดังหลายแห่งและมีผู้เสียชีวิตหลายรายจากเหตุการณ์ครั้งนี้

 ย่านดัมสแควร์ ในกลางกรุงอัมสเตอร์ดัม ช่วงต้นศตวรรษที่ 20

หลังเหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปี ค.ศ. 1916 มีการปรับผังเมืองโดยรวมเอาเมืองดูร์เกร์ดัม โฮลีสโลต ซุนเดร์โดร์ป สเคลลิงเวาเดอ ยอร์ดัน และเฟรเดริก เฮนดริกบูร์ตเข้ากับอัมสเตอร์ดัม[9][10]

ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง นาซีเยอรมนีบุกยึดเนเธอร์แลนด์เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1940 และปกครองประเทศ กวาดต้อนชาวยิวเข้าไปใช้แรงงานที่ค่ายกักกันของนาซีจำนวนกว่า 100,000 คนโดยกว่า 60,000 คนในจำนวนนี้อาศัยอยู่ในอัมสเตอร์ดัม รวมถึง อันเนอ ฟรังค์ หญิงสาวชาวยิวผู้มีชื่อเสียงจากการบันทึกของเธอที่เขียนขึ้นก่อนจะโดนนาซีจับกุมตัวไปและเสียชีวิตที่ค่ายกักกันก่อนสงครามโลกสิ้นสุด[11] หลังสงครามสงบ ระบบโทรคมนาคมยังใช้การไม่ได้ อาหารและเชื้อเพลิงยังขาดแคลน ชาวเมืองหลายคนต้องเดินทางออกสู่ต่างจังหวัดเพื่อหาอาหาร กล่าวกันว่ามีการนำสุนัข แมว หัวผักกาดหวาน หรือแม้แต่หัวดอกทิวลิปมาปรุงอาหารเพื่อความอยู่รอด ต้นไม้ในอัมสเตอร์ดัมถูกโค่นเพื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง[12]

ย่านโอสโดร์ป สโลเตร์ฟาร์ต สโลเตร์เมร์ และเกอเซ็นเฟลด์ ถูกสร้างขึ้นแถบชานเมืองหลังสงครามโลกครั้งที่สอง[13] โดยมีสวนสาธารณะและพื้นที่เปิดแทรกอยู่ทั่วไป บ้านเรือนสมัยใหม่ก่อสร้างขึ้น สงครามทำให้เมืองได้รับความเสียหายหนัก สภาพสังคมอัมสเตอร์ดัมจึงเปลี่ยนใหม่ นักการเมืองและผู้มีอำนาจรื้อแผนเมืองขึ้นมาวางระบบใหม่ นำไปสู่การก่อสร้างอาคารสำนักงานที่ทันสมัยจำนวนมาก ตลอดจนถนนสายใหม่[14] รถไฟใต้ดินสายแรกที่เปิดให้บริการในปี ค.ศ. 1977 ตลอดจนมีแผนสร้างทางด่วนพิเศษเชื่อมใจกลางเมืองกับส่วนอื่นของเมือง ย่านที่เคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวยิวถูกรื้อถอนเพื่อสร้างชุมชนใหม่ ขยายการรื้อถอนออกไปเรื่อยๆตามการขยายตัวของเมืองจนบางครั้งนำมาซึ่งความไม่พอใจของชาวเมือง[15] ออกมาประท้วงหลายครั้ง เป็นผลให้แผนการสร้างทางด่วนพิเศษต้องยุบเลิกไป การปรับโครงสร้างเมืองมีความรอบคอบมากขึ้นและค่อยเป็นค่อยไป พื้นที่ใจกลางเมืองโดยเฉพาะภายในเขตคลองทั้งสามชั้นได้รับการอนุรักษ์จนต่อมาได้ขึ้นทะเบียนกลายเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก[16]

ช่วงต้นศตวรรษที่ 21 อัมสเตอร์ดัมกลายเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวโดยมีมากถึง 17 ล้านคนต่อปี ราคาอสังหาริมทรัพย์พุ่งสูงขึ้น[17] มีการสร้างรถไฟใต้ดินส่วนต่อขยายรถไฟใต้ดิน ขยับขยายเมืองออกสู่บริเวณชานเมืองตามแผนการสร้างอัมสเตอร์ดัมรูปแบบใหม่ให้เสร็จสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2040[18][19]

"Amsterdam 200 jaar ouder dan aangenomen" (ภาษาดัตช์). Nu.nl. 22 October 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 October 2008. สืบค้นเมื่อ 22 October 2008. "De geschiedenis van Amsterdam" (ภาษาดัตช์). Municipality of Amsterdam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 May 2008. สืบค้นเมื่อ 21 May 2008. "Eighty Years' War" (ภาษาดัตช์). Leiden University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 May 2008. สืบค้นเมื่อ 21 May 2008. Case in point: After his trial and sentencing in Rome in 1633, Galileo chose Lodewijk Elzevir in Amsterdam to publish one of his finest works, Two New Sciences. See Wade Rowland (2003), Galileo's Mistake, A new look at the epic confrontation between Galileo and the Church, New York: Arcade Publishing, ISBN 1-55970-684-8, p. 260. Amsterdam in the 17th century เก็บถาวร 26 สิงหาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The University of North Carolina at Pembroke E. Haverkamp-Bergmann, Rembrandt; The Night Watch (New Jersey: Princeton University Press, 1982), p. 57 "The oldest share". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 May 2008. สืบค้นเมื่อ 22 May 2008. "Amsterdam through the ages -A medieval village becomes a global city". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 May 2008. สืบค้นเมื่อ 21 May 2008. "Amsterdam city archives". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2014. สืบค้นเมื่อ 4 October 2014. http://www.centraledorpenraad.nl/landelijk-noord/historie เก็บถาวร 11 กรกฎาคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน from website for the centrale dorpen raad (villages central council) "Deportation to camps". Hollandsche Schouwburg. สืบค้นเมื่อ 21 May 2008. "Kou en strijd in een barre winter" (ภาษาดัตช์). NOS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 January 2008. สืบค้นเมื่อ 21 May 2008. "Stadsdeel Slotervaart – Geschiedenis" (ภาษาดัตช์). Municipality Amsterdam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 May 2008. สืบค้นเมื่อ 22 May 2008. "Stadsherstel Missie/Historie" (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 22 May 2008. "Typisch Metrostad" (ภาษาดัตช์). Municipality Amsterdam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2008. สืบค้นเมื่อ 22 May 2008. "Grachtengordel Amsterdam Werelderfgoed" (ภาษาดัตช์). Gemeente Amsterdam. สืบค้นเมื่อ 5 August 2015. "Amsterdam als koelkastmagneetje" [Amsterdam as a fridge magnet]. De Groene Amsterdammer. 27 July 2016. "Plan Openbare Ruimte Frederik Hendrikbuurt" (PDF) (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 26 September 2016. "Structural Vision Amsterdam 2040" (ภาษาดัตช์). สืบค้นเมื่อ 26 September 2016.

แสดงความเห็น

Esta pregunta es para comprobar si usted es un visitante humano y prevenir envíos de spam automatizado.

Security
358972461Click/tap this sequence: 1682

Google street view

Where can you sleep near อัมสเตอร์ดัม ?

Booking.com
489.888 visits in total, 9.197 Points of interest, 404 Destinations, 53 visits today.